บทความ

อ่าน… สิ่งซึ่งต้องลด ละ เลิก VS สิ่งที่ต้องเพิ่ม เติม สร้าง

อ่าน… สิ่งซึ่งต้องลด ละ เลิก VS สิ่งที่ต้องเพิ่ม เติม สร้าง การเปลี่ยนแปลงภาคบังคับ ที่ 38 มรภ. ต้องนำบัณฑิตก้าวต่อไปในโลกยุคใหม่ กับ รศ. ดร.บวร ปภัสราทร เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้สนับสนุนและผลักดัน โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) ได้จัดการประชุมออนไลน์ “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” พร้อมกันนี้ได้เปิดช่วงเสวนาพิเศษภายใต้ประเด็น “ก้าวต่อไปกับบัณฑิตใหม่ที่โลกต้องการ” ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.บวร ปภัสราทร ผู้ทรงคุณวุฒิทักษะดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมแชร์หลากหลายความเห็นและประสบการณ์ชวนคิด โดยเฉพาะสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏที่กำลังมุ่งหน้าเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Digital University   พื้นฐานเรื่องการเชื่อมั่นในข้อเท็จจริง รศ. ดร.บวรเริ่มต้นด้วยการเปรียบว่าการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation นั้น เหมือนกับพุทธศาสนิกชน นิกายมหายาน ที่เชื่อในเรื่องมหากรุณา …

อ่าน… สิ่งซึ่งต้องลด ละ เลิก VS สิ่งที่ต้องเพิ่ม เติม สร้าง Read More »

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กับการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน

เตรียมความพร้อมด้านอาชีพ เติมสมรรถนะตอบโจทย์โลกยุคใหม่ กับคุณพรภัทรา ฉิมพลอย จากที่ประชุมออนไลน์ “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” ที่จัดขึ้นโดย สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้สนับสนุนหลักในการผลักดันให้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ต่อด้วยเสวนาภายใต้ประเด็น “ก้าวต่อไปกับบัณฑิตใหม่ที่โลกต้องการ” โดยหนึ่งในผู้คุณวุฒิที่ให้เกียรตินำข้อมูลในมิติที่น่าสนใจมาแบ่งปัน ได้แก่ คุณพรภัทรา ฉิมพลอย รักษาการผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) ซึ่งปัจจุบันมีภารกิจหลักในการ ส่งเสริมให้กลุ่มคนแต่ละอาชีพมารวมตัวกัน และจัดทำมาตรฐานอาชีพนั้น ๆ โดย ณ วันนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีมาตรฐานอาชีพที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วจากกลุ่มคนในอาชีพกว่า 900 อาชีพ ครอบคลุมในทุกเซกเตอร์ อาทิ ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ฯลฯ ซึ่งคุณพรภัทราอธิบายว่าเมื่อมีมาตรฐานอาชีพ คนในแต่ละอาชีพย่อมอยากพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถทำงานได้ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้หรือไม่ เพราะฉะนั้นอีกหนึ่งเรื่องที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพส่งเสริมจึงเป็นเรื่องของ การให้คนในอาชีพได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ   ทิศทางของมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ก้าวต่อ ๆ ไป หรือนับตั้งแต่ปี 2567 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพยังคงมุ่งการส่งเสริมให้กลุ่มคนในอาชีพต่าง …

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กับการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน Read More »

การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มากไปกว่าHybrid & Blended Leaning

การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มากไปกว่า Hybrid & Blended Leaning จากจุดเริ่มต้นเมื่อปลายปี 2562 เกิดวิกฤตการณ์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคติดเชื้อครั้งใหญ่อีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ ใช่… เรากำลังกล่าวถึง ‘โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19’ ที่มีการระบุว่าเกิดจากเชื้อไวรัส Sars-Cov-2 และแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถาน ต่อมาการระบาดได้ลากยาวข้ามปี มาตรการควบคุมยังมีอย่างต่อเนื่อง หากความเข้มข้นได้ลดระดับลงตามสถานการณ์ ถึงอย่างนั้น โควิด-19 ส่งผลกระทบไว้เป็นระยะ ไล่เลียงได้ตั้งแต่ผลทางเศรษฐกิจที่กินเวลาและรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อให้กับสังคมในอีกหลากหลายมิติ ทั้งยังเกิดการปรับตัว เกิดชีวิตวิถีใหม่ในโลกใบเดิม (New Normal) ซึ่งแนวทางที่ผู้คนต่างปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรมและรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมกันทั่วโลก อาทิ การทำงาน การศึกษา หรือการเรียนรู้ในรูปแบบผสมผสาน การดำเนินการทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์และสาธารณสุขในลักษณะ Online Medical Consulting หรือแม้แต่การ Deglobalization เพื่อพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น เป็นต้น หากมองย้อนไปที่ประเด็นพื้นฐานของสังคม การระบาดของโควิด-19 สร้างประเด็นท้าทายแก่ ‘ภาคการศึกษา’ ของประเทศไทยไม่น้อย ที่ผ่านมา การอุดมศึกษาของประเทศมีความพยายามรับมือและปรับตัวอย่างหนักหน่วง โดยพบว่า การศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เกิดนวัตกรรมที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการและสถานที่เรียน …

การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มากไปกว่าHybrid & Blended Leaning Read More »

‘เครื่องมือ’ เพื่อช่วยและสนับสนุนงาน กับการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง รู้จักกันในชื่อ ‘AI’

‘เครื่องมือ’ เพื่อช่วยและสนับสนุนงาน กับการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง รู้จักกันในชื่อ ‘AI’v รศ. ดร.พยุง มีสัจ ไฮไลต์ชัด ๆ กับบทบาทของ AI จนถึง 9 หลักคิดของผู้นำที่ต้องเข้าถึง AI อย่างแท้จริง พร้อมปัจจัยสำคัญในการใช้ AI อย่างคุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รศ. ดร.พยุง มีสัจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้เกียรติร่วมเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็นฮิตอินเทรนด์ “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นในฐานะตัวแทนองค์กร กับมุมมองที่มีต่อเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) การนำมาปรับใช้ โอกาสและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานองค์กร จนถึงมุมมองต่อแวดวงการศึกษา บทบาทของ AI สู่ RI ในอนาคต จากการศึกษาสู่การพัฒนาในมิติต่าง ๆ ในฐานะองค์กรศึกษาหนึ่งเดียวที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนความเห็น …

‘เครื่องมือ’ เพื่อช่วยและสนับสนุนงาน กับการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง รู้จักกันในชื่อ ‘AI’ Read More »

ภาพสะท้อนผู้นำ การวางแผน และมหาวิทยาลัยดิจิทัล

ภาพสะท้อนผู้นำ การวางแผน และมหาวิทยาลัยดิจิทัล ผู้นำกับการวางแผนย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแยกจากกันไม่ออก โดยเฉพาะภายใต้หนึ่งภารกิจสำคัญของประเทศ ‘การขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ผู้นำและการวางแผนจึงเป็นอีกหัวข้อเด่นที่ต้องหยิบยกขึ้นมาพูดคุยว่าอะไรที่ต้องขีดเส้นใต้หรือทำไฮไลต์ให้ชัด ๆ จึงเป็นอีกครั้งที่ การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น ผู้นำกับการวางแผนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิสละเวลาและร่วมสะท้อนภาพการทำงานในบทบาทที่แตกต่างจากองค์กรที่หลากหลาย พร้อมการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงประสบการณ์อย่างน่าสนใจและออกรสเป็นอย่างยิ่ง การวางแผนที่ดี และองค์ประกอบสำคัญ ดร.วัฒนา โอภานนท์อมตะ กรรมการบริหารสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ประธานกรรมการบริษัท บีซีพี เทรดดิ้ง จำกัด (สิงคโปร์) และที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน เปิดโต๊ะเสวนากับเรื่องการวางแผนในมุมของภาคธุรกิจ/เอกชนที่มองเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 1) การวางแผนในเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic Planning เพื่อหาทิศทางและแนวโน้มในการที่จะเดินไปข้างหน้า และ 2) Operation Of Planning คือวางแผนในเชิงของการปฏิบัติการ กล่าวคือเมื่อรู้ทิศทางแล้วจะมีวิธีการไปสู่จุดนั้นอย่างไร ซึ่งทั้งนี้การปฏิบัติต้องบูรณาการทั้งเรื่องคน กระบวนการทำงาน งบประมาณ หรือแม้แต่องค์ความรู้ที่รวมถึงองค์ความรู้ยุคใหม่หรือดิจิทัล ซึ่งในเชิงกระบวนการทำงานนั้นย่อมต้องเป็นดิจิทัลเช่นกัน …

ภาพสะท้อนผู้นำ การวางแผน และมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

3 ปีแห่งความตั้งใจ และยังไปต่อกับความมุ่งมั่น

3 ปีแห่งความตั้งใจ และยังไปต่อกับความมุ่งมั่น มรร. มุ่งเตรียมความพร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล สู่การขับเคลื่อนไปกับทุกองคาพยพโดยมีใจบันดาลแรง กับ รศ. ดร.ดวงพร ภู่ผะกา สถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการ ได้เน้นย้ำในทุกครั้งทุกคราว่าการผลักดันให้เกิดคนที่พร้อมด้วยศักยภาพสำหรับยุคดิจิทัลนั้นต้องเกิดจาก ‘สภาพแวดล้อมที่เอื้อ’ มหาวิทยาลัยทั้งหลายซึ่งต่างมีภารกิจหน้าที่หลักในผลิตบัณฑิตและการสร้างคน จึงถือเป็นหนึ่งใน ‘สภาพแวดล้อม’ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกลุ่มคนในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น ‘จุดเปลี่ยน’ ของมหาวิทยาลัยจึงเป็นการปรับตัวเพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Digital University’ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เรียกว่า ‘ระบบนิเวศ’ ที่เป็นดิจิทัล และสามารถใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานได้ ย้อนไปกว่า 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันคลังสมองของชาติจับมือกับนักวิชาการระดับแถวหน้าระดับประเทศ โดยเฉพาะ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ซึ่งรับหน้าที่หลักในการเป็น ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล พร้อมด้วยนักวิชาการที่มากด้วยประสบการณ์ในมิติที่หลากหลาย …

3 ปีแห่งความตั้งใจ และยังไปต่อกับความมุ่งมั่น Read More »

กรมอุทยานฯ กับงานสร้างฐานรากด้านเทคโนโลยีอย่างเข้มแข็ง

กรมอุทยานฯ กับงานสร้างฐานรากด้านเทคโนโลยีอย่างเข้มแข็ง มิติการนำใช้เทคโนโลยีเพื่อหนุนเสริมงานอนุรักษ์ ส่งเสริม ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับคุณวิชิต จิรมงคลการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรมอุทยานฯ) นำโดย คุณวิชิต จิรมงคลการ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมอุทยานฯ ร่วมการเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้หัวข้อ ‘การจัดการองค์กรยุคหลังโควิดและภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนเพื่อการปรับองค์กรอย่างเป็นระบบ’ ถ่ายทอดประสบการณ์การปรับเปลี่ยนองค์กร โดยเฉพาะงานด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทั่งเกิดวิกฤตยาวนานกว่า 2 ปี ไปถึงการรองรับการดำเนินงานในอนาคตที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ อย่างหลากหลาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับผลกระทบจากโควิด-19 จากภารกิจหลักเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้วิสัยทัศน์หลากหลายด้าน อาทิ การฟื้นฟู การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงการดูแลพื้นที่อนุรักษ์ทั้งประเทศที่เป็นอุทยานแห่งชาติ 133 แห่ง และรอประกาศ รวมทั้งหมดเป็น 155 แห่ง ไปจนถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า …

กรมอุทยานฯ กับงานสร้างฐานรากด้านเทคโนโลยีอย่างเข้มแข็ง Read More »

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กับการมาถึงของยุค AI

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กับการมาถึงของยุค AI ดร.ชิดชนก เทพสุนทร จากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สะท้อนภาพผลกระทบจาก AI การเตรียมความพร้อมและการรับมือกับอุปสรรคผ่านมุมของหน่วยงานราชการ ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ครั้งล่าสุด กับประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ดร.ชิดชนก เทพสุนทร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานนวัตกรรมพัฒนา สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีโดยตรง รวมถึงเป็นตัวแทนของข้าราชการรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ให้เกียรติร่วมพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ โดยเฉพาะผลกระทบจาก AI ในมิติต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เมื่อ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต “ปฏิเสธไม่ได้ว่า AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเราทั้งอย่างที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว” ดร.ชิดชนกกล่าวและอธิบายต่อไปว่าเทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมถึง AI นั้นเพิ่มความสะดวกสบายแก่ชีวิตยิ่งขึ้น ทั้งในมิติของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อตื่นขึ้นมา แล้วหยิบโทรศัพท์มือถือ สแกน Face ID ก็นับเป็น AI อย่างหนึ่ง …

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กับการมาถึงของยุค AI Read More »

ผ่าบทบาทและผลกระทบจาก AIสะท้อนสู่ภาคการศึกษา

ผ่าบทบาทและผลกระทบจาก AI สะท้อนสู่ภาคการศึกษา จะมุมกว้างหรือมุมลึก ทุกความรู้ต้องประยุกต์และนำใช้ โดย ศ. ดร. นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ที่จัดขึ้นที่ เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล ศ. ดร. นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นอีกบุคคลสำคัญซึ่งนำมุมมอง มุมคิด และประสบการณ์ตรงจากการทำงานในหลากมิติมาถ่ายทอดอย่างน่าสนใจ ด้วยมีหน้าที่ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก พ่วงด้วยภารกิจซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารระดับสูง และอาจารย์ ทำให้ความรับผิดชอบค่อนข้างกว้างขวางมากกว่าการตรวจรักษาผู้ป่วย ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมจึงสะท้อนมุมมองเอาไว้ในหลายส่วน ทั้งการเป็นอาจารย์แพทย์ที่มุ่งเน้นเรื่องการศึกษา มุมมองด้านการศึกษาโดยตรง และมุมมองด้านการแพทย์ ผลกระทบจากยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว กับภาคการศึกษาไทยที่ต้องปรับตัวแรง ต่อประเด็นที่ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะ AI เข้ามามีบทบาทในทุกมิติอย่างปฏิเสธไม่ได้ ศ. ดร. นพ.ศิริเกษมเปิดการพูดคุยด้วยการอธิบายในภาพกว้างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันว่าควรหันกลับมามองผลผลิตหรือบัณฑิตที่ผลิตออกไปจากมหาวิทยาลัยว่ารองรับสิ่งที่เป็นปัจจุบันและอนาคตมากน้อยอย่างไร …

ผ่าบทบาทและผลกระทบจาก AIสะท้อนสู่ภาคการศึกษา Read More »

บทบาท มรภ. ที่ต้องปรับเพื่อขับเคลื่อนประเทศ

บทบาท มรภ. ที่ต้องปรับเพื่อขับเคลื่อนประเทศ มิติของการออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย การพัฒนาพื้นที่ภายใต้แผน 13 และเครื่องมือที่นำสู่การพุ่งเป้า กับ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ การประชุมออนไลน์ “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” ที่จัดขึ้นโดย สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้สนับสนุนและผลักดัน โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) กับบรรยายพิเศษ “ก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13” ที่จะยกให้เป็นเวทีของ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้เกียรติมาเยือนการเสวนาออนไลน์ที่สถาบันคลังสมองฯ จัดขึ้นเป็นประจำ และเช่นเคย สำหรับก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ต้องตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และมีบทบาทที่สำคัญในมิติต่าง ๆ อย่างไร ดร.วันฉัตรพร้อมให้ข้อมูลครบถ้วนตรงนี้แล้ว บทบาท มรภ. เพื่อขับเคลื่อนประเทศต่อไป กับ PDCA เพราะต้องการสนับสนุนให้มหาวิยาลัยของประเทศไทยร่วมมีบทบาทสำคัญ คือการร่วมขับเคลื่อนประเทศ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภายในรั้วมหาวิยาลัย แต่เป็นการมุ่งออกนอกรั้วไปพร้อมกัน ดร.วันฉัตรกล่าวว่าแม้หน้าที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยจะเป็นการผลิตบัณฑิต และ …

บทบาท มรภ. ที่ต้องปรับเพื่อขับเคลื่อนประเทศ Read More »