ชัดเจน ตรงประเด็น ยุค AI ทำไมต้องปรับตัว แต่ละเครื่องมือเพื่อจัดการปัญหาและความเสี่ยง กับ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

การใช้ประโยชน์และประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์
หรือ
AI ได้รับการหยิบยกมาแบ่งปันเรื่องราวกันอย่างน่าสนใจใจ
หัวข้อ
การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ซึ่งอาจารย์ดนัยรัฐยังคงนำรายละเอียดสำคัญที่ไม่อยากให้หลงลืมมาไฮไลต์
และเก็บตกเรื่องราวที่ไม่อยากให้พลาดกันเช่นเคย

 

ยุค AI กับการปรับตัว… ว่าแต่ ทำไม?’

อาจารย์ดนัยรัฐเริ่มต้นที่ประเด็นการเสวนา การจัดการองค์กรอย่างฉลาด…และชี้ชวนให้มองที่คำว่า
ฉลาด ว่า Smart กับ Intelligent
นั้นแตกต่างกัน พร้อมอธิบายว่า
Intelligent คือความสามารถที่คนเราจะมี
Self-Learning ได้ เรียกว่ามีอะไรที่อาจไม่เข้าใจ หรือเข้าไปถึง
แล้วสามารถสกัดมันขึ้นมาได้ สามารถเรียนรู้วิธีการทำงานเชิงลึกลงไปได้ แต่
Smart เป็นอีกเรื่องหนึ่งคือ The right thing to the right one at the
right time. “ดังนั้นคนควรจะ Smart โดยปกติคนจะ Intelligence หลายคนไม่เข้าใจ จึงเอามาปะปนกัน”
อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวถึงอาจารย์หัวข้อการพูดคุยว่าต้องผสานการทำงานระหว่างคนกับ AI อย่างลงตัว เพื่อให้เป็นองค์กรที่ Smart ซึ่งฉลาดในที่นี้คือไม่ต้องทำทุกอย่าง หากสามารถเชื่อมโยง ประกอบ
แล้วทำให้ไปไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

ยุคปัญญาประดิษฐ์

ในอดีตหากกล่าวคำว่า ยุค อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายว่ายุคหนึ่ง ๆ กินเวลายาวนานมาก
บางยุคนานนับร้อยปี แต่ในปัจจุบันแต่ละยุค ๆ คือประมาณ
10 ปี
หรือบางครั้งก็สั้นแค่
5 ปีเท่านั้น “ไม่มียุคที่กินเวลาเป็นร้อยปีแล้ว
คำว่ายุคปัญญาประดิษฐ์ก็อยู่ในช่วง
3-7 ปีนี้เท่านั้นเอง เป็นช่วงสมัยหนึ่งที่เกิดขึ้น
และปีนี้ก็เป็นยุคที่มีเจ้า
ChatGPT ออกมาระบาดให้หลาย ๆ คนได้นำความสามารถตรงนี้เข้ามาใช้ในการทำงาน”

ทั้งนี้นิยามของ
ยุคปัญญาประดิษฐ์ที่อาจารย์ดนัยรัฐให้ไว้คือช่วงสมัยที่มีความสามารถนำใช้เทคโนโลยี
AI เข้ามาช่วยในการทำงานได้อย่างมีความสะดวก รวดเร็ว
สามารถผสานการทำงานกับมนุษย์เพื่อพัฒนาการทำงานไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมที่ดีร่วมกัน

ปรับตัว = ตรงยุค = อยู่กับปัจจุบัน

หากถามว่า ทำไมจะต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุค AI’ อาจารย์ดนัยรัฐสะท้อนภาพการทำงานกับทีมงานที่เสร็จก่อนเวลาถึง
4 เท่าทั้งที่จองเวลาการทำงานไว้ 8 ชั่วโมง
นั่นหมายความว่าทีมงานและอาจารย์ดนัยรัฐใช้เวลาทำงานจนแล้วเสร็จเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
“ทำไมเราต้องปรับตัว เป็นคำถามที่ดี คำตอบสั้น ๆ ก็คือ
ตรงยุค
อะไรที่อยู่กับปัจจุบันคือตรงยุค เรียกว่า Effortless

“ลองนึกภาพตามว่าหากจะต้องหุงข้าวตอนนี้
แล้วต้องไปเอาฟืน
5 กิโลฯ
เอามาผ่า ตั้งเตา แบบนั้นตรงยุคไหม แต่คนสมัยก่อนเขาต้องเดินทาง 10 กิโลฯ เพื่อไปเรียนหนังสือ
ปีนเขาด้วย มาถึงตอนนี้ ระบบและเทคโนโลยีทำให้ความตรงยุคเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นทำไมต้องปรับตัว
คำตอบสั้น ๆ ก็คือ
ตรงยุค
เท่านั้นเอง”

อย่างไรก็ตามอาจารย์ดนัยรัฐขยายความไว้ด้วยว่าหากใช้ชีวิตล้าหลังจะทำให้เกิดความเสี่ยง
ความเสี่ยงในที่นี้คือการไม่สามารถพัฒนาต่อไป เพราะทักษะในอดีตหรือวิธีการที่ล้าหลังก็จะหายไปกับผู้คนในยุคเก่า
นับวันองค์กรจะยิ่งถอยหลัง
ล้าหลังจึงเรียกว่าเสี่ยง ขณะที่ ล้ำหน้าก็เรียกว่าเปลือง เช่น เดินทางด้วยไฮเปอร์ลูปในการกลับบ้าน
จะใช้งบประมาณสิ้นเปลืองเท่าไร
“ล้ำหน้าก็เรียกว่าเปลือง
ล้าหลังก็เรียกว่าเสี่ยง อยู่กับปัจจุบัน ก็เรียกว่า
Optimal,
Optimized ที่สุด ฉลาดแบบไม่ต้องปรุงแต่ง”

Dealing with BANI and VUCA

ด้วยสถานการณ์ BANI (B – Brittle (ความเปราะบาง) A – Anxious (ความกังวล) N – Nonlinear (ความคาดเดาได้ยาก) และ I – Incomprehensible (ความไม่เข้าใจ) ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งที่เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart
Society รวมทั้งในครานี้ อาจารย์ดนัยรัฐจึงใช้โอกาสนี้ในสะท้อนปัญหาและหยิบยกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้โจทย์มาแนะนำแบบขั้นต่อขั้น

อาจารย์ดนัยรัฐเล่าว่า BANI เป็นสถานการ์ที่เริ่มเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนบ้านเรามาชัดเจนขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019
(โควิด-19) คลี่คลาย เรียกว่าคนเริ่มมีความเปราะบางมากขึ้น
(
Brittle) ส่วนความกังวล (Anxious) แม้บางทีไม่มีเรื่องอะไรที่ควรจะกังวล
ก็มีความกังวลไปหมด ต้องการความเห็นอกเห็นใจและต้องการการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อลดความกังวล

Nonlinear เกิดขึ้น ไม่เป็นเส้นตรงอีกแล้ว ทุกยุคจะต้องเจอ
ความสัมพันธ์ไม่ค่อยมีทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้น
Value Chain จะกลายเป็น
Value Network ตรงไหนที่มีความโดดเด่นก็นำจุดนั้นเป็นจุดหมุนต่อไป
ไม่
Fixed แล้วว่าตรงนี้คือฝั่งวัตถุดิบ เพราะบางทีดีมานด์แข็งแรงกว่า
ก็เอาดีมานด์เป็นจุดหมุน เมื่อไม่เป็นเส้นตรงแบบเดิม ทำให้
ความสัมพันธ์แตกแขนงรากแก้วออกรากแขนง รากฝอย
หมายความว่า บางทีเราไม่จำเป็นจะต้องนับหนึ่งอย่างเดิม อาจนับ
8, 9, 10 หรือ 4, 5, 6 แล้วก็กลับมานับ 1, 2, 3 ก็ได้

“สุดท้ายที่น่าทึ่งก็คือ Incomprehensible ยากที่จะประมาณ
ยากที่จะเข้าใจและเห็นภาพรวม ทำไปไม่รู้ว่าช้าง หรือว่าตึก หรืออะไร ไม่สามารถหาเส้นทาง
หรือ
Roadmap ในครั้งเดียว เวลาที่บอกแผนระยะยาว คำว่าระยะยาวในตอนนี้คือ
3 ปี ไม่ใช่ 10 ปีอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจะต้องแบ่งความสำเร็จเป็นช่วง”

หยิบใช้เครื่องมืออย่างมีกลยุทธ์และตอบโจทย์

อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายว่าในส่วนของ Brittle หรือเรื่องความเปราะบาง มีวงจรชีวิตที่สั้น สามารถตอบโจทย์ด้วยเครื่องมือ
Vision Builder กล่าวคือเมื่อมีสถานการณ์หรือตรงไหนที่วงจรชีวิตเปลี่ยน
ก็นำส่วนที่ตรงกับยุคในเครื่องมือขึ้นมาแทน เรียกว่า
Shuffle ได้ทัน

เรื่องความกังวล
ความต้องการเห็นภาพรวม จะต้องครอบด้วยเครื่องมือ
Enterprise Blueprint สามารถแยกความชัดเจนว่าใครทำอะไร
อยู่ในส่วนไหน มีภาคส่วนของ
Performance Management และ Experience
Management ที่มีงานต้องทำ แล้วคะแนนจะเพิ่ม ถ้าไม่ทำได้ศูนย์
แตกต่างจากส่วนของ
Corporate Admin, Back Office และ Laws,
Compliance and Audit ถ้าทำได้ศูนย์ ถ้าไม่ทำติดลบเลย ถึงตาย ติดคุก
อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายความชัดเจนของเครื่อง
Enterprise Blueprint ที่จะทำให้หายกังวลและข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำ มองเห็นสโคป

“แต่ Nonlinear ต้องใช้ DT
Worksheet (Design & Track Worksheet) เพื่อหาจุดที่เป็น Right Owner – Right Start เพื่อเป็นจุดหมุนให้เขาพาทีมเขา
รากแขนง ที่เป็น
Member List ของเขาไปขยายต่อ และออกมาเป็น
Living Design Organic ไม่ได้ออกมาเป็นภาคบังคับ

“สุดท้าย Incomprehensible ยากที่จะประมาณการ ขอเริ่มแบบไซโลก่อนได้ไหม ขอเริ่มแบบชิมลองก่อนได้ไหม หลังจากนั้นเมื่อมีมาตรฐานแล้วค่อยพัฒนาต่อไปเป็น
Connected แล้วไปขยายผลสู่ชุมชน ในส่วนของ
Maturity Phasing อนุญาตให้ทำแซนด์บอกซ์ก่อน เช่น ภูเก็ตแซนด์บอกซ์ พะเยาแซนด์บอกซ์
หรือนครฯ แซนด์บอกซ์ แล้วค่อยขยายต่อไปเป็นคลัสเตอร์”

อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายการนำใช้ชุดเครื่องมือเพื่อช่วยลดความเปราะบาง
ความกังวล ความไม่เป็นเส้นตรง และยากที่จะประมาณการ ที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์
BANI ทว่านอกจาก BANI แล้ว จะไม่กล่าวถึง VUCA (V – Volatility (ความผันผวน) U – Uncertainty (ความไม่แน่นอน) C – Complexity (ความซับซ้อน) และ A – Ambiguity (ความคลุมเครือ)) ก็คงจะไม่ครบถ้วนสำหรับอาจารย์ดนัยรัฐ

Volatility นั้นแปลว่า Fluctuate เป็น 2 มิติ เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ดังนั้นใช้ Vision Builder จับกระแส อันไหนขึ้นฉันเอา
อันไหนลงฉันยังไม่แตะ เรียกว่าฉลาด”
อาจารย์ดนัยรัฐเสริมเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าฉลาดจริง ๆ ต้องมีเวลาสามารถขี้เกียจได้
ต้องมีเวลาเหลือ กล่าวคือไม่ว่าจะ
Efficiency หรือ Productivity ต้องเหลือ

“อันที่ 2 Uncertainty แปลว่ามีตัวแปลงอก ถ้าตัวแปลงอกแปลว่าต้องใช้ Enterprise Blueprint มาครอบ อันที่ 3 Complexity คือไม่รู้หัวท้ายซ้ายขวา ก็ต้องเอา DT Worksheet มาเป็นจุดหมุนว่าอันไหนคือ Value Base และ Ambiguity คือไม่ชัดเจน
ไม่ชัดเจนก็อย่าลงทุนเยอะ ทดลองก่อน อย่างนี้เรียกว่าฉลาด”

จัดกลุ่มทำงานที่สอดคล้องดับกลยุทธฺองค์กรด้วย Enterprise
Blueprint

นอกจากนี้อาจารย์ดนัยรัฐสะท้อนภาพองค์กรในอดีตที่ไม่ได้ใช้
Digital Capability
หรือใช้แต่เพียงมนุษย์ในการทำงาน บางครั้งจึงเกิดการตกหล่น ไม่มีการติดตาม
ยิ่งคนจำนวนมากก็ยิ่งเกิดความสับสน
“การกระจายอำนาจลงไปแบบที่เรียกว่าเป็น
Accounting
หรือเป็น Accountable ซึ่งแปลว่าผู้รับผิดชอบอย่างเต็ม
ๆ นั้นแตกต่างจากคำว่า
Responsible ที่แปลว่าได้รับมอบหมาย การกระจายอำนาจแบบ
Accountable Framework ทำให้ทุกคนไม่ว่า
Work From Anywhere หรือ Work From Office จะต้องเอาความสำเร็จกลับมา
ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องบอกทางเลือกว่า จะสำเร็จอย่างไร
เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีการขี่กันเดิน

“อีกส่วนหนึ่งที่อยากแชร์ให้เห็นภาพคือเมื่อมีการถ่ายทอดแล้ว
จะติดตามความก้าวหน้าของงานได้อย่างไร ภาษาง่าย ๆ คือใช้คำว่าแผนแม่ แผนลูก
แผนหลาน ฯลฯ ดังนั้นคนที่เป็นเบอร์
1 ก็ดูแผนแม่ คนที่เป็นเบอร์
2 ก็ดูแผนลูก เบอร์ 3 ก็ดูแผนหลาน นั่นหมายความว่าเบอร์
1 ก็ไม่ต้องเสียเวลาไป Micro Manage แผนหลาน เพราะฉะนั้นใครอยู่ตรงไหนก็พิกัดดูตรงนั้น
จะเกิดความชัดเจนที่มากขึ้น และเวลาจะดู
OKRs ย้อนหลัง หรือดูงานย้อนหลัง
ควรจะมีการเซฟหรือเก็บย้อนหลังว่าได้เทกออฟมาในปี
2021 แล้ว ทำ
3 ใบ 3 งาน ปี 20222023
ก็ควรมาเล่นด้วยให้มากยิ่งขึ้น”

พลังใจจากผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล

“ขอฝากอีกครั้งว่าถ้าพูดถึงองค์กรที่ฉลาดจะต้องมีเวลาขี้เกียจได้บ้าง
ใช่ว่าจะต้องทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นนอต อย่าลืมว่าคนที่
Intelligence อาจจะถูกหลอกก็ได้ คนที่ฉลาดจะรู้ว่า Pick the right thing to the
right one at the right time. แต่คนฉลาดไม่ใช่คนที่เจ้าเล่ห์
เหมือนกับการเก็บผลไม้ เก็บอย่างไรให้ค่า
Yield สูงสุด”

หาเส้นเรื่องของตัวเอง

“ให้ทั้งใจเลยนะครับ เป็นกำลังใจให้” อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวให้กำลังใจ พร้อมนำวิทยากรทำสัญลักษณ์รูปหัวใจส่งให้กับผู้ชมผ่านหน้าจอร่วมกัน
สิ่งที่อยากจะให้ไปคือ
ทุกคนต้องหาเส้นเรื่องของตัวเองประชากรโลกมี
8 พันล้านคน นิวรอนในสมองของเราอาจจะมี
100,000-140,000 ล้านเส้น
มันไม่ทำให้ใครเหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว การที่เราแข่งเพื่อชนะคนอื่น ต้องเลิกคุยแล้ว
ยุคนี้โลกค้นหาเราเจอ ที่เราต้องชนะในจังหวัดไปแข่งในภาค หมดยุคแล้ว
ไม่ต้องชนะเราก็ไปได้ และเราไม่จำเป็นต้องแพ้ด้วย เพราะมันไม่เหมือนกัน”

ต้องเลิกคำว่า
แข่ง เปลี่ยนเป็นคำว่า ร่วม
อย่างไร

สังคมดี
เพื่อนดี เราดี คนที่ทำแบบนี้จิตใจจะพอง แล้วก็ฟูอยู่ตลอด กำลังใจที่ได้ ได้จากการทำงาน
การหาเส้นเรื่องของตัวเองให้ได้จะทำให้ไปถักเปียหรือไปทำให้เส้นเรื่องของเพื่อนเหนียวแน่นขึ้นมา”

เปลี่ยนจาก กำแพงตันให้เป็น
บันไดชัน

อาจารย์ดนัยรัฐกล่าวว่าความยากที่กำลังเผชิญ
อย่างไรก็เหนื่อยอยู่ดี และจะยากขึ้นเรื่อย ๆ
“อันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะมาขู่
แต่เพราะเราเก่งขึ้น ปัญหาที่ง่าย ๆ ปัญหานั้นก็ไม่มากล้ำกราย เพราะฉะนั้นโจทย์มีแต่จะใหญ่ขึ้น
ไม่มีเล็กลง บันไดจะชันขึ้นเรื่อย ๆ แต่ขอให้เป็นบันได อย่าให้เป็นกำแพง แปลว่าจะต้องตีโจทย์กำแพงให้กลายเป็นบันได
ไปคนเดียวไม่ได้ก็ไปกับเพื่อน มีพื่อนโอบล้อม มีคนที่มาเกาะเกี่ยวกันไปสู่เส้นชัยที่อยากไป
ไม่ต้องจับมือก็ได้ ให้เพื่อนจับแทน ก็ถึงเราอยู่ดีเพราะมันคือกลุ่มเดียวกัน ใช้เครือข่ายที่ทรงพลัง
และอยู่ให้
ตรง กับ 2 คำ คือ อยู่ให้ ตรงยุค
แล้ว ช่วยอยู่ให้ ตรงปกด้วย”

ถามใจตัวเองว่า
What are you?

“ไม่ใช่ว่าต้องการจะเป็นใคร แต่แท้จริงแล้วร่างเดิมของเราคืออะไร
กลับคืนร่างเดิม แล้วเรามาเจอกัน”

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี
ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล
เปิดเรื่องและส่งท้ายแบบตรงยุค ตรงปก ชัดเจนเช่นเคย

 

ชมเสวนาออนไลน์ Digital
University : Enabling The Smart Society
ในหัวข้อ การจัดการองค์กรอย่างฉลาดในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/videos/839476447898729