ไอทีไม่ใช่เพียงไอที และความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มากกว่าเรื่องไอที

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

เสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ประเด็น Digital University ใช่แค่งานไอที?” ชวนกันมาทำความเข้าใจคำว่า ไอที และงานไอที ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ อันมีรายละเอียดและองค์ประกอบที่หลากหลายยิ่งไปกว่า ‘งานไอที’ กับ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล

‘ไอที’ ความหมายและความสำคัญต่อการเดินหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

 

“ไอทีย่อมาจากคำว่า Information Technology แต่ปัจจุบันไอทีถูกมุ่งเน้นไปที่ T เท่านั้น ส่วน I หรือ Information กลายเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ ตั้งแต่เรื่อง Data จะทำอย่างไรให้ Information นี้ขับเคลื่อนองค์กรได้จริง” 

 

อาจารย์ดนัยรัฐเปิดประเด็น “เพราะสับสนตรงคำว่าสารสนเทศ จึงคิดว่าสารสนเทศจะต้องเป็นไอทีอย่างเดียว จริง ๆ Information ก็คือตัวข้อมูลที่ผ่านกระบวนการนำมาใช้ (Use Case) เช่น Data ที่ผ่านระบบแอปพลิเคชันลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) คำว่า Information จะเรียกว่า ลูกค้า หรือประชาชน แต่หากผ่านระบบแอปพลิเคชันบริหารงานบุคคล (HRM) จะเรียกว่า พนักงาน”

สองฝั่งที่ยังไม่เจอกัน : ธุรกิจมองว่าไอทีเป็นงานที่ผิดพลาดทางเทคนิคได้

‘ไม่ใช่สำหรับปัจจุบัน!’ ถ้าไอทีหยุดอาจเกิดข้อผิดพลาดทางธุรกิจ อาทิ การนำใช้เครื่องมือแพทย์หรือโดรนอย่างผิดพลาด ผลที่ตามมาคือความเสี่ยงถึงชีวิต หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น

ภาพของ Enterprise Blueprint ที่เปรียบได้กับบ้านหลังหนึ่งและสะท้อนว่าใคร ทำอะไร อยู่ตรงไหน งานไอทีนั้นไม่ต่างกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการคัดสรรเข้ามาใช้สอยและอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องชงกาแฟ เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ คนในบ้านจะต้องจัดวางอย่างเหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำว่า ‘ต่างคนต่างทำ’

“คำว่า ‘กระบวนการทำงาน’ คือการดำเนินกิจกรรม หรือ Activities ขณะที่กระบวนการทำงาน คือ Process ซึ่งหมายถึงการเรียงซีรีส์ของ Activities ดังนั้นฝ่ายมีอะไร แผนมีอะไร จึงเขียนกระบวนการทำงาน แต่เมื่อมาถึงเรื่อง ‘Digital Transformation’ กลับปรากฏภาพที่ว่า ‘คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิดหรือวางแผน’ จึงไม่เจอกัน

“เมื่อใช้วิธีสาดไอทีลงไป ใครสะดวกตรงไหนก็ ‘ทำไปเลย’ ปัญหาของ ‘การทำไปเลย’ คือไม่มีเครื่องมือ Reconcile ว่าใคร ทำอะไร ตรงไหน เมื่อจะเปิดไปสู่ Enterprise Blueprint พบว่าตรงนี้ RPA (Robotic Process Software) ฉันก็ RPA ด้วย ตรงนี้ AI ตรงนั้นก็ AI ด้วย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องมาคุยกันเมื่อไร เมื่อจะมาคุยกันแต่ความเร็วไม่เท่ากัน บางทีก็ต้องมีคนรอ ไม่ใช่อยู่ ๆ ไป Implement เทคโนโลยี”

Technology = Business

“เรื่อง Enterprise Architecture (EA) นั้นดูเหมือนเป็นทฤษฎี ดูเหมือนได้เล่ม แต่ไม่ได้การทำงาน หลายครั้งที่โชว์เป็นเดโม เป็นซอฟต์แวร์ นั่นก็คือ EA ดังนั้นคำว่าสถาปัตยกรรมองค์กรก็คือการออกแบบลักษณะหนึ่ง แต่ออกแบบความสัมพันธ์ตั้งแต่เป้าหมายไปสู่การ Implement ไอทีด้วย ดังนั้นองค์ประกอบจึงมุ่งเน้นเรื่องการนำเป้าหมายมาปฏิบัติ และใช้ไอทีเข้าไปสู่การทำงานอย่างมีรูปธรรมและเป็นระบบ”

งานบริการด้านไอทีเกิดขึ้นทุกที่

“หลังจากที่เคยร่วมพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานกลยุทธ์ งานประชาสัมพันธ์ งานนวัตกรรม และภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่จะมุ่งผลิตบัณฑิตเท่านั้น หรือสร้าง Learning Living Platform ของการเรียนรู้ ตลอดจนถึงประเด็นของานที่เป็น Operational Function และ Corporate Administration ทั้งหลาย เมื่อถึงวาระของ ‘Technology & Data’ จึงนำไปสู่เรื่อง Use Case หรือ Context กลายเป็น Information ที่มีทั้งข้อมูลศิษย์เก่า (Alumni) ข้อมูลลูกค้า และหลักสูตร เมื่อ Information ทั้งหมดถูกต้องตรงกัน คำว่า องค์กร จะกลายเป็นคำว่า ‘องค์กรแห่งความรู้’ หาก Information ตรงกันในทุกจุดจะเรียกว่า ‘Knowledge’ ถ้ายังไม่ตรงกัน ‘ถูกของเธอ ถูกของฉัน’ หรือ ‘เวิร์กของเธอ แต่ไม่เวิร์กของฉัน’ จะเป็นแค่ Information และถ้ายังไม่ถูกใช้ เป็นสถานะของสิ่งที่เพียง Digitize เข้าไป หรือมีข้อมูลเข้าไป ก็จะเป็นแค่ ‘Data’”

 

มหาวิทยาลัยดิจิทัลคืองานที่ต้องร่วมไปด้วยกัน

เพราะงานขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัลมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำที่จะต้องพร้อมด้วยภาวะความเป็นผู้นำ และความเข้าใจในเรื่องไอทีและเทคโนโลยีต่าง ๆ ขณะเดียวกันแม้จะมีการนำใช้เทคโนโลยีอย่างมากมาย หากก็ไม่สามารถแทนที่คน หรือ Replace Job นั่นหมายความว่า ‘คน’ ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ขาดไปไม่ได้

การร่วมอบรม Digital University กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาจารย์ดนัยรัฐได้หยิบ Enterprise Blueprint มาเป็นชุดเครื่องมือสำคัญ “ผมก็ใช้คำพูดคำหนึ่งที่อาจารย์ยุคใหม่ถูกอกถูกใจ คือ “เราสะดวกแบบนี้” ดังนั้นการยกร่างพิมพ์เขียวร่วมกัน จะเห็นว่ามีคำว่า ‘ร่วมกัน’ เพื่อให้เราเห็นว่าใคร จะทำอะไร อยู่ตรงไหน และเรามองเห็นกัน ฉะนั้นแต่ละคนเข้ามาร่วมกันทำ ขยับงานขึ้น-ลงว่างานของเธออยู่ตรงนี้ งานของฉันอยู่ตรงนั้น แล้วทำให้เกิดความงงน้อยลง หรือว่างงตรงกัน”

งงตรงกันดีกว่าเข้าใจถูกไปคนละทิศคนละทาง

“คำนี้ไม่แปลกนะครับ เพราะจะได้ Precision ก่อนที่จะได้ Accuracy พอหลายท่านได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้เรื่องพิมพ์เขียว เริ่มที่จะเห็นแล้วว่า มันมีชีวิต มี Living System EdPEx, AUN-QA เขาจะเอากับเราตรงไหน อันไหนไปก่อน เมื่อเราสร้างตัวรันเวย์ รันเวย์ของอาจารย์แต่ละท่านที่เขาบอกว่าเขาสะดวกแบบนี้ เช่น อาจารย์ท่านหนึ่งจะทำเรื่องของเซิร์ฟเวอร์ไวไฟ อีกท่านหนึ่งขอทำนวัตกรรมในเรื่องของงานนักศึกษา อีกท่านหนึ่งทำประชาสัมพันธ์องค์กร ในขณะที่อีกท่านทำเรื่อง PDPA อีกท่านหนึ่งทำเรื่องหลักสูตรปริญญาตรี อีกท่านหนึ่งทำหลักสูตรปริญญาเอก นั่นหมายความว่าไวไฟต้องเข้าไปช่วยทุกที่”

ใครสะดวกแบบไหน ขึ้นรันเวย์

“พอขึ้นปุ๊บ เราก็จะเห็นว่าใครมีแผน ใครไม่มีแผน องค์กรยุคใหม่มีความเป็น Agile กันมากขึ้น ใครอยู่ในช่วงนี้ แล้วขยับได้ไหม ขยับได้ องค์กรยุคใหม่จะลดความเป็น ‘พระบิดา’ เช่นที่เห็นในข่าว ให้กินน้ำอะไรก็กิน น่ากลัวนะครับ เหมือนกับว่าเราไม่มีข้อมูล ต้องทำตามเขาไปก่อน แต่ตอนนี้ทุกคนคุยกันได้

เขาเริ่มคุยอะไร… เขาเริ่มคุยค่าเป้าหมายกัน

อันที่ 1 กำหนดเป้าหมาย เป้าหมายนั้นจะดีหรือไม่ดี อย่างไรก็ต้องมี เพื่อทำให้ทุกคนเล็งไปในจุดที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ทั้งนี้การสร้างความร่วมมือในยุคที่อยู่บนดิจิทัล ที่ภาษาทั่วไปเรียกว่า Business Metamodel แต่ปัจจุบัน Business เป็นคอขวด หรือมี PM รู้อยู่คนเดียว แล้วไปตามทุกคนมาใส่ร้อยกว่าบรรทัด เป็นต้น Business ที่เป็นลักษณะบล็อกเชน แต่ละคนรู้ว่างานตัวเองจะขับเคลื่อนอะไร ทำไมและอะไรไม่ตรงกับคนอื่น ๆ

อันที่ 2 อาจารย์ดนัยรัฐอธิบายว่า ปกติแล้วคนมักจะชอบดู Gantt Chart หรือดูที่ไทม์ไลน์ แต่ในวันนี้เป็นช่วงเวลาที่อยาก ‘กดปุ่มรีสตาร์ต’ ให้ถูกต้อง จึงจะต้องมาดูค่าเป้าหมายเสียก่อน หากทิศที่เป็นค่าเป้าหมายยังไปคนละทิศคนละทาง ต่อให้วิ่งกันไปไกลแค่ไหน ระยะที่จะเกิดการห่างจากกันจะยิ่งไกลออกไป

แต่ละคนสะดวกแบบนี้ คนนี้ไม่สะดวก เพราะไม่มีแผนมา ไม่มี ไม่สะดวก

“ใครสะดวกแบบไหน เหมือนดวงดาวที่เอาองศามาชนกัน แล้วทำให้เกิดหมู่ดาวที่เคลื่อนที่ไปด้วยกัน มหาวิทยาลัยบังคับกันไม่ได้ ทุกคนเป็น Autonomous ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ Autonomous นี้มีความยืดหยุ่น แต่สามารถตั้งคำถาม และสามารถที่จะเห็นภาพรวมไปด้วยกันได้นั่นเอง

“ตอนนี้ก็มีหลายที่เริ่มที่จะนำใช้แพลตฟอร์ม ผมใช้คำว่า ‘ฉลาด ๆ’ ที่เรียกว่า ‘ทำ 1 ได้ 9’ แปลว่า จากแต่ละคนสะดวกแบบนี้ มันยังสามารถเอามาพล็อตได้เลย ที่ท่านสะดวกแบบนี้ รวมแล้วใช้เงินกี่บาท อดีตบอกอย่ามาดู เป็นเรื่องปิดบัง

ปัจจุบันโควิดผลักดันให้เกิด Remote Worker และต่อไปจะเกิด Remote Customer

“แล้วท่านจะไม่ใช้การทำงานอยู่บน Digitalize ได้อย่างไร นอกเหนือจากนี้ยังมองเห็นด้วยว่าใครที่มักกล่าวว่าติดกฎระเบียบอะไร แต่ละคน 1 คน 1 งาน เขียนออกมาเลย บรรทัดไหนที่ติดเรื่องอะไร กฎอะไร เขียนให้ชัด เมื่อรวบรวมแล้วจะได้นำเข้าสภามหาวิทยาลัย ไม่ต้องคุยกันแบบกระจัดกระจาย”

ความเป็น Autonomous แต่ละคนมีเส้นทางชีวิตของตัวเอง เมื่อเขียนออกม OKR แต่ละคนก็เซตขึ้นมา แล้ว Reconcile กันและกัน ไม่ใช่คุยแต่กับหัวหน้าเท่านั้น

ทำอย่างไรให้ครบทั้งมหาวิทยาลัย

เช่นที่ ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเป็น Journey ดังนั้นจะ ‘ไม่มีวันครบ’ ทั้งมหาวิทยาลัย หากจะไปในส่วนที่สำคัญก่อน ได้ใช้ก่อน และเกิดผลการดำเนินงานก่อน

จาก Technology Adoption Curve โดย Everett M. Rogers เจ้าของทฤษฎีและหนังสือ Diffusion of Innovations ได้แบ่งกลุ่มคนออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Innovators, Early Adopters, Early Majority, Late Majority และ Laggards เช่นเดียวกับบุคลากรในรั้วมหาวิทยาลัยที่อยู่ในแต่ละกลุ่มที่แตกต่าง “เราจะทรีตเมนต์เขาเหมือนกันไม่ได้ บางคนมีกฎหมายลงโทษแล้วก็พยายามเลี่ยง ไม่ทำ แต่บางคนแค่บอกว่าทำแล้วดี ไปด้วยกัน ก็กระโดดเข้ามาเลย” อาจารย์ดนัยรัฐกล่าว “หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า EdPEx แล้ว EdPEx มีองค์ประกอบอะไร องค์ประกอบหลักของ EdPEx นั้นเป็นหมวด ๆ เมื่อทำ Enterprise Blueprint เราจะเห็นว่ามี Early Adopters หรือมีคนไปก่อน กล่าวคือ จะมองเห็นว่าหมวดไหนที่จะขึ้นก่อน ขึ้นบนงานอะไร ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหยิบผลการดำเนินงานของคนที่ ‘พร้อมร่วมกัน’ เหมือนชัตเทิลบัส ไปรอบที่ 1 สำหรับใครที่ไม่พร้อม อาจจะขึ้นรอบที่ 20”

องค์กรหรือมหาวิทยาลัยจะเกิดผลการดำเนินงานเป็นระยะที่ทุกคนมีความร่วมไม้ร่วมมือกัน และเดินหน้าไปด้วยกัน แน่นอนว่าจะภูเขา หรือกำแพงเมืองจีน หรือกรุงโรม ไม่ได้สร้างขึ้นในวันเดียว

“มันจะค่อย ๆ ทยอยไป ความคาดหวังที่ว่า ChatGPT จะมาแทนทุกอย่างนั้นเป็นไปได้ยาก มันเก่งไหม ‘เก่ง’ แต่มันจะ Replace อะไร Replace งาน ไม่ใช่ Replace คน

“คนต้องการความเข้าอกเข้าใจ แล้วก็เดินไปด้วยกัน คนยังมีประโยชน์อีกเยอะครับ”

 

 

ชมเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ในหัวข้อ Digital University ใช่แค่งานไอที?” ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/videos/8969143506493365

https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/