แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture กับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (EP.1)

ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

ในโลกปัจจุบันที่สถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว ต่อเนื่อง และยากจะคาดเดาในทิศทาง ความพร้อมต่อการรับมือและการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นหลักคิดและทักษะสำคัญสำหรับผู้คน ไปจนถึงองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน และในสถานการณ์แห่งความไม่แน่นอนนี้ คำว่า Agile (อไจล์ หรือเอไจล์) คือ อีกหนึ่งแนวคิดที่เข้ามาตอบโจทย์การทำงานภายใต้บริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะ แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture ยังได้รับการกล่าวถึงและนำไปใช้พัฒนาองค์กรในวงกว้างยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้แต่ภาคการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ Smart University หรือ Digital University แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture คืออีกแรงขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรให้ไปสู่เป้าหมายอย่างเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ในครานี้ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนในประเทศไทย และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ทั้งเป็นผู้บุกเบิกด้านการทํา Enterprise Architecture ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation and Enterprise Architecture ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญในโลกปัจจุบันเป็นอย่างดี พร้อมนำเราไปทำความรู้จักและเข้าใจในรายละเอียดสำคัญ กับคำว่า Agile และการนำใช้แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture เพื่อพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะ Smart University ตลอดจนถึงความเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง Smart University ที่มีพันธกิจหลักในการผลิต Smart People ซึ่งมีบทบาทต่อ Smart City และ Smart Government ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งเช่นในทุกวันนี้

 

AGILE IS A MINDSET

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ‘Agile’ คืออะไร

‘Agile คือ แนวคิดการทำงานที่ทำให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น และทำให้ทีมงานสื่อสารกันอย่างคล่องตัว เพื่อสามารถถอดบทเรียนสู่การพัฒนาต่อเนื่อง มุ่งสู่การตอบความต้องการใหม่ ๆ’

เราได้ยินคำว่า Agile อยู่ในหลาย ๆ ที่…

คำว่า Agile คือ ‘แนวคิด’ ไม่ใช่แนวปฏิบัติ หากเป็นแนวปฏิบัติ นั่นก็คือ Agile Framework

ถ้าย้อนกลับไปยังแนวคิดของ Agile ที่ว่า ‘ทำให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี’ หมายความว่า Agile ไม่ได้บอกถึงเรื่องการทำงานเร็ว ๆ เร่งๆ รีบๆ หรือการทำงานตามลำพัง แต่ ‘การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี’ นั้น อธิบายได้ว่า การเสียเวลาหรือใช้เวลาในการทำงานใดงานหนึ่งแล้วล่าช้า อาจเกิดจากการทำงานที่ไม่ตรงกับบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง Agile จึงเป็นแนวคิดที่เข้ามาตอบโจทย์การทำงานยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทาง ผู้เป็นสมาชิกของ Agile จึงสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลง และสามารถปรับตัว ทำให้การทำงานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนั่นเอง

Agile ยังพูดถึง ‘การสื่อสารกันอย่างคล่องตัวของทีมงาน’ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน หากไม่มีการสื่อสารกัน จะเรียกว่า ต่างคนต่างทำ หรือเป็นไซโล ที่สำคัญ ‘การสื่อสารต้องคล่องตัว’ หากการสื่อสารไม่คล่องตัวจะกลายเป็น ‘ไม่ทันการ’

จากการสื่อสารกันอย่างคล่องตัวของทีมงาน จึงถ่ายทอดไปยัง ‘การถอดบทเรียนสู่การพัฒนาต่อเนื่อง มุ่งสู่การตอบความต้องการใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การทำงานดีขึ้น ไม่ผิดซ้ำในจุดเดิม

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ที่ครอบคลุมเป็นเช่นนี้ ข้อที่สามต้องการข้อที่สองมาก่อน และข้อที่สองก็ต้องการข้อที่หนึ่งมาก่อน ทั้งสามข้อนี้จึงขยับข้อไม่ได้เล