บทความ

AI is no longer the future

คุณพีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรง เลขานุการ วสท. สะท้อนมิติการนำใช้ AI เรื่องไกลตัวในอดีต…แต่วันนี้ไม่ใช่ AI เรื่องไกลตัวในอดีต…แต่วันนี้ไม่ใช่ เสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ครั้งที่ 23 ประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” คุณพีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรงค์ กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองผ่านมิติของวิศวกร ที่เห็นการพัฒนา AI ในแวดวงวิศวกรรมมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งการมาของ ChatGPT ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะเหมือนว่า ChatGPT จะพูดคุยโต้ตอบได้ไม่ต่างผู้คนธรรมดา   เมื่อก่อน AI เป็นเรื่องไกลตัว แต่ตอนนี้ไม่ใช่ ถ้าพูดถึงการนำ AI มาใช้ จริง ๆ แล้วขึ้นอยู่กับภารกิจของหน่วยงาน เนื่องจาก AI มีความสามารถ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ คือ …

AI is no longer the future Read More »

AI in Everyday Life

ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข Head of IT Enterprise Architecture ถ่ายทอดมิติการใช้ AI ในชีวิต ถึงภาคอุตสาหกรรมและองค์กรหลากรูปแบบ ที่ต้องผ่านกระบวนการออกแบบวางแผนกลยุทธ์ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ฯลฯ อีกหนึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนสำคัญที่ให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์และทรรศนะในการเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling the Smart Society ครั้งที่ 23 ประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันคลังสมองของชาติ ผ่านช่องทาง เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล คือ ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข Head of IT Enterprise Architecture   ประยุกต์ AI สู่การนำใช้จริง จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเรื่อง Enterprise Architecture (EA) หรือ Data Analytic …

AI in Everyday Life Read More »

เปิดนิยามความฉลาด เพื่อ Smart Management สู่ Smart Organization

ชัดเจน ตรงประเด็น ยุค AI ทำไมต้องปรับตัว แต่ละเครื่องมือเพื่อจัดการปัญหาและความเสี่ยง กับ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี การใช้ประโยชน์และประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้รับการหยิบยกมาแบ่งปันเรื่องราวกันอย่างน่าสนใจใจหัวข้อ “การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งอาจารย์ดนัยรัฐยังคงนำรายละเอียดสำคัญที่ไม่อยากให้หลงลืมมาไฮไลต์และเก็บตกเรื่องราวที่ไม่อยากให้พลาดกันเช่นเคย   ยุค AI กับการปรับตัว… ว่าแต่ ‘ทำไม?’ อาจารย์ดนัยรัฐเริ่มต้นที่ประเด็นการเสวนา “การจัดการองค์กรอย่างฉลาด…” และชี้ชวนให้มองที่คำว่า‘ฉลาด’ ว่า Smart กับ Intelligentนั้นแตกต่างกัน พร้อมอธิบายว่า Intelligent คือความสามารถที่คนเราจะมีSelf-Learning ได้ เรียกว่ามีอะไรที่อาจไม่เข้าใจ หรือเข้าไปถึงแล้วสามารถสกัดมันขึ้นมาได้ สามารถเรียนรู้วิธีการทำงานเชิงลึกลงไปได้ แต่ Smart เป็นอีกเรื่องหนึ่งคือ The right thing to the right one at theright time. “ดังนั้นคนควรจะ Smart โดยปกติคนจะ Intelligence หลายคนไม่เข้าใจ จึงเอามาปะปนกัน”อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวถึงอาจารย์หัวข้อการพูดคุยว่าต้องผสานการทำงานระหว่างคนกับ AI อย่างลงตัว …

เปิดนิยามความฉลาด เพื่อ Smart Management สู่ Smart Organization Read More »

Co-Creation ยกระดับ ม.ดิจิทัล เพื่อส่งต่อคุณค่าสู่สังคม

การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มุ่งการสร้างสรรค์องค์กรแห่งนวัตกรรมร่วมกัน โดย ดร.รัตนวดี เศรษฐจิตร นักวิจัยโครงการ Digital University ณ ที่ประชุมของสถาบันคลังสมองแห่งชาติภายใต้การพบปะพูดคุยกันด้วยประเด็นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือแม้แต่ที่เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ซึ่งจัดขึ้นในทุก ๆ เดือนที่เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล จะเคยได้ยินผู้ทรงคุณวุฒิท่านต่าง ๆ กล่าวถึง ดร.รัตนวดี เศรษฐจิตร หนึ่งในนักวิจัย ฟันเฟืองหลักตัวเล็ก ๆ ของโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) ในโอกาสนี้ ดร.รัตนวดีให้เกียรติถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานในโครงการฯ ไปจนถึงเรื่องราวการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมร่วมกัน (Co-Creation) โดยเฉพาะภายใต้ภารกิจการผลักดันให้มหาวิทยาลัยดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยดิจิทัล : พลังเล็กจากทุกภาคส่วนที่ต้องไปด้วยกัน ดร.รัตนวดีเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลที่ออกตัวมาตั้งแต่ปี 2563 กระทั่งโลกและประเทศของเราเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งส่งผลกระทบกับการเรียนการสอนในภาคการศึกษาเช่นเดียวกับภาคส่วนอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่ต่างกันไป ทั้งนี้ด้วยแนวคิดเรื่องความเป็นดิจิทัลที่มีมานานแล้ว หากไม่มีการผลักดันอย่างจริงจัง …

Co-Creation ยกระดับ ม.ดิจิทัล เพื่อส่งต่อคุณค่าสู่สังคม Read More »

ยุค AI ที่กรมฝนหลวงฯ ต้องเผชิญหน้า ปรับตัว และมุ่งพัฒนา

การพัฒนาดิจิทัลในองค์กรอย่างท้าทาย พร้อมหลักการทำงานที่มุ่งการจัดการอย่างฉลาด โดย คุณชุติมา หงส์ทอง การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่จัดขึ้นในประเด็น “การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์” ฉายภาพความหลากหลายผ่านกี่ดำเนินงานที่แตกต่างขององค์กรระดับประเทศ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่สละเวลานำประสบการณ์สำคัญมาแบ่งปันในเวลาอันจำกัด และในครานี้ เราขอนำการสนทนาจากพี่ใหญ่และเป็นหญิงเดี่ยวของเวที คุณชุติมา หงษ์ทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาถ่ายทอด และนับว่าประสบการณ์ตรงจากคุณชุติมานั้นสะท้อนการเดินทางและปรับตัวเข้าสู่ยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างเข้มข้นไม่น้อย การจัดการองค์กรอย่างฉลาดท่ามกลางการปรับตัวเพื่อนำใช้เทคโนโลยี ด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และอยู่ในภาครัฐ คุณชุติมารับว่าภาครัฐนำใช้เทคโนโลยีช้ากว่าภาคเอกชน “ที่บอกว่าเงินไม่สำคัญ ทำเองก็ได้ แต่จริง ๆ เงินสำคัญ งบประมาณจำกัด และภาครัฐพยายามเร่งให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล” คุณชุติมาเปิดประเด็น เพราะฉะนั้นสู่คำว่า ‘การจัดการองค์กรอย่างฉลาด’ คุณชุติมาจึงแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง หรือ 3 คำ 1)     การจัดการ หมายถึง วิธีการ ถ้ามองเรื่องเครื่องมือจะมีเครื่องมือหลายอย่างที่นำมาสู่การจัดการ อาทิ เรื่องการทำ …

ยุค AI ที่กรมฝนหลวงฯ ต้องเผชิญหน้า ปรับตัว และมุ่งพัฒนา Read More »

ยุค AI จะมาลบ VS บวก : ม.ราชภัฏนครฯ พร้อมรับมือ

ภารกิจมุ่งพัฒนางานดิจิทัลท่ามกลางความท้าทายยุคปัญญาประดิษฐ์จากสำนักวิทยฯ มรภ.นศ. โดย ผศ. ดร.ธัชชา สามพิมพ์ หนึ่งพาร์ตที่พลาดไม่ได้ในการเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ประเด็น “การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์” คือการสะท้อนการนำใช้เครื่องมือสำคัญในการจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบด้วยการลงมือทดลองอย่างสนใจใคร่รู้ มุ่งหมายนำพาหน่วยงานและองค์กรไปสู่ก้าวย่างที่เติบใหญ่ขึ้นด้วยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่มีหลากหลายปัจจัยเข้ามาเป็นได้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน โดย ผศ. ดร.ธัชชา สามพิมพ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) นำความท้าทาย ความสำเร็จ และภาพฝันในอนาคตมาร่วมบอกเล่า ณ เวทีแห่งนี้ผ่านกระบวนการทำงานและประสบการณ์ที่น่าสนใจ Smart Management จากมุมของ ผศ. ดร.ธัชชาเห็นว่าระบบประกอบด้วย Input, Process และ Output พราะฉะนั้น Management จึงเป็น Project บางอย่างที่จัดการ Input ให้เป็น Output ทว่ายุคปัจจุบัน Input และ Output มีรายละเอียดมากมาย …

ยุค AI จะมาลบ VS บวก : ม.ราชภัฏนครฯ พร้อมรับมือ Read More »

AI กับบทบาทปฏิวัติการแพทย์ Healthcare และ Wellness

เมดคิวรี – ผู้ให้บริการ Health Tech Solution แชร์ประสบการณ์ด้านการแพทย์และสุขภาพระดับชั้นนำที่เติบโตขึ้นภายใต้การนำใช้เทคโนโลยี และ AI ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ที่จัดขึ้นที่ เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งสะท้อนหลากมิติจากองค์กรที่มีความแตกต่าง ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแง่ความต่างด้านธุรกิจ ฯลฯ อันนำไปสู่การพัฒนาของภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมและเต็มรูปแบบ ในครั้งนี้ คุณอานนท์ ศิริพุทธิชัยกุล Health Tech Manager จากบริษัท เมดคิวรี จำกัด (MEDcury Co., Ltd.) ผู้ให้บริการโซลูชันด้านการออกแบบระบบ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการดูแลผู้ป่วยและการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ ครอบคลุมครบทั้งระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาล ระบบการแลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้เทคโนโลยีการรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ การนำใช้ AI ในมิติของ Health Tech …

AI กับบทบาทปฏิวัติการแพทย์ Healthcare และ Wellness Read More »

เปิดพื้นที่สื่อสาร สร้างระบบนิเวศและมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน

งานสื่อสารภายใต้ภารกิจการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล สู่งาน Co-Creation ค่อย ๆ เดินหน้าไปด้วยกัน โดย อาจารย์รัตนางศ์ ตุละวรรณ นักวิจัยโครงการฯ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) ซึ่งมี สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นผู้สนับสนุนหลัก ภายใต้นโยบาย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้วยเล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่สอดรับกับโลกยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน การตัดสินใจในประเด็นสำคัญ การยกระดับความได้เปรียบรอบด้าน ฯลฯ และในปีล่าสุดโครงการฯ ได้รับทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเป็นโครงการวิจัยที่มุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยไทยก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล และแน่นอนว่าภายใต้งานวิจัยโครงการฯ นี้ นับเป็นรวมตัวของนักวิจัยที่มุ่งศึกษาและทำงานด้วยความเข้มข้น สำหรับหนึ่งในนักวิจัยผู้อาจไม่ค่อยได้ปรากฏชื่อบนเวทีต่าง ๆ เท่าไร ด้วยเพราะทำงาน ณ จุดที่เป็นปลายน้ำก็คือ อาจารย์รัตนางศ์ ตุละวรรณ ทว่าอาจารย์รัตนางศ์เป็นหนึ่งในนักวิจัยโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งทำงานในส่วนการสื่อสาร เสมือนเป็นประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะหลังจากโครงการฯ …

เปิดพื้นที่สื่อสาร สร้างระบบนิเวศและมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน Read More »

ระบบใช่ ใจนำ ทุกองคายพคือกำลังสำคัญพร้อมขับเคลื่อน

การจัดการองค์กรในยุค AI อีกความท้าทายของคณะเภสัชศาสตร์ ม.พะเยา โดย ศ. ดร. ภก.สุรศักดิ์ เสาแก้ว เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่จัดขึ้นทุก ๆ เดือนบน เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล มีโอกาสต้อนรับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมายจากหลากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการศึกษา ด้วยวัตถุประสงค์ของการมุ่งนำความรู้และประสบการณ์ในมิติต่าง ๆ มาเป็นแนวทางในการประยุกต์ ปรับใช้ และพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบต่อไป และในครานี้นับเป็นอีกโอกาสดี ๆ ที่การเสวนาได้ต้อนรับผู้บริหารในภาคการศึกษาจากโซนภาคเหนือ รศ. ดร. ภก.สุรศักดิ์ เสาแก้ว คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ให้เกียรติมาพูดคุยและแชร์ความคิด ความเห็นภายใต้เรื่องราวการจัดการองค์กรในยุคที่มีการไหลเข้ามาของประโยชน์ ประสิทธิภาพ และอื่น ๆ ของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ทั้งในระดับบุคคล และระดับสังคม กับประเด็น “การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์” การจัดการองค์กรอย่างฉลาดเพื่อการพัฒนาตามยุคที่เปลี่ยนไป …

ระบบใช่ ใจนำ ทุกองคายพคือกำลังสำคัญพร้อมขับเคลื่อน Read More »

เครื่องมือสำคัญเพื่อการจัดการองค์กรอย่างฉลาด

มองการจัดการองค์กรอย่างสมดุล มีคุณค่า สู่ความยั่งยืน และนำใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ผ่านนักวิเคราะห์นโยบายและแผนฯ – คุณศิรนาถ สรศักดิ์ จาก สดช. อีกครั้ง ณ เวทีเสวนา Digital University: Enabling The Smart Society ที่จัดขึ้นบนเฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล กับเรื่องเด่นประเด็นฮอตอย่าง ‘ปัญญาประดิษฐ์’ ที่เปิดเวทีพูดคุยต่อเนื่องมากันถึงสามครั้งสามครา และจากประเด็น “การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์” และหนึ่งในวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ คุณศิรนาถ สรศักดิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติร่วมพูดคุย พร้อมสะท้อนมุมมอง มุมคิด ผ่านการทำงานและประสบการณ์อย่างน่าสนใจ   การจัดการองค์กรอย่างฉลาด จากมุมมองของนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ คุณศิรนาถให้คำนิยาม ‘การจัดการองค์กรอย่างฉลาด’ ไว้ว่าเป็น ‘การที่องค์กรต้องมุ่งเน้นความสมดุลในการขับเคลื่อนคุณค่าขององค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยการนำใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด’ คุณค่าขององค์กร คุณศิรนาถอธิบายว่าก่อนอื่น ‘องค์กรต้องรู้จักตนเองก่อน’ ว่า องค์กรตั้งอยู่เพื่ออะไร มีพันธกิจอะไร แล้วจากพันธกิจนั้น องค์กรทำประโยชน์อะไรให้กับสังคม เพราะการที่องค์กรทำประโยชน์อย่างต่อเนื่อง …

เครื่องมือสำคัญเพื่อการจัดการองค์กรอย่างฉลาด Read More »