เมดคิวรี ผู้ให้บริการ Health Tech Solution แชร์ประสบการณ์ด้านการแพทย์และสุขภาพระดับชั้นนำที่เติบโตขึ้นภายใต้การนำใช้เทคโนโลยี และ AI

ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” ที่จัดขึ้นที่ เฟซบุ๊กเพจ Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งสะท้อนหลากมิติจากองค์กรที่มีความแตกต่าง ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแง่ความต่างด้านธุรกิจ ฯลฯ อันนำไปสู่การพัฒนาของภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมและเต็มรูปแบบ ในครั้งนี้ คุณอานนท์ ศิริพุทธิชัยกุล Health Tech Manager จากบริษัท เมดคิวรี จำกัด (MEDcury Co., Ltd.) ผู้ให้บริการโซลูชันด้านการออกแบบระบบ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการดูแลผู้ป่วยและการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ ครอบคลุมครบทั้งระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาล ระบบการแลกเปลี่ยน เชื่อมต่อ วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ ภายใต้เทคโนโลยีการรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้

การนำใช้ AI ในมิติของ Health Tech

เมื่อเป็นคนสาย Health Tech คุณอานนท์จึงสะท้อนให้ฟังว่า AI มีผลกระทบกับชีวิตคนเรามีหลายระดับมาก เช่น ระดับ AI ทั่ว ๆ ไป คือ Rule-Based ต่าง ๆ หรือ Machine Learning หรือที่ลึกไปกว่านั้น คือ Deep Learning ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กระทบกับเทคโนโลยี Health Tech ทั้งหมด “ที่ผมฉายให้เห็นเป็นแค่พาร์ตเดียวเท่านั้น จริง ๆ AI มีผลกระทบ หรือเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร หรือเกิดขึ้นภายใน Health Industry ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการช่วย Suggest คุณหมอ ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่เป็น Rule-Based ที่เช็กธรรมดา แต่ AI สามารถเรียนรู้ได้”

คุณอานนท์เล่าว่าเมดคิวรีมีโปรเจกต์ที่ร่วมทำงานกับโรงพยาบาลใน การทำ Genetic Testing ซึ่งนำข้อมูล DNA ของคนไข้มาประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ในอนาคต “สะท้อนว่า AI เป็นมากไปกว่าเรื่องของการรักษา แต่ไปถึงเรื่อง Wellness การดูแลคนไข้นอกโรงพยาบาล เรื่องการดูแลคนที่เรารัก ไปจนถึงเรื่อง Prevention เพราะฉะนั้นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ นอกจากจะเป็นการเสริมศักยภาพของโรงพยาบาลแล้ว อีกแง่มุมหนึ่งคือช่วยให้คนมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”

คุณอานนท์กล่าวต่อไปถึง เรื่อง Automated Process ว่ามีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล อาทิ การปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงาน การส่งเบิก การเงิน การนับสต๊อก ฯลฯ “เรื่องเหล่านี้มีการทำ Automated Process อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น OCR (Optical Character Recognition หรือกระบวนการในการเปลี่ยนข้อความที่อยู่ในรูป) NLP (Natural Language Processing หรือเทคโนโลยี Machine Learning ที่ประมวลผลภาษาธรรมชาติ) หรือ RPA (Robotic Process Automation หรือกระบวนการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติผ่านซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม) ฯลฯ เรื่อง Automated Process เข้ามาช่วย Improve Process ในการทำงาน แม้อาจจะมีคำถามว่าทำไมรงพยาบาลถึงต้อง Improve Process เยอะแยะมากมาย ก็เพราะในปัจจุบันเรื่องสังคมผู้สูงอายุมี Impact กับประชากรอย่างมาก ซึ่งส่งผลแม้กระทั่งกับผู้ให้บริการ เพราะฉะนั้นเมื่อมี Impact กับการที่ผู้ให้บริการที่ให้บริการครอบคลุมคนในประเทศ การมี Automated Process เข้ามาจึงทำให้โรงพยาบาลสามารถ Operate ได้อย่างทันท่วงทีและลดข้อผิดพลาดในการทำงาน”

คุณอานนท์เล่าถึง Vital Sign Measurement ที่ใช้กล้องวัดอุณหภูมิ (Vital Sign Blood Pressure) โดยไม่ต้องใช้เครื่องวัดแบบ Medical Devices ถือว่าเป็น Trend Shifting ต่อกระบวนการทำงานของโรงพยาบาล ซึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่ได้มาแทนที่ของเดิมที่ใช้กันอยู่ แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นบริการที่เป็นช่องทางหรือวิธีให้การรักษาหรือการดูแลคนไข้ที่มากขึ้น

เรื่องสุดท้ายคือ การวินิจฉัยโรค (Diagnosis) ซึ่งคุณอานนท์อธิบายว่าล่าสุดมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บและบันทึกข้อมูลของการวินิจฉัยโรคพื้นฐานทั่วไป เพื่อมาช่วยในการทำ Telemedicine “ตรงนี้เป็นตัวช่วย Support การวินิจฉัยของแพทย์ เพราะหลาย ๆ ครั้งโรคบางโรค หรือสถานการณ์บางสถานการณ์ แพทย์ก็ต้องการการ Support เป็น Second Opinion หรือต้องกาแพทย์ที่เป็น Senior มา Support ในการวินิจฉัยโรค เทคโนโลยีนี้จึงเป็น Pros & Cons และเป็น Trend Shifting ของ Health Industry เลยทีเดียว”

เข้าใจกับความเหมือนและต่างระหว่างคนและ AI

เมดคิวรีเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึง AI ตลอดมา ทางบริษัทจึงก้าวข้ามเรื่องการเตรียมความพร้อมหรือการต้องรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยี และ AI อย่างที่หลาย ๆ องค์กรต้องเผชิญ พร้อมกันนี้คุณอานนท์จึงอธิบายว่าจริง ๆ แล้ว AI กับคนนั้นไม่ได้ต่างกันมาก หากทำ ความเข้าใจ กับทั้ง คน และ AI’ สามารถแบ่งปัจจัยได้เป็น ‘3 ปัจจัยหลัก ๆ ที่ไม่ต่างกัน คือ 1) Knowledge 2) Reason และ 3) Creativity แต่ Knowledge ของคนนั้นมาจาก Experience ซึ่งการที่จะได้ Knowledge มา ของคนจะกว้างกว่า ส่วน Knowledge ของ AI คือข้อมูลที่มีคนป้อนเข้าไปเพื่อ Specific เป็น Narrow

แม้กระทั่งเรื่อง Reason ของคนมีหลาย Factor มากอีกเหมือนกัน เช่น เชื้อชาติ วัฒนธรรม สังคม ภูมิหลังที่หล่อหลอมระหว่างเติบโต หรือแม้แต่ภูมิหลังและสังคมของคนเป็นพ่อแม่ ฯลฯ ส่งผลต่อการตัดสินใจ และ Reason ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เป็นการสร้างองค์ประกอบที่หลากหลาย ทว่าหากเป็น Reason ของ Machine Learning จะเป็น Rules ที่ได้รับการติดตั้งโปรแกรมไว้

ส่วนเรื่อง Creativity เห็นได้ชัดว่าคนมี Flexibility และ Independent สูงมาก ขณะเดียวกัน คนก็มี Bias มากเช่นกัน แต่ Creativity ของ AI นั้นไม่มีเรื่องเหล่านี้ AI ทำงานตาม Data ที่ได้รับการป้อนเข้าไป ขอบเขตของการทำงานจึงได้รับการกำหนดไว้ในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้สิ่งที่คุณอานนท์ทั้งใส่ใจ ให้ความสำคัญ และอยากเพิ่มให้กับส่วนของ คน คือ จริยธรรม (Ethics) ซึ่งเป็นเรื่องที่ AI ไม่มี และนี่อาจเป็นสิ่งที่ว่าเมดคิวรีเตรียมความพร้อมอย่างไรกับบุคลากรภายในองค์กร แน่นอนว่าเมดคิวรีเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านการออกแบบระบบ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการดูแลผู้ป่วยและการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพชั้นนำ เพราะฉะนั้นนอกจากเรื่องบุคลากร และเทคโนโลยี สิ่งสำคัญก็คือเรื่อง Moral, Fairness, Responsibility, Critical Thinking ฯลฯ ที่จะต้องเตรียมให้กับบุคลากรที่จะเข้ามาสนับสนุนการใช้งาน AI เพื่อตอบโจทย์การสนับสนุนกลุ่มลูกค้าของบริษัต่อไป

Fear is not real. It is a product of our imaginations.

คุณอานนท์กล่าวว่า AI จะเก่งหรือจะฉลาดขึ้นได้ถ้ามี Data หรือมีคนพัฒนา คีย์เวิร์ดอยู่ตรงคำว่า เก่งฉลาด ซึ่ง 2 คำนี้ ไม่ได้บอกว่า AI เก่งหรือฉลาดอย่างไร และอาจจะเก่งทางด้านดีก็ได้ เก่งด้านทางด้านไม่ดีก็ได้

“คำกล่าวที่บอกว่า Fear Is Not Real มันเป็นแค่ Imagination ของเราเท่านั้น เช่น ความกลัวที่ว่า AI นั้นทำงานอย่างไร มันเป็น Blackbox มันยุ่งยาก เอาข้อมูลเราไปทำอะไร หรือแม้กระทั่งกลัว AI จะมาแทนที่เราหรือเปล่า ฯลฯ มันจะมีความแหยง ๆ กลัว ๆ

“คนที่ Reflect หรือ Response กับ AI มี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1) กลุ่มที่กลัว 2) กลุ่มที่สุดลิ่มทิ่มประตู ฉันจะไปกับ AI ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ”

คุณอานนท์เล่าถึงการทำงานเมื่อเข้าไปให้คำปรึกษากับโรงพยาบาล และองค์กรต่าง ๆ พบว่า 1) People 2) Process และ 3 Technology มีความสำคัญ “คนสร้าง Process ขึ้นมา สร้าง Flagship ขึ้นมา สร้าง Vision ขึ้นมา จากนั้นคนทำให้เกิด Process ในการทำงาน Process ในการทำ Business Process ในการ Partnership อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องเทคโนโลยี คนสร้าง Process แล้วนำเทคโนโลยีมาตอบสนอง Process ของเขา

“ประเด็นอยู่ตรงนี้ เทคโนโลยีที่เขาทำขึ้นมาเพื่อตอบสนอง Process นั้นถูกต้องแล้วจริง ๆ หรือไม่ เขาต้องการเทคโนโลยีนั้นจริง ๆ หรือเปล่า เทคโนโลยีนั้นเหมาะกับเขาแล้วหรือยัง

“เมื่อเกิดประเด็นนี้ขึ้นมา เวลาเรานำ AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ มาตอบสนอง Process ที่ยังก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Process ตรงนี้ถูกหรือผิด เพราะคนเป็นคนสร้าง Process นี้ขึ้น สุดท้ายแล้วก็จะไปเจอปัญหาที่ People และ Flagship จะหาย… คนต่อต้าน Mindset ไม่เปิดรับ

“เพราะฉะนั้นการเข้าไป Adoption AI ใน Organization ต่าง ๆ สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ คน ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าจะ Fail หรือไม่ และ ถ้า Flagship หาย อื่น ๆ ก็จะหายหมด Process ไม่เกิด เงินไม่มา เทคโนโลยีไม่มี นี่เป็นสิ่งที่พึงระวัง”

ชมเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ในหัวข้อ การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ได้ที่นี่ https://fb.watch/m1A6IyTkg8/?mibextid=aE13LE