ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน

โลกที่ไม่เหมือนเดิม กับความท้าทายยิ่งต้องเปลี่ยนแปลง

   ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์สะท้อนภาพโลกปัจจุบันว่าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยโลกเข้าสู่ยุคของแห่งความผันผวนนานัปการ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลจากความก้าวหน้าและก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล การบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Emerging World) ทั่วโลก โดยมีการรบรูณาการระหว่างกลุ่มประเทศ การแตกแยกจากสิ่งที่เคยรวมตัว (Disintegrate) ต่างจากยุค Globalization ที่คุ้นเคย การเคลื่อนย้ายของผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน แต่ขณะเดียวกันยังสามารถเกิด Invisible Barriers ขึ้นได้ ที่สำคัญและท้าทายคือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ทว่าต้องเป็น Digital Transformation ต่อไปในอนาคตด้วย

   สถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งล่าสุด ภายใต้ประเด็น ‘Agile Leadership towards Digital University’ โดยมี ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้เกียรติเปิดการสัมมนาพร้อมร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และมุมคิดอย่างน่าสนใจ กับหัวข้อสำคัญ ‘ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล’ 

ดังคำกล่าวของ Charles Darwin ที่ว่า It is not the strongest of the species that survives, nor the most intelligent, but the one most adaptable to change. It is the one that is the most adaptable to change, that lives within the means available and works co-cooperatively against common threats.

   ดังนั้น ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์จึงเน้นย้ำว่าการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยไม่อาจนิ่งเฉย เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้การเปลี่ยนแปลงในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย “ไม่เปลี่ยนก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่เปลี่ยนก็จะถูกทิ้ง และหากเดินไปคนเดียว การเปลี่ยนแปลงก็จะช้า นี่จึงเป็นโอกาสในการแลกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาทางลัดดี ๆ และพาองค์กรทั้งหมดก้าวข้ามไปด้วยกัน

โลกที่ไม่เหมือนเดิม กับความท้าทายยิ่งต้องเปลี่ยนแปลง

ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์สะท้อนภาพโลกปัจจุบันว่าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยโลกเข้าสู่ยุคของแห่งความผันผวนนานัปการ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลจากความก้าวหน้าและก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล การบรูณาการทางเศรษฐกิจ (Emerging World) ทั่วโลก โดยมีการรบรูณาการระหว่างกลุ่มประเทศ การแตกแยกจากสิ่งที่เคยรวมตัว (Disintegrate) ต่างจากยุค Globalization ที่คุ้นเคย การเคลื่อนย้ายของผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน แต่ขณะเดียวกันยังสามารถเกิด Invisible Barriers ขึ้นได้ ที่สำคัญและท้าทายคือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ทว่าต้องเป็น Digital Transformation ต่อไปในอนาคตด้วย

“ในมุมของสถาบันการศึกษาถูกท้าทายตั้งแต่การคนหายไปของจำนวนนักศึกษากว่าครึ่งหนึ่ง และการที่ต่างชาติทั้งยุโรป อเมริกา ฯลฯ เข้ามาขอเปิดสถาบันการศึกษาในประเทศไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จนถึงการยกทั้งมหาวิทยาลัยเข้ามาเปิดภายใต้ชื่อของแต่ละสถาบัน ล้วนแต่เป็นความท้าทาย” ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์กล่าว “คนรุ่น Z-Generation ซึ่งเกิดมาพร้อมกับ Digital Literacy และ Digital Skills ท้าทายให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนสิ่งที่เคยสอน เคยทำเหมือนเดิม นอกจากนี้องค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะแห่งใหญ่ ๆ เริ่มให้ความสำคัญต่อเรื่อง Competency ของการทำงานมากกว่า Degree ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่ นี่คือ Trigger ที่เกิดขึ้น สุดท้ายแล้วสถาบันการศึกษาถูกท้าทายว่าต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไปสู่องค์กรดิจิทัลผ่านกระบวนการ Digital Transformation มากขึ้น”

เมื่อใคร ๆ ก็กล่าวว่าจะเป็นดิจิทัล

การที่จะไปสู่องค์กรดิจิทัลเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่หรือมหาวิทยาลัยแล้วคงไม่ง่ายนัก “องค์กรที่มีบุคลากร คนทำงานเป็นพันคน และในพันคนนั้นเป็นด็อกเตอร์ครึ่งหนึ่ง ยิ่งเปลี่ยนแปลงยาก” ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์กล่าวว่า Mindset & Culture คือปัจจัยสำคัญที่ต้องบริหารจัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการจัดนิเวศหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ประเด็นถัดมาคือ Business Process หรือ Business Model ที่จะต้องปรับแก้ด้วยการนำใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อชอร์ตคัตในหลาย ๆ ส่วน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมาขณะที่เป็นยุคอะนาล็อกย่อมไม่ตอบโจทย์ และยังเป็นการเพิ่มภาระในกระบวนการทำงานอีกด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เทคโนโลยีต้องมีความเหมาะสม ไม่มากเกินความจำเป็น และไม่น้อยจนล้าหลัง สุดท้ายแล้ว คือ คนทำงาน (Digital Workforce) ต้องได้รับการพัฒนาทักษะดิจิทัล แม้จะมีกลุ่มคนที่ผ่านการทำงานแบบแมนนวล เป็นกระบวนการ 1, 2, 3, 4, 5 ไปถึง 10 ยุคดิจิทัลที่มีความท้าทาย งานเสร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องไปนับจาก 1-10 เป็นต้น

ผู้นำของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล

“อยู่ยากกว่าเดิม” ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์กล่าวเมื่อเข้าสู่โจทย์นี้

เพราะผู้นำในแง่ของ Leadership นั้นแตกต่างจาก Authority ซึ่งทำงานตามขั้นตอน สั่งการลงไปแล้วทำได้ทันที แต่สังคมในปัจจุบันซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องการความเชื่อมโยงกว่าที่เคยเป็น ตั้งแต่ความสามารถในการบริหารจัดการความซับซ้อนต่าง ๆ โดยเป็นการหาโซลูชันด้วยการนำคนมารวมกัน ไม่ใช่การทำคนเดียว และไม่ใช่การบอกให้คนอื่นทำ

และเพื่อเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล โดยต้องเป็น Digital Transformation ต่อไปในอนาคตแล้วด้วยนั้น ผู้นำของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลยังต้องพร้อมด้วยทักษะ Strategic Thinking ที่ Flexible “แต่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และทรัพยากรของโลกนี้มีจำกัด เพราะฉะนั้นจะบริหารทรัพยากรได้ ต้องโฟกัส ต้องมี Strategical Thinking But Flexible ซึ่งสัมพันธ์กับคำว่า Resilience ขยับตัวได้รวดเร็ว”

แน่นอนว่าผู้นำในยุคดิจิทัลต้องมี Partnership และ Collaboration “ในสมัยก่อน ‘ข้ามาคนเดียว’ อาจจะได้ แต่สมัยนี้ต้องไปด้วยความเร็ว ต้องก้าวสิ่งที่มีความซับซ้อนเชิงโครงสร้าง เพราะฉะนั้นการทำงานแบบ Partnership แบบมีเครือข่าย จึงมีความสำคัญ ผู้นำของสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะนี้ และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม หรือ open to innovation”

ใช้วิธีเดิมไม่ได้ เพราะโลกไม่เหมือนเดิม ถ้าใช้วิธีเดิม ผลลัพธ์ไม่มีทางใหม่ ต้องหาวิธีใหม่

นอกจากนี้ผู้นำยุคดิจิทัลต้องเป็นผู้นำที่มีความคล่องตัว มีความยืดหยุ่น เรียกว่า Agility ในแง่ของ Adaptability ซึ่งศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ย้ำว่า ไม่ใช่แค่ Adapted แต่เป็น Adaptability หรือความสามารถในการปรับเปลี่ยน โดย Agility เริ่มตั้งแต่ Customer Focus, More Effectiveness และ Innovative Action

Agility ส่งผลให้วิถีชีวิตการทำงานเปลี่ยนไป การทำงานมากขึ้น หากไม่ต้องถึงไม่ต้องเข้าไปทำงานที่มหาวิทยยาลัยตลอดเวลา ‘ทำงานได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต’ ฉะนั้นจะต้องเปลี่ยนการทำงานให้เป็น Digital Workplace “Anywhere ก็ทำงานได้ Anytime ก็ทำงานได้ และผลลัพธ์คืองานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” ที่ขาดไม่ได้ ผู้นำของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลต้องมีความเข้าใจทางด้านดิจิทัล (Digital Literacy) และสามารถสร้างการรับรู้และการสื่อสาร (Communication) ที่สำคัญคือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา “เราไม่มีความรู้และความคิดว่าทุกอย่างถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นจึงต้องทดลอง อย่างไรก็ตาม การทดลองต้องอยู่ภายใต้บริบทของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะถ้าไม่ทดลองเลย จะไม่ได้สิ่งใหม่ แต่การทดลองทุกอย่างมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นจะต้องบาลานซ์สิ่งนี้”

ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ฉายภาพของสถานการณ์โลกโดยกระชับ หากส่งผลอย่างใหญ่หลวงและผลักดันให้ภาคการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา เร่งรุดปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างมั่นคง ยั่งยืน ภายใต้แรงหนุนของ ‘ผู้นำในยุคดิจิทัล’ ที่เปี่ยมล้นด้วยความพร้อมในแง่งามของเจตนารมณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง ไร้ขอบเขต

เมื่อธรรมชาติไม่ได้คัดเลือกสิ่งที่แข็งแรงที่สุดหรือดีที่สุด เพราะธรรมชาติไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น อะไรคือที่เรียกว่า ‘ดี’ อะไรคือที่เรียกว่า ‘พัฒนา’ ธรรมชาติไม่ได้มีเจตจำนงหรือมองเห็นล่วงหน้าว่าจะเลือกอะไรไปสู่อะไรที่พัฒนาแล้ว มีเพียง ‘สิ่งมีชีวิต’ ที่ปรับตัวได้ดีกว่ากับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่และในแต่ละช่วงเวลาจะอยู่รอดและให้ลูกหลานที่ปรับเปลี่ยนต่อไป

https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/