บทความ

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development’ ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องขึ้นในทุกระดับทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก ประเทศ สังคม อุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคการศึกษา ทำไมคำว่า ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ จึงกลายเป็นคำสำคัญแห่งศตวรรษ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำกัดความไว้ว่า ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ คือ “แนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง (Brundtland Report, 1987) โดยการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)” และจากส่วนหนึ่งของบทความโดยคุณสันติ บางอ้อ ซึ่งเผยแพร่ใน หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ คอลัมน์สภาพัฒน์กับการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ระบุว่า “ที่ดูจะเข้าใจง่ายขึ้นก็คือคำอธิบายตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) (สมณศักดิ์ในเวลานั้น) ที่อธิบายไว้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ …

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา Read More »

The Path to Sustainable Future

The Path to Sustainable Future UPCYDE สวนกระแสความผันผวนของโลก เพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน กับคุณมาย การุณงามพรรณ คุณมาย การุณงามพรรณ กรรมการ บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด (UPCYDE) แบ่งปันเรื่องราวการก่อตั้งสตาร์ตอัปน้องใหม่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 กับการวางความแข็งแกร่งให้บริษัท ด้วยการนำใช้ Enterprise Blueprint ผสานรวมกับแนวคิดและเป้าหมายองค์กร เพื่อพร้อมดำเนินงานในปัจจุบัน และอนาคต ณ งานเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น ‘การจัดการองค์กรยุคหลังโควิดและภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนเพื่อการปรับองค์กรอย่างเป็นระบบ’ ก่อตั้งและวางความแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด (UPCYDE) ดำเนินธุรกิจที่มีเทคโนโลยีในการ Upcycle ขยะจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อ Upcycle เป็นวัสดุต่าง ๆ อาทิ หนังเทียม …

The Path to Sustainable Future Read More »

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย บทสะท้อนจากคนหลังบ้านเพื่อขับเคลื่อนงานเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กับอาจารย์วสันต์ อุทัยเลี้ยง ด้วย ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ซึ่งมีสถาบันคลังสมองของชาติ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมและผลักดันนั้น นับเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดังนั้นตลอดช่วงของก้าวเดินนับแต่เริ่มต้นสู่อนาคต จึงเกิดการทดลอง ทดสอบ เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ ด้วยเครื่องมือที่พัฒนาและปรับประยุกต์ขึ้น เฉกเช่นการเตรียมและสำรวจความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model หากเมื่อผ่านกระบวนการประเมินกันไปเรียบร้อย นั่นอาจถือเป็นการสิ้นสุดเพื่อเริ่มต้นอีกครั้ง คือ การต่อยอดผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือ DMM และมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบที่หมายถึงความพร้อมด้วยระบบนิเวศดิจิทัลของภาพใหญ่ครบถ้วนทุกองคาพยพนั่นเอง ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” อาจารย์วสันต์ อุทัยเลี้ยง นักวิจัยโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เป็นเสียงหนึ่งจากหลังบ้าน ที่ให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรง พร้อมหลากหลายข้อค้นพบในมิติต่าง …

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย Read More »

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า มองงานใหญ่ ‘การปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ผ่านจุดตั้งต้นเล็ก ๆ กับ รศ. ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ เสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” ครั้งนี้เป็นอีกมุมที่น่าสนใจ กับโอกาสได้มองการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผ่าน ‘งานวิจัย’ ของสถาบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ซึ่งนำใช้เครื่องมือ Vision Builder, Enterprise Blueprint (EA) และ Design and Track Worksheet (DT Worksheet) โดยมี รศ. ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมบอกเล่ารายละเอียดผ่านประสบการณ์ตรง งานวิจัยภายใต้การนำใช้เครื่องมือเพื่อสำรวจสถานะมหาวิทยาลัย สืบเนื่องจาก มสธ. ได้เชิญอาจารย์ดนัยรัฐมาร่วมทำกิจกรรมด้านวิชาการอย่างหลากหลาย …

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า Read More »

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด สร้าง Ecosystem ขององค์กรแห่งการพัฒนา ผู้นำพร้อมขับเคลื่อน บุคลากรพร้อมพัฒนา กับคุณอริยะ สกุลแก้ว นับเป็นการเสวนาออนไลน์ที่เข้มข้นครั้งหนึ่งก็ว่าได้ เมื่อเฟซบุ๊กเพจ Digital University ซึ่งได้รับการสนันสนุนโดยสถาบันคลังสมองของชาติจัดงานเสวนาประจำเดือน Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น ‘การจัดการองค์กรยุคหลังโควิดและภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนเพื่อการปรับองค์กรอย่างเป็นระบบ’ ซึ่งในครั้งนี้ นอกจากไม่ขาด อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มาให้ความรู้และรายละเอียดสำคัญ โดยเน้นเรื่อง Enterprise Blueprint ที่สอดรับกับหัวข้อของการพูดคุยได้อย่างครบถ้วนในเวลาจำกัดแล้ว ความเข้มข้นที่กล่าวไว้เห็นจะต้องยกให้สองสตาร์ตอัป UPCYDE และ Backyard ที่ดำเนินธุรกิจแตกต่าง ทว่าได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวอันเป็นวิสัยทัศน์องค์กรและการก้าวข้ามวิกฤตอย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ อีกไฮไลต์ของการพูดคุยคือการได้ฟังเสียงจากฟากฝั่งภาครัฐ กับองค์กรที่จำเป็นต้องตอบโจทย์การเปลี่ยนไปของโลกปัจจุบันอย่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนี่เป็นอีกหนึ่งเสียงจากองค์กรภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) นำโดย คุณอริยะ สกุลแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหาร สำนักงาน ก.พ. ความท้าทายด้านเป้าหมายองค์กรภาครัฐหลังโควิด-19 …

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด Read More »

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล “โลกของเรามีมาตรฐานกว่า 2,000 มาตรฐาน หลายองค์กร หลายคน อาจกล่าวว่ามาตรฐานเป็นเรื่องเกะกะ เป็นภาระ เป็นหน้าที่ที่น่าเบื่อ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง” ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล กับประสบการณ์การทำงานในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก การสวมบทบาททั้งประธานบอร์ดและและบอร์ดต่าง ๆ ในมิติที่หลากหลาย การรับผิดชอบงานสอน ณ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD สถาบันที่สร้างขึ้นจาก Regulators (หน่วยงานกำกับดูแล) และการนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บริษัท ไอเซ็ม จำกัด สำนักงานรับรองมาตรฐานสากลไอเอสโอ (ISO International Certification Agency (ISO-ICA)) และ Accredited Certification Body (CB) สัญชาติไทยรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation. Forum (IAF)) จึงให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์สำคัญ ประเด็น “ผู้นำกับการรับมือกับมาตรฐานและการชี้วัดระดับสากล” ณ เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการออนไลน์ครั้งล่าสุด …

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน Read More »

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM ขับเคลื่อนอย่างมียุทธศาสตร์ มีผังองค์กร สามารถ Alignment และ Cross-Check ได้ กับ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” ต่อยอดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นจากประเด็นการสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Transformation Readiness Towards Digital University ซึ่งเจาะลึกสู่ประเด็นการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model ครานี้ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอีกหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งให้เกียรติร่วมแบ่งปันมุมมองและมุมคิดที่สำคัญภายใต้การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยมี Enterprise Architecture และการนำใช้ผลจากเครื่องมือ DMM เป็นเข็มทิศและการเชื่อมโยงบนฐานของความเข้าใจและเป้าหมายที่ตรงกัน มหาวิทยาลัย …

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM Read More »

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การประชุมออนไลน์ครั้งพิเศษ รวมผู้นำและผู้พร้อมขับเคลื่อน 38 มรภ. มุ่งสู่องค์กรยุคใหม่ กับ 3 บุคคลสำคัญ รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล และ ผศ. ดร.ลินดา เกณฑ์มา ทปอ.มรภ. สถาบันคลังสมองของชาติ นำโดย รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในการผลักดันให้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ได้จัดการประชุมที่น่าจับตาขึ้นอีกครั้ง “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” กับรูปแบบการประชุมออนไลน์ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในฐานะเจ้าบ้าน รศ. ดร.พีรเดชรู้สึกยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือนโยบายของรัฐบาลและการเปลี่ยนไปของโลกที่มีการเข้ามาของดิจิทัลในทุกมิติ หากหลายมหาวิทยาลัยยังไม่ค่อยตื่นตัว คิดว่าการดำเนินงานในรูปแบบเดิมน่าจะไปได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ …

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 Read More »

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ เวทีการเสวนาในหัวข้อ “Agile Leadership towards Digital University” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ ประเด็น “ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง” ได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกกันอีกครั้งโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 สถาบัน รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์และนำมุมมองที่หลากหลายมาชวนขบคิดในมิติที่ต่างไปจากเดิมอย่างน่าสนใจ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของอาจารย์และผู้นำมหาวิทยาลัยยุคใหม่ รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มต้นด้วยเจตนารมณ์ที่ดีของทุกฝ่ายว่าต่างใฝ่ฝันทำเพื่ออนาคตของคนรุ่นใหม่ หากด้วยโจทย์ที่ท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ต้องหาความสมดุลให้พบ ดังเช่นมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ก่อตั้งและเดินทางเข้าสู่ปีที่ …

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา Read More »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลายครั้งหลายคราเราได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยและและมีโอกาสสนทนาในประเด็นการนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ เพื่อปฏิรูปการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้สะท้อนแนวคิดและการดำเนินงานภายใต้ความโดดเด่นเฉพาะตัวขององค์กรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และในจังหวะดี ๆ ที่เราได้มาเยือนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้บริหารสถาบัน นำโดย ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ชวนเราขบคิดก่อนที่จะกล่าวกันไปถึงการพัฒนาหรือขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ “ความเข้าใจของผม ดิจิทัลคือเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัย และแน่นอนว่าดิจิทัลไม่ใช่เครื่องมือช่วยธรรมดา ๆ แต่เป็นเครื่องมือที่คนในยุคปัจจุบันยอมรับและเข้าใจว่า Powerful มาก ไม่ใช้ไม่ได้ มจธ. จึงเรียกว่า Critical …

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University Read More »