KNIT

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล เร่งปรับตัวและก้าวตามให้ทันโลกที่ไม่หยุดนิ่ง           ประธาน ทปอ. ชี้ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลต้องก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงรูปแบบการทำงานโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น โดยติดกระดุมเม็ดแรกจากพิมพ์เขียวองค์กรเพื่อมองเห็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย ขณะที่ตัวแทนภาคเอกชนแนะต้องฟังเสียงและปรับตัวตามผู้บริโภคในโลกที่ไม่หยุดนิ่ง พร้อมรับมือกับมาตรฐานและการชี้วัดระดับสากล           ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ และโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เพื่อให้เข้าใจถึง Agile Mindset ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารจัดการโลกแห่งการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ว่องไว มีความยืดหยุ่นสูง ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติจริง รวมถึงนำเสนอพิมพ์เขียวการดำเนินงานในระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับคณะ ตลอดจนการกำหนดบทบาท ทีมงาน Agile และการจัดการแผนการดำเนินงานที่สำคัญต่าง ๆ …

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล Read More »

เสวนาสดออนไลน์ครั้งที่ 19 “Digital University: enabling the smart society”

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 19 หัวข้อการเสวนา “งานหลังบ้าน” กุญแจสำคัญที่มักถูกมองข้าม วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทาง FB โครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัล/สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้ร่วมเสวนา คุณกัมพล ไชยเลิศ หัวหน้าส่วนการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดร.อิศรา ดิสรเตติวัฒน์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทที่ปรึกษา ซี เอส อาร์ กรุ๊ป จำกัด อ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผู้ดำเนินรายการ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” วันที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ———————————————————— 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนร่วมงาน และรับเอกสาร 09.00 – 09.10 น. “กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน”                      โดย ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ 09.10 – 09.40 น. กล่าวเปิดงานและบรรยายเรื่อง “ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล”         …

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” Read More »

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Satori การตื่นแห่งเซน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง คำว่า ‘ซาโตริ (Satori)’ ได้รับการกล่าวถึงและเข้าใจใน ‘เชิงบวก’ ‘พระพุทธศาสนามหายานนิกายเซน (Zen)’ การตื่นขึ้นสู่จิตอันล้ำลึกของมนุษย์ ซึ่งโดยภาษาแห่งเซน เรียก ‘การตื่นขึ้น’ นั้นว่า ‘ซาโตริ’ ซึ่งแปลว่า การตรัสรู้ เพื่อหมายถึงสัจจะแห่งประสบการณ์ทางศาสนานิกายเซน มองว่าสรรพสิ่งคือความว่าง เซนมองว่ามนุษย์มิใช่ศูนย์กลางแห่งจักรวาล สรรพสิ่งล้วนต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ในตัวอยู่แล้ว ‘การบรรลุซาโตริ’ ก็คือการเห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต โดยที่โลกและชีวิตนั้น คือ ความว่าง ในเมื่อว่างจากตัวตนแล้วก็จะว่างจากการยึดติด เมื่อว่างจากการยึดติดก็จะประจักษ์ถึงสุญตาธรรมในที่สุด การศึกษา ‘เรื่องสันติภาพ’ ท่านติซ นัท ฮันห์ กล่าวไว้ว่า ‘พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต’ เนื่องด้วยคติข้อหนึ่งที่แพร่อยู่ในพุทธศาสนามหายาน คือ ‘วิถีทางพุทธธรรม’ ซึ่งเป็น ‘วิถีทางแห่งชีวิต’ ท่านจึงนำ ‘ธรรม’ สู่ ‘ชีวิตประจำวัน’ เช่น การฝึกลม …

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Read More »

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 18

หัวข้อการเสวนา “2023 ความท้าทายในการเรียนการสอนยุคดิจิทัล” รูปแบบการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่หลังจากยุคโควิดที่ต้องเรียนออนไลน์ กลับมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง อาจารย์มีวิธีการปรับตัวกันอย่างไรบ้าง มีประสบการณ์อะไรที่น่าสนใจบ้าง? จากความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต (อย่างภาคอุตสาหกรรมและส่วนต่างๆ ) อาจารย์มองว่ามีความแตกต่างจากอดีตอย่างไรบ้าง? แรงสนับสนุนที่ดีของทางมหาวิทยาลัยของท่านที่ช่วยสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงหลังจากเปิดภาคเรียนนี้เป็นอย่างไรบ้าง และท่านมีข้อเสนอแนะอื่นๆ ในการรับการสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น อย่างไรบ้าง? ผู้ร่วมเสวนา ดร.วิทยา สุหฤทดำรง             อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.เสาวลี แก้วช่วย           คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.วิลาวัลย์ อินทร์ชํานาญ    คณบดีวิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี        ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผู้ดำเนินรายการ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์   ตั้งแต่ 19.00 น. ทางเฟสบุค https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

DigitalULIVE “ทิศทางนอกรั้วการศึกษากับการกำหนดกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย2023”

คุณชนินทร์ ขาวจันทร์ รองเลขาธิการสำนักงานการส่งเสริมการลงทุน อ.ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ อ.พิเศษ และที่ปรึกษาด้านการบริหารโครงการPongpun Leekumnerdthai Senior Vipe President KTB Computer Service สุภาวดี ฉายวิมล Executive Advisor AMPOS Solution(Thailand)อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี โครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัล ตั้งแต่ 19.00 น. ทางเฟสบุค https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

VUCA สู่ BANI World

จากการประชุมวิชาการ เรื่อง ‘Mental Well-Being In VUCA World’ โดยศูนย์จัดประชุมวิชาการรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ‘VUCA’ ได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไปนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกเผชิญกับเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป จนถึงการเกิด New Norm หรือพฤติกรรมใหม่ ๆ ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนการเข้ามาของเจเนอเรชัน เทรนด์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดิสรัปต์ธุรกิจบางประเภท ส่งผลให้เกิดการทรานส์ฟอร์เมชัน การเกิดขึ้นใหม่และการหายไปของบางอาชีพ อดีต ที่เคยคาดการณ์ได้ในระยะ 10-20 ปี ปัจจุบัน ไม่อาจมั่นใจว่าภายในปีนี้หรือปีหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนไป   นักศึกษาทหารจาก U.S. Army War College ใช้คำว่า VUCA เป็นครั้งแรก เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ยากจะคาดเดา มีความซับซ้อนสูง และคลุมเครือเกินกว่าจะอธิบายได้ ซึ่งเป็นการคำอธิบายสถานการณ์หลังจากเหตุการณ์สงครามเย็น ในปี 1991 …

VUCA สู่ BANI World Read More »

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล แน่นอนว่าเด็กและเยาวชน รวมถึงกำลังคนในทุกมิติแห่งศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องรับรู้ทักษะความเป็นดิจิทัล เพราะโลกมีทิศทางสู่ยุคดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด ทว่าสิ่งที่ รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนคิดว่าคนเหล่านี้จะเป็นคนยุคดิจิทัลได้อย่างไรหาก ‘สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ’ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทั้งหลายซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสร้างคนและผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยจึงเป็นหนึ่งใน ‘สภาพแวดล้อม’ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกลุ่มคนในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือ ‘จุดเปลี่ยน’ ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องปรับตัวเพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Digital University’ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือเรียกว่า ‘ระบบนิเวศ’ ที่เป็นดิจิทัล และสามารถใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานได้ “แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยที่มีอยู่กว่าร้อยแห่งมีความพร้อม” รศ. ดร.พีรเดชกล่าว “ในช่วงแรก อาจารย์ดนัยรัฐ (อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งยังเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือ DMM จากอดีตสู่ปัจจุบัน) ได้พัฒนาเครื่องมือ DMM สำรวจความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยเวลานั้นมีมหาวิทยาลัย …

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี กับ DMM : Why, What, and How?

จากจุดเริ่มต้นย้อนไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแกนนำจำนวนหนึ่งร่วมสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในการมุ่งสู่การเป็น Digital University ภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งมีสถาบันคลังสมองของชาติเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีการนำใช้เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ขึ้น ในชื่อ ‘Digital Maturity Model หรือ DMM’ และในปี 2566 นี้ นับเป็นอีกครั้งที่เครื่องมือ DMM ได้รับการหยิบยกขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการปรับรูปแบบของเครื่องมือ อาทิ ชุดคำถาม เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญให้สถาบันอุดมศึกษาทุก ๆ แห่งในประเทศไทยร่วมสำรวจความพร้อมเป็นครั้งที่ 2 กับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) นอกจากการสะท้อนการนำใช้เครื่องมือ DMM ในหลากหลายมิติแล้ว โอกาสนี้ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล …

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี กับ DMM : Why, What, and How? Read More »

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่

ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องไฮไลต์ก็คือ ‘เครื่องมือ DMM กับการพัฒนาประเทศในนิเวศดิจิทัล’ ที่ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติฉายภาพไว้อย่างคมชัด พร้อมย้ำแบบเน้น ๆ กับบทบาทมหาวิทยาลัยไทยในมิติของการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ว่าจะมีส่วนพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศอย่างไร   DMM กับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ จากปาฐกถาของ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวง อว. ชี้ให้เห็นว่าเวลานี้เป็นช่วงของการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีคำว่า ‘ดิจิทัล’ ใช้อยู่ในแทบทุกยุทธศาสตร์ “เมื่อผมได้รับเชิญมาพูดที่เวทีนี้ ผมตั้งคำถามก่อนเลยว่ามหาวิทยาลัยไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาประเทศ” ดร.วันฉัตรเริ่มต้น จากนั้นจึงยกภาพของการใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการขับเคลื่อนประเทศที่หน่วยงานภาครัฐใช้ดำเนินการให้เห็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือทำ มีจัดประเมินผล และสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนาประเทศ …

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ Read More »