สิ่งที่เชื่อ VS สิ่งที่ใช่ กับ Digital University
เมื่อทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความต้องการทักษะมากขึ้น และมีความรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่งผลให้ภาคการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะด้านการผลิตบัณฑิตและผู้เข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรของสถาบัน ให้พร้อมรับกับอุตสาหกรรมยุคใหม่อย่างเหมาะสมตามไปด้วย
ที่สุดแล้ว ‘Digital University’ หรือมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ได้เข้ามาเป็น ‘คำตอบ’ หรือเป็น ‘เป้าหมาย’ สำคัญของการเดินทางไปสู่วันข้างหน้า หากคำว่า Digital University นั้น ยัง ‘ไม่ได้’ เป็นที่เข้าใจในแนวทางที่ ‘ใช่’ อย่างที่ควรจะเป็น และถ้าเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นเราต้องขอ ‘ลบ 5 ความเชื่อ’ ที่ทำให้การมุ่งไปสู่ Digital University หลงทาง จะมีความเข้าใจผิดใดบ้างที่ต้องยกมากล่าวถึงในที่นี้ แล้วคุณละเป็นคนหนึ่งที่กำลังสับสนกับแนวคิดการปรับเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยรูปแบบเดิม ไปสู่ Digital University หรือไม่ ไปดูกัน
5 ความเข้าใจผิด กับ Digital University
❌ แค่ใส่เทคโนโลยีมาก ๆ ‘ไม่ได้’ จะกลายเป็น Digital University
❌ คำว่า ดิจิทัล ‘ไม่ใช่’ หน้าที่ของแผนกไอทีเท่านั้น
❌ ถ้าเบอร์หนึ่งไม่สั่ง ‘ไม่ได้’ หมายความว่า Digital University จะเกิดขึ้นไม่ได้
❌ คำว่า ดิจิทัล ‘ไม่ใช่’ การทำครั้งเดียวแล้วเลิก
❌ แค่การเรียนออนไลน์ ‘ไม่ได้’ แปลว่าเป็น Digital University
คราวนี้ มาเข้าสู่โลกของ Digital University อย่างแท้จริงกัน ถ้า Digital University ไม่ใช่อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แล้ว Digital University คืออะไร และมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร เราหยิบใจความสำคัญมาวางไว้ให้คุณตรงนี้แล้ว
3 ลักษณะสำคัญ ของ Digital University
✅ เชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ของข้อมูลและเทคโนโลยีร่วมกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
✅ ขจัดความซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงาน
✅ ต่อยอดงานหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยไม่จำเป็นต้องรื้อของเดิม เพื่อสานต่อเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จุดตั้งต้นและการบวนการมุ่งสู่ Digital University
✅ ยึดหลัก ‘น้อยแต่มาก’ กล่าวคือ ทำน้อย แต่เกิดความคุ้มค่าก่อนหรือรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน หรืองาน Back Office เป็นต้น
✅ ผู้นำต้องมองเป้าหมายใหม่ เลือกแฟลกชิปว่าจะเริ่มที่งานอะไร เพราะอะไร แล้วนำงานนั้นไปสู่เป้าหมายใหม่ที่โลกเชื่อมกันหมด และมหาวิทยาลัยเองก็เชื่อมโยงไปกับโลกด้วย
✅ เมื่อรู้แฟลกชิปแล้ว จึงถ่ายทอดสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ทั้งรายละเอียดของงาน และขั้นตอนการดำเนินงาน
✅ นำข้อมูล และเทคโนโลยี เข้ามาสนับสนุนการทำงานได้อย่างสอดคล้อง ทั้งคน งาน และเป้าหมาย เป็นต้น
✅ การมุ่งสู่ Digital University ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่เทคโนโลยี หากเป็นการ ‘ค้นหา’ และ ‘เข้าใจ’ ใน ‘จุดเด่น’ ของการเป็นมหาวิทยาลัยของตน เพื่อสานต่อความสำเร็จ ไปสู่เป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
การพลิกโฉม ไม่ว่าจะด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน หรืออื่น ๆ ของการอุดมศึกษาจากยุคเดิม สู่ขับเคลื่อนด้วย Digital Technology ‘อย่างเข้าใจ’ ไม่เพียงจะนำมาซึ่งการทำงานที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากยังจะทำให้มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต หรือ Digital University สามารถสร้าง ‘คนคุณภาพ’ ออกสู่ระบบอุตสาหกรรมยุคใหม่ในทุกมิติ และสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศอีกด้วย