ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข Head of IT Enterprise Architecture
ถ่ายทอดมิติการใช้ AI ในชีวิต ถึงภาคอุตสาหกรรมและองค์กรหลากรูปแบบ
ที่ต้องผ่านกระบวนการออกแบบวางแผนกลยุทธ์ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ฯลฯ
อีกหนึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนสำคัญที่ให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์และทรรศนะในการเสวนาออนไลน์
Digital University: Enabling the
Smart Society ครั้งที่
23 ประเด็น “AI
– RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา”
ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันคลังสมองของชาติ ผ่านช่องทาง เฟซบุ๊กเพจ
Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล คือ ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข Head
of IT Enterprise Architecture
ประยุกต์ AI สู่การนำใช้จริง
จากประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเรื่อง Enterprise
Architecture (EA) หรือ Data Analytic ดร.ศุภเชษฐ์กล่าวถึงมุมมองการทำ AI ว่าโตขึ้นจากการนำประโยชน์ของ
Data มาใช้ “อยากปูพื้นว่า Narrow AI นั้นเป็นยุคแรก ๆ ที่
Learn by Objectives ของคนที่ให้ Input
ซึ่งการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง ๆ ควรเริ่มต้นจากมุมมองการใช้งานของตัวบุคคล
ประโยชน์อย่างแรกคือ Productivity ที่ลดเรื่องเวลา เช่น
เมื่ออยากจะรู้อะไรก็ถามจาก ChatGPT
และมันก็จะประมวลผลได้เร็วมาก” นอกจากนี้ ดร.ศุภเชษฐ์กล่าวถึงส่วนของชีวิตประจำวันอื่น
ๆ ดังที่มีวิทยากรท่านอื่นได้กล่าวไว้ในการเสวนาครั้งนี้ อาทิ เรื่องการออกแบบ
ที่สามารถใช้ AI ช่วย เพียงบอกคุณสมบัติที่ต้องการ AIก็สามารถแสดงข้อมูลและผลได้
“อีกเรื่องคือเริ่มมีการนำ AI มาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ
เรื่อง Aged Society เป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ
ผมมองว่าเรื่องชีวิตครอบครัว และชีวิตส่วนบุคคล สามารถนำ AI มาประยุกต์ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งเลย
เพราะช่วยสร้างความปลอดภัย บวกกับทำให้ชีวิตของคนใช้งานสบายขึ้น”
จากการใช้งานส่วนบุคคลสู่งานระดับองค์กร
ดร.ศุภเชษฐ์อธิบายว่าองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับบางเรื่องต่างกันไป
อาทิ องค์กรที่มุ่งเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม และเคยทดลองใช้ AI มักนำ AI มาทำ 2-3 เรื่อง
เช่น เรื่องแบตเตอรี่เพื่อดู Preventive Batteryในการลดการพ่นก๊าซ
Co2 ไม่ให้เกิดมลพิษ ไปจนถึงนำมาประมวลผลเพื่อบอกอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
เป็นต้น
นอกจากนี้เรื่องพื้นฐานที่หลายองค์กรนำ AI มาใช้ คือ ใช้ AI ทำ Call Center หรือแทนการรับสายที่เป็น General Questions แนะนำการใช้งาน
หรือตอบปัญหา ฯลฯ
“เบสิกคือ Chatbot ซึ่งเป็น Simple ของ AI
ยุคแรก ๆ ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไป แล้วช่วยลดงานบางส่วนให้เกิดการไม่ต้องรอสาย
ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีข้อมูลเฉพาะทางที่ต้องสอน Bot และดังที่กล่าวกันไปแล้วว่า
AI ก็ไม่เก่งเกินมนุษย์ เพราะว่าการ Learning ของ AI เหมือนเด็กทารก ค่อยนำข้อมูลใส่เข้าไปเรื่อย
ๆ จน AI มีความรู้เฉพาะทางมากขึ้น
จนช่วยเราจัดการปัญหาที่เกิดบ่อย ๆ ที่ AI เรียนรู้ไปเรื่อย
ๆ” ดร.ศุภเชษฐ์สะท้อนมุมมอง Productivity ในเชิงการทำงาน
สุดโต่งขึ้นไปอีก
“ที่กำลัง Study ในองค์กรจะมีคำว่า
Autonomous ประกบคู่กับ AI เสมอ ฝั่ง Industry ส่วนใหญ่จะมีคำว่า Autonomous Network งานอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะเป็น
Autonomous Car ซึ่ง Autonomous Car จะ
Advance ไปในลักษณะที่ไม่ต้องมีคนขับ ส่วนงานที่จะนำมาใช้ประโยชน์ใน
Industry ปัจจุบันคือ Autonomous Network ซึ่งมีเลเวลว่าความฉลาดที่จะนำมาทำในแกนไหนบ้าง เช่น เลเวลนี้จะนำคนมาทำงานร่วมกับ
System ถ้าเป็นเลเวลนี้ก็จะเป็น System
ล้วน ๆ”
ดร.ศุภเชษฐ์กล่าวว่า Conceptual ของ Autonomous Network เริ่มตั้งแต่จุดที่ยากที่สุดคือ
Intent หรือ Requirement ของคนที่อยากให้ระบบ
AI ทำงานให้เกิด Autonomous ซึ่งเป็นเลเวลสูงสุดหรือนำ
AI มาแทนคนร้อยเปอร์เซ็นต์ หากไม่น่าจะทำได้ในขณะนี้ “การจะรู้ว่า Intent คืออะไรและทำ
Auto Intent ได้ คือเลเวลสูงสุด รองลงมาเป็นเรื่องการทำ Decision
Making และรองมาอีกคือเรื่อง Analysis
และเรื่องการเห็นภาพว่าจะนำไปใช้กับงานอะไรบ้าง ซึ่งเป็น Process ของ AI แต่ละเลเยอร์”
ความเป็นไปได้ว่า AI จะทำ
Autonomous Network หรือ Autonomous Operation ขึ้นอยู่กับ 2-3 ปัจจัย เช่น 1) ความสามารถของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 2) การดูเรื่องของ
Data ที่มีอยู่ 3) การตั้งเป้าหมาย “อุปกรณ์ต้องเอื้ออำนวย
ไม่ใช่ว่าเขียน AI เสร็จแต่อุปกรณ์ไม่มี Capability ให้ทำอย่างที่ AI อยากสั่งให้ทำจากที่ AI Decision หรือที่ AI คิดแล้วว่าควรทำอย่างนั้นได้
นี่คือสิ่งที่ปัจจุบันทาง Industry พยายามนำ AI เข้ามาเป็น Closed Loop ให้มากที่สุด
ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ Device และระบบ ให้เห็นภาพคร่าว ๆ
ว่านี่คือสิ่งที่เป็น Used Case
“Data ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะกระบวนการกว่าที่จะมาถึง AI ที่เป็น Predictive ได้วันนี้ก็คือ Data ทุกองค์กรมี Data เฉพาะทางของตัวเอง เพราะฉะนั้นการเตรียม Data การเก็บ
Data ก็ต้องมีความ Secure ข้อมูลแต่ละข้อมูลมีความเป็น
Confidential ของตัวเองไม่ว่าจะเป็น Customer Data หรือ Operational Data ก็ตาม
“หลังจากที่ได้
Data
แล้ว Used Case ที่เรากำหนดคือ Goal ซึ่ง
Goal สำคัญสุด เช่นที่บอกว่าเรื่อง Intent ที่เราอยากให้
AI ทำอะไร เพราะฉะนั้นถ้าไม่มี Data
และ Goal ก็จะทำ AI แบบสะเปะสะปะ
และไม่ได้กลับไปสู่ตัวที่เราต้องการ”
ดร.ศุภเชษฐ์กล่าวว่าทั้งหมดนี้เป็นการเสนอให้เห็นภาพว่าถ้า
AI เปลี่ยนไปเป็น RI Conceptual Concept Thinking จะมาจากเรื่องการตั้ง Data ซึ่งตั้งต้นไปกับ
Goal ที่แต่ละบริษัทมี Goal ต่างกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นต่อประเด็นการนำ
AI ไปใช้ทำอะไรในชีวิตส่วนบุคคล จนถึงองค์กร และแนวคิดการทำให้ AI
เป็น RI ที่มี Conceptual อยู่แล้ว คือ การตั้ง Goal และ Data ก่อนนำไปใช้ประโยชน์นั่นเอง
มุมมองจากผู้นำเพื่อผู้นำ
ดร.ศุภเชษฐ์แชร์ความเห็นจากการทำงานในระดับ Leadership ขององค์กร คือเรื่อง Leadership Cascade ซึ่งก่อนอื่นใดต้อง Study Brainstorming ว่าจะทำเรื่อง
AI กันรูปแบบไหน เมื่อพูดคุยกันเรียบร้อยแล้วในมุมมองภาพรวมขององค์กร
จึงมาดูว่าต้องการความรู้จากแต่ละระดับของ Leadership
ประมาณไหน และแน่นอนว่าเรื่องของ Basic Foundation
เป็นสิ่งสำคัญ “เพราะฉะนั้นแต่ละ
Tiering
ของผู้บริหารมี Knowledge Foundation ไม่เท่ากัน ดังนั้นในแต่ละ
Area อาจจะต้องมาปูพื้น ปรับพื้นให้เห็นภาพ Alignment ตรงกัน หลังจากนั้นจึง Adopt ว่าจริง ๆ เราจะตั้ง Strategic
ในการที่จะใช้ AI ไปในทิศทางไหน ที่เป็น
Focus Area ซึ่งไม่ควรจะมีจุด Focus Area เยอะ
เพราะถ้าไม่คุยกันในภาพรวมก่อนก็จะฟุ้ง และจะทำให้การใช้ AI สะเปะสะปะ
นี่คือจุดที่เป็น Fundamental ในมุมมองของ Leadership Cascade
“หลังจากผู้บริหารแต่ละเลเยอร์เข้าใจ
Basic Knowledge ของการใช้งาน AI ว่าควรนำไปใช้ในเรื่องไหน
ด้วยวิธีการแบบไหน จะถูก Adoption ลงไปอีกเลเยอร์หนึ่ง คือ
เลเยอร์ของ Working Team ซึ่งในการทำงานมีวิธีหนึ่ง คือ ผู้บริหารร่วมใน
Activity มีการจัดเหมือน Bootcamp
มีโจทย์ที่อาจจะยากหรือไม่ยาก มีการแข่งขัน หา Competition”
นัยของ Activity คือ
ความมีส่วนร่วมอันนำมาซึ่งไอเดีย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ดร.ศุภเชษฐ์เสริมว่าเพราะ
Learning Based จากสิ่งที่บริหารจัดการ จุดที่จะไอยู่ข้างล่าง
ผู้นำคือคนวางกลยุทธ์ และเข้าใจในสิ่งที่สุดท้ายว่าจะทำอะไร หลังจากนั้นการสร้าง
Environmental ให้เกิดการทดสอบ ทดลอง
ให้ไปในทิศทางเดียวกันตามโฟกัสที่จะลงไป “ถ้าจะให้องค์กรกลายเป็น Data Driven หรือ AI Driven
Organization ก็เป็นมุมมองที่จะทำให้คนในองค์กรมีเวที มีสนาม
เพื่อทดสอบ ทดลองสิ่งที่เป็น Basic Foundation ก่อนจะไปเป็น
Advanced Use Case By Strategic Focus Areas
“โจทย์แรกคือเครื่องมือ
วันนี้เครื่องมือง่ายแล้ว มีหลายคนทำแพลตฟอร์มเยอะแยะมากมาย เช่น Google ที่ทำ Google
Cloud และมี AI ซึ่งก็คือ Generate AI ของ Google อย่าง Bard เป็นต้น
เขามี 2 โมดูลเสมอ โมดูลหนึ่งใช้สำหรับ Consumer
Based ซึ่งต้องระวังดี ๆ
เพราะมีข้อมูลที่มาจากทุกสารทิศที่ป้อนเข้าไป กับอีกโมดูลหนึ่งคือ Secure
For Enterprise เขาจะทำ Classer สำหรับ
Enterprise Data Only เพราะฉะนั้นข้อมูลตรงนี้ไม่หลุด ไม่ไปไหน
อยู่ภายใต้ Enterprise Data Domain เท่านั้น
ขึ้นไปใช้เครื่องมือบนนั้นก็จะเร็ว แต่ถ้าใครมีศักยภาพทำแพลตฟอร์มเอง ลุยเอง ทำเอง
ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ที่ว่าต้องจ้างคนในกี่เลเวลถ้าต้องไปทำถึงเลเวลนั้น
ก็จะมีโจทย์ว่าต้องใช้คนให้เหมาะสม
“ในมุมมองผมคือ Cascade Model และ Cascade นี้เริ่มจาก
Alignment แล้ว Build Knowledge สร้าง Activities หลังจากนั้นจึง Drive ไปสู่ Specific
Direction ตามที่ Management ต้องการ”
ปัจจัยการใช้ AI อย่างคุ้มค่า
ปลอดภัย
“แน่นอนว่าต้องมองที่
‘เป้าหมาย’
ก่อน
เพราะจะทำอะไรอย่างไรก็มีเงินมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเป้าหมายต้องมาก่อนแล้วค่อยเอาเงินลง”
เมื่อเป้าหมายชัดเจน
สิ่งอื่นย่อมบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ
จากปัจจัยที่ 1 ดร.ศุภเชษฐ์กล่าวว่าอันดับรองลงมาของตัวเกื้อหนุนให้เป้าหมายสำเร็จ
คือ People เพราะเครื่องมือ เทคโนโลยีในทุกวันนี้มีให้ใช้
ทั้งรูปแบบฟรี รูปแบบ Trial ฯลฯ มีระยะเวลาของการใช้เครื่องมือ
ดังนั้นเครื่องมือยังเป็นปัจจัยที่ตามมา “แต่ People ที่ตอนนี้มีทั้ง People
ในมุมมอง Mindset คือในโลกทุกวันนี้มี 2 กลุ่ม อยู่กับเรา และไม่อยู่กับเรา ถึงจะจ่ายเขาแพง แต่แป๊บหนึ่งเขาก็ไป เพราะฉะนั้นเขาต้องทำงานให้มีความสนุกสนาน
อันนี้คือสิ่งที่ผมเชื่อว่า People ในอนาคต เขาอยู่กับเรา
อยู่กับบริษัท เขาอยู่ด้วยความ Enjoy และ Fun นั่นคือสิ่งที่ People Keep อยู่ในตัว
Environment นั้น ตรงนี้ต้องลองดูว่าเราจะ Keep People และ Mindset ของเขาอย่างไรถึงจะทำให้เขาคิดว่าเขาจะ
Contribute ให้ตอบโจทย์เป้าหมายได้
นั่นคือสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นคีย์ หรือปัจจัยสำคัญ
“ข้อคิดสุดท้ายคือใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ แต่ไม่ให้ AI มาหลอกเรา นี่คือสิ่งที่ต้องพึงระวัง ว่าทำได้ทุกอย่าง แต่อย่าโดน
AI หลอก จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม”
ชมเสวนาออนไลน์ Digital
University : Enabling The Smart Society ในหัวข้อ “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” ได้ที่นี่ Https://Fb.Watch/Ltn4pfk3qt/?Mibextid=Cr9u03