จากจุดตั้งต้น..เพื่ออนาคต มอง ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ภายใต้งานวิจัย
รศ. ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สถาบันคลังสมองของชาติ
หลังจากได้ร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อการสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Transformation Readiness Towards Digital University) พร้อมด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model ที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้นำใช้เพื่อประเมินความพร้อมและสำรวจสถานะต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเดินหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ล่าสุด รศ. ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สถาบันคลังสมองของชาติ ให้เกียรติสะท้อนมุมคิดและประสบการณ์ ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” กับความสำคัญของเครื่องมือ DMM จากจุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน และภาพใหญ่ในการดำเนินการสู่อนาคต
Enterprise Blueprint มีหน้าบ้าน กลางบ้าน และหลังบ้าน
ทว่าหลายครั้ง คนทำงานหลังบ้านถูกมองว่าไม่ได้หารายได้ ไม่ได้ทำให้เกิดกำไร “ดังนั้นตรงไหนตัดได้ตัด ตรงไหนยุบได้ยุบ แต่ในความเป็นจริงแล้วจะใช้คำว่า Optimize มากกว่าตัดหรือยุบ Optimize บางครั้งก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย บางครั้งก็มาดูเรื่องความซ้ำซ้อนของงาน
“องค์กรที่ยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งโดยมากจะเก่งเรื่องหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน เรื่องคน เราจะเห็นว่าองค์กรร้อยปี เรื่องเงิน เรื่องคน เขาจะมีภูมิคุ้มกัน มีความฉลาดในการดำเนินเรื่องนี้เป็นอย่างดี”
Core Services ไม่อาจอยู่ตามลำพัง
อาจารย์ดนัยรัฐเปรียบไว้ว่าการมีเพียง Core Services อย่างเดียวนั้นก็ไม่ต่างจาก Hobby หรือการทำสิ่งที่อยากทำ ทำสิ่งที่หลงใหล ซึ่งไม่เหมือนกับการทำเป็นมืออาชีพจนไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการ ที่จะต้องมีทั้งงานหน้าบ้าน อาทิ งานขาย งานประชาสัมพันธ์ การสร้างการรับรู้ ฯลฯ และงานหลังบ้าน อาทิ Human Resource (HR) ไม่ว่าจะเป็น Human Resources Management (HRM) หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ Human Resources Development (HRD) หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเงินการบัญชี งานตรวจสอบความเสี่ยง ฯลฯ
ภาพชิ้นเล็ก ๆ ต้องถูกนำมาต่อจิ๊กซอว์เป็นภาพใหญ่ (ท่ามกลางสถานการณ์โลกในยุคดิจิทัล)
หากกล่าวในมุมของ Digital University แล้ว อาจารย์ดนัยรัฐย้ำว่ามหาวิทยาลัยดิจิทัลไม่ใช่ Virtual University หรือ Metaverse อย่างที่หลายคนมีความเข้าใจ จริง ๆ แล้วมหาวิทยาลัยดิจิทัลคือมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่เช่นนี้ หากมุ่งการขับเคลื่อนเรื่องคน งาน เงิน ข้อมูล เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีรายละเอียดที่ว่า เมื่อใช้เทคโนโลยีที่ตรงกับสมัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการสอน คีย์สำคัญ คือ การใช้เทคโนโลยี รวมถึงกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้น และงานเรียนงานสอนเชื่อมโยงกัน ทั้งภายในและภายนอก ทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือมีความโปร่งใสและเป็นธรรม สามารถตรวจสอบการทำงานได้อย่างถูกต้อง และสามารถแบ่งปันคุณค่ากับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อไปต่อยอดสู่การสร้างนิเวศของการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
“เรื่องการพัฒนานิเวศ แต่เดิมเราพูดเป็นเหมือนวาทกรรม แต่ปัจจุบันดิจิทัลจะทำให้เราสร้างนิเวศขึ้นมาจริง ๆ เพราะการแข่งกันแล้วเจ็บทั้งคู่ บางทีมหาวิทยาลัยต้องมีการหารายได้ มีหลายส่วนเข้ามายืนหนึ่งในจุดยืนของตัวเองดีกว่าที่จะต้องแข่งขันเพื่ออยู่รอด แต่เป็นการแบ่งปันเพื่ออยู่ร่วม”
การปรับเปลี่ยนการทำงาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และใช้ระบบเทคโนโลยี
‘เมื่อทำ Enterprise Blueprint แล้วจะไปต่ออย่างไร’ อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายว่าถ้าไม่มีการแบ่งหมวดหมู่การทำงานวันนี้ วันที่ถูกประเมิน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA การประเมินมาตรฐาน Hospital Accreditation (HA) ของมหาวิทยาลัยที่มีโรงพยาบาล หรือการประเมินเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ หรือ EdPEx (Education Criteria for Performance Excellence) การทำงานเหล่านี้ย่อมกลับมาในรูปแบบของการประเมินอยู่ดี ซึ่งมีหลายอย่างที่จะต้องทำให้สอดคล้องกัน
“เมื่อพูดถึงเรื่องของหลาย ๆ งานที่เกิดขึ้นในองค์กร ก็ต้องพูดถึง ว่าแล้วเราจะก้าวเดินร่วมกันต่อไปได้อย่างไร มีการก้าวแบบระยะสั้น บางอย่างทำให้เสร็จก่อน ขึ้นมาให้เห็นก่อน แต่บางอย่างต้องก้าวในลักษณะระยะยาว เช่น การพัฒนาคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการลงทุนระยะสั้น
คำว่า ‘เสร็จ แต่ไม่สำเร็จ’ หรือบางครั้งที่เราพูดถึง ‘สู่ความยั่งยืน’ ตรงนั้นเป็นลักษณะอย่างไร
อาจารย์ดนัยรัฐไว้อธิบายว่า ระยะทดลองทำที่ยังไม่มีมาตรฐาน คือ ไซโล ขอทำขึ้นมาให้เห็นก่อน ไม่เคยเห็นเลยว่า Big Data เป็นอย่างไร อาเล็ก ๆ ไม่ต้องแพงมาก ขอใช้เวลา 3 เดือน เมื่อดีขึ้นมาแล้ว ระยะที่ 2 คือ ควรจะมีมาตรฐานมาจับ มี Work Procedure สามารถที่จะ Repeat หรือ Replicate ไปยังสถานการณ์อื่นได้ เป็นมาตรฐาน หรือ Standard
แต่จริง ๆ แล้วที่มีการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model เพื่อสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวว่ามุ่งไปสู่ขั้นขจัดความซ้ำซ้อน เชื่อมโยงกัน และนำใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามา หรือ Optimize
“การพัฒนานิเวศที่เราพูดกัน หรือความยั่งยืน จริง ๆ แล้วคือ Modular หมายความว่าตัวเราเองสามารถทำงานเป็นอิสระ แต่มีมาตรฐาน และอัตโนมัติ เมื่อเป็นอิสระต่อกัน แต่มีมาตรฐาน เหมือนมืออาชีพ เมื่อมาเล่นวงดนตรีวงเดียวกัน คนหนึ่งจับคอร์ด คนหนึ่งตีกลอง ก็ไม่มั่ว Modular คือ การทำงานแบบไม่แข่งกัน เป็นการทำงานร่วมกันที่ดี
“พิมพ์เขียวองค์กรหรือพิมพ์เขียวของมหาวิทยาลัยจะเห็นว่ามีการสามารถที่จะใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ไม่ว่าเป็นงานบุคคล งานการเงินการบัญชี งานพัสดุ ฯลฯ ก็สามารถสร้างชุดการทำงานเข้าไป เมื่อใส่เข้าไปก็จะไปคอนเนกต์กับว่าในงานนี้ใคร รับผิดชอบอะไร ทำอยู่ในช่วงเวลาไหน และต้องมีใครที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงานและผลผลิตคืออะไร มีความชัดเจน
“สำคัญคือทักษะ วัฒนธรรมการทำงาน และขวัญกำลังใจ ตรงนี้เหมือนภูเขาใต้น้ำแข็ง ต้องใช้อะไรบ้างเพื่อทำให้งานนี้สำเร็จ และงบประมาณ ทั้งที่ประมาณการ และที่ได้รับจริง เมื่อแต่ละงานพวกนี้ขึ้นมา สามารถที่จะดึงเข้ามาในชุดปฏิทิน เราจะมองเห็นว่าเริ่มวันไหน สิ้นสุดวันไหน”
จาก Silo, Standard, Optimize ถึง Modular มองเห็นว่าค่าเป้าหมายคืออะไร สามารถแสดงในชุดปฏิทินและคุณภาพของงานว่าช่วงไหนที่จะทดลองทำ ช่วงไหนจะปรับเป็นมาตรฐาน และช่วงไหนจะแบ่งปันงานไปเชื่อมโยงเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกับผู้อื่น
“งานการเงินก็เช่นเดียวกัน งาน HR ก็เช่นเดียวกัน เขาก็มี Maturity เช่นเดียวกัน เมื่อมาทำงานร่วมกัน ถ้าเรายังอยู่ในขั้นทดลอง แต่เพื่อน Standard อันนี้แปลว่าเราอาจจะเป็นภาระให้กับเพื่อน แต่เพื่อนทำงานมีมาตรฐาน เขาไม่ได้เป็นภาระให้กับเรา มุมตรงนี้ หลายครั้งในมหาวิทยาลัยไม่ได้นำมาใช้ เราสอนคนอื่นแต่เราไม่ได้นำมาใช้ ทำให้การทำงานในองค์กรดูเหมือนทำงานร่วมกัน แต่ไม่เข้าขากัน งานถูกตีกลับเยอะ” อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวถึงระดับคุณภาพของงาน พร้อมทิ้งท้ายว่า การเดินหน้าการทำงานไปสู่ผลสำเร็จ ไม่ใช่ทำแค่เสร็จ เป็นประเด็นที่ต้องหยิบยกมาคุยกันในครั้งต่อไป
ชมเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ในหัวข้อ “งานหลังบ้าน” กุญแจสำคัญที่มักถูกมองข้าม ได้ที่นี่ Https://Www.Facebook.Com/Digitaluniversity.Thai/Videos/1391931264974013/