ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องไฮไลต์ก็คือ ‘เครื่องมือ DMM กับการพัฒนาประเทศในนิเวศดิจิทัล’ ที่ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติฉายภาพไว้อย่างคมชัด พร้อมย้ำแบบเน้น ๆ กับบทบาทมหาวิทยาลัยไทยในมิติของการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ว่าจะมีส่วนพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศอย่างไร

 

DMM กับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ

จากปาฐกถาของ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวง อว. ชี้ให้เห็นว่าเวลานี้เป็นช่วงของการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีคำว่า ‘ดิจิทัล’ ใช้อยู่ในแทบทุกยุทธศาสตร์ “เมื่อผมได้รับเชิญมาพูดที่เวทีนี้ ผมตั้งคำถามก่อนเลยว่ามหาวิทยาลัยไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาประเทศ” ดร.วันฉัตรเริ่มต้น จากนั้นจึงยกภาพของการใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการขับเคลื่อนประเทศที่หน่วยงานภาครัฐใช้ดำเนินการให้เห็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือทำ มีจัดประเมินผล และสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนาประเทศ “วงจรฯ PDCA ถือเป็นกรอบใหญ่ในการพัฒนาประเทศตอนนี้ และเครื่องมือ DMM หรือความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ PDCA เดินต่อได้”

ก่อนเข้าเรื่องเครื่องมือ DMM (เครื่องมือสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งพัฒนาโดยอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล อ้างอิงจากการสร้างสถาปัตยกรรมองค์กรดิจิทัล TOGAF Framework และประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐของไทยให้นำไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลมาแล้วหลายหน่วยงาน) ดร.วันฉัตรอธิบายว่า วันนี้ประเทศไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 60 มีมาตรา 65 ที่กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ถือเป็นแผนระดับที่ 1 เป็นตัวคลุมการวางแผนของประเทศ มีเป้าหมายระยะยาว มีแผนระดับที่ 2 อยู่ 4 แผนด้วยกัน ได้แก่ 1) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2) แผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งแม้ว่าแผนนี้จบสิ้น แต่การปฏิรูปยังคงดำเนินต่อไป อาทิ การทำให้ภาครัฐไทยดำเนินการบนดิจิทัล ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ลดดุลยพินิจ เพิ่มความโปร่งใส ฯลฯ หลาย Big Rock ในแผนปฏิรูปประเทศ และยังคงดำเนินต่อไปให้เกิดความยั่งยืน 3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถือเป็นตัวธงที่จะนำการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน และ 4) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

PDCA สำหรับแผนระดับที่ 1 และ 2 นั้นมีแล้ว เป็นทางการแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้เป้าหมายของแผนระดับที่ 1 และ 2 เกิดขึ้นจริง

ในวันที่ ‘ดิจิทัล’ เป็นทั้งเครื่องมือ เป็นทั้งเป้าหมาย มหาวิทยาลัยไทยซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล จึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนแผนระดับ 3 ซึ่งได้แก่ แผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติราชการ และแผนอื่น ๆ เพราะฉะนั้นเครื่องมือ DMM มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แผนต่าง ๆ โดยเฉพาะแผนเชิงปฏิบัติเกิดขึ้นจริง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น

Digital University กับการผลักดันทิศทางประเทศ

ดร.วันฉัตรขยายภาพแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งอยู่ภายในแผนระดับ 2 ว่ามี 4 มิติ กับ 13 หมุดหมาย ได้แก่ มิติที่ 1 ภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วยหมุดหมายที่ 1) เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง 2) การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน 3) ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สาคัญของโลก 4) การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 5) ประตูการค้าการลงทุนและโลจิสติกส์ 6) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัล มิติที่ 2 โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยหมุดหมายที่ 7) SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง แข่งขันได้ 8) พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ 9) ความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคม มิติที่ 3 ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยหมุดหมายที่ 10) เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ 11) การลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มิติที่ 4 ปัจจัยการผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ประกอบด้วยหมุดหมายที่ 12) กาลังคนสมรรถนะสูง และ 13) ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

“หมุดหมายที่ 1 เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง นิยามง่าย ๆ คือ ‘ทำน้อยได้มาก’ เพราะฉะนั้นโจทย์สำคัญของ Digital University จะทำอย่างไรให้ ‘ทำน้อยได้มาก’ หมุดหมายที่ 2 คือ การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เช่นกัน ‘มาน้อยได้มาก’ ความเป็น Digital University จะทำอย่างไรให้เกิดการหมุนเรื่องนี้ ทำอย่างไรให้บัณฑิตสามารถผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวที่มาน้อยได้มากได้ หมุดหมายต่อไป เรื่องฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก วันนี้ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่ความเป็น EV กันเต็มตัว เพราะว่าโจทย์ของโลกและเมกะเทรนด์ของโลกไปที่ EV แต่ถ้ามองให้ไกลกว่านี้ ถ้าปีต่อไป เช่น ปี 2571-2575 อาจจะไม่ใช่ EV นี่คือสิ่งที่ Digital University อาจจะมองข้ามช็อต เสนอหลักฐานเชิงประจักษ์มาให้เห็นว่าต่อไปนี้โลกอาจจะไม่ใช่ EV ฯลฯ เป็น R&D ที่มหาวิทยาลัยสามารถโยงให้เห็นได้ และโจทย์ของ Digital University ส่งผลอย่างไรให้ R&D มีการพัฒนาและตอบโจทย์ประเทศมากขึ้น หมุดหมายที่ 4 การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง จะทำอย่างไรให้สามารถนำทุนที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแพทย์ ทุนเรื่องของการดูแลเรื่อง Wellness หรือทุนคนไทยที่มีความพร้อมในแง่ของการดูแลคนอื่นอย่างเต็มที่ มาสามารถสร้างบรรยากาศในการทำให้เกิดการพัฒนา และคำถามคือ Digital University จะทำอย่างไรให้เกิดเรื่องของการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 5 เรื่องของประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ รวมถึงเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัล หมุดหมายที่ 7 SMEs ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง แข่งขันได้ หมุดหมายที่ 8 เรื่องของพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ Digital University จะทำอย่างไรให้หมุดหมายเหล่านี้ขับเคลื่อน” ดร.วันฉัตรอธิบาย “หมุดหมายที่ 9 เรื่องของความยากจนข้ามรุ่นฯ แปลความว่าการพัฒนาประเทศของเราไม่ใช่พุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว เราใช้หลักการของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า การพัฒนาประเทศต้องมีเป้าหมาย มีขั้นการพัฒนา อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน เพราะฉะนั้นหมุดหมายที่ 9 บอกว่าถ้ายังมีความยากจนที่เป็นมรดกไปยังลูกหลาน ทำอย่างไรถึงจะตัดตอนวงจรอุบาทว์นี้ได้ ทำให้ลูกหลานมีโอกาสเข้าไปศึกษาพัฒนาตัวเองได้ หมุดหมายที่ 10 และ 11 คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม กระทรวง อว. ถือเป็นแกนหลักนำเรื่องนี้เลย คือเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ BCG หมุดหมายที่ 12 กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง อะไรคือสมรรถนะสูง ถ้ามองกันตามขั้นการพัฒนา ขั้นอยู่รอดคือขั้นมาตรฐานที่สุด ถ้าบัณฑิตไทยในวันนี้ยังไม่พ้นจุดนี้ มหาวิทยาลัยที่ยังไม่พ้นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยไทย ต้องทำให้ตัวเองพ้นออกมาให้ได้ สู่ขั้นของพอเพียง คืออยู่ได้ด้วยตนเอง และสู่ขั้นยั่งยืน คือต่อให้มีวิกฤตอย่างไรทุกอย่างไปต่อได้ หมุดหมายที่ 13 ภาครัฐทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน นี่คือสิ่งที่อยากฝากไว้ ความเป็น Digital University จะทำให้หมุดหมายทั้ง 13 นี้ หมุนไปได้อย่างไร ขับเคลื่อนได้อย่างไร หรือบรรลุเป้าได้อย่างไร

“ผมมีความเชื่อเช่นที่ท่านปลัดกล่าวไว้ว่าความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้ เพราะฉะนั้นแผนระดับ 3 คือโจทย์ว่าจะทำอย่างไร ‘โจทย์และหน้าที่ของมหาวิทยาลัย’ คือ ‘ทำอย่างไรตัวเองถึงจะขับเคลื่อน ทำอย่างไรตัวเองถึงจะไปช่วยคนอื่นขับเคลื่อน ทำอย่างไรตัวเองถึงจะไปเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนได้’

นอกจากนี้ ดร.วันฉัตรกล่าวถึง ‘หน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ R&D การบริการวิชาการ งานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ และเสริมเรื่อง ‘การผลิตบัณฑิต’ เป็นสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงคุณสมบัติของบัณฑิตในอนาคต เพราะการมีสมรรถนะทางด้านดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานอาจเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ในยุคนี้มหาวิทยาลัยดิจิทัลอาจมีโจทย์ถึงขั้นว่าจะทำอย่างไรบัณฑิตถึงจะใช้ดิจิทัลให้เกิดการพัฒนาประเทศต่อไปได้

DMM เครื่องมือบอกสถานะและการพัฒนาต่อไปให้เกิดความยั่งยืน

ในช่วงเวลาที่ยึดถือหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นสำคัญ ดร.วันฉัตรกล่าวว่าเครื่องมือ DMM สามารถมองเห็นตั้งแต่เรื่องของเครื่องมือ และเรื่องของ Mindset เพราะฉะนั้น Digital University จึงไม่ใช่เครื่องมืออย่างเดียว หากรวมถึงคน และ Mindset

สำหรับหน่วยที่ทำเรื่องวิชาการได้ดีที่สุดในประเทศไทยนั้นล้วนอยู่ใน อว. ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทุนวิจัยงบแผ่นดิน/ทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ฯลฯ ซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญในการสร้างวิชาการ เครื่องมือ DMM นี่เองที่จะทำให้เห็นภาพของการประสานและประยุกต์สิ่งที่เป็นอยู่ของสากลเข้ามาสู่บริบทและภูมิสังคมของเมืองไทย โดยเฉพาะระดับพื้นที่ “เราไม่อยากเห็นวิชาการที่ไปลอกเมืองนอก แต่อยากเห็นวิชาการที่ไปดูตำราเมืองนอก ไปดูหลักการ แล้วสามารถประยุกต์กับภูมิสังคมไทยได้ ไม่อยากเห็นเอาโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกมา ไม่ว่าจะจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไหนก็ตาม หลายครั้งมากที่ทำแบบนี้แล้วไม่ยั่งยืน”

เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่าง

“อะไรที่เป็น Common ของ Digital University อะไรที่เป็น Specific ของแต่ละพื้นที่ อะไรที่จะทำให้มหาวิทยาลัยออกนอกรั้วไปทำให้ Digital University เกิดประโยชน์ขึ้นกับสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวิจัยและพัฒนา เรื่องการบริการสังคม แม้กระทั่งเรื่องศิลปวัฒนธรรม มีประเด็นอื่น ๆ อีกมหาศาลที่มหาวิทยาลัยไทยจะทำได้”

ด้วยสภาพัฒน์มีโอกาสทำงานกับอาจารย์ดนัยรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง ดร.วันฉัตรจึงเน้นย้ำว่า DMM ไม่ใช่เครื่องมือแค่นำมาใช้วัด โดยเฉพาะการทำงานในเชิงนโยบายสาธารณะอย่างสภาพัฒน์ DMM คือเครื่องมือที่ทำให้วงจรนโยบายสาธารณะหมุนได้ “DMM บอกสถานะของเราวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง DMM บอกโจทย์ของเราวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้ว DMM ก็บอกว่าเราควรทำอะไรในโจทย์เหล่านี้ เพราะ DMM บอกว่าเราตกข้อไหน ดีข้อไหน เพราะฉะนั้น DMM จะบอกว่าควรมีโครงการ (X) อย่างไรบ้าง แล้ว DMM ก็เป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบประเมินผลด้วยว่า X แล้ว ก่อให้สภาพัฒน์เป็นองค์กรดิจิทัลหรือไม่ ถ้ายังไม่ใช่ งวดต่อไปจะต้องเอามิติที่ตกกางขึ้นมา แล้วทำโครงการที่ทำให้มิตินี้มีคะแนนที่สูงขึ้น”

เครื่องมือ DMM จึงไม่ใช่เครื่องมือที่ทำแล้วจบ

“ไม่ใช่เครื่องมือที่บอกว่าคุณได้คะแนนระดับ 3 แล้วจบแค่นั้น แต่ได้ 3 ทำอย่างที่จะได้ 4 หรือทำอย่างไรให้ 3 ยั่งยืน เพราะโอกาสเยอะมากที่เคย 3 แล้วตกมา 2 เพราะฉะนั้น DMM ไม่ใช่เครื่องมือที่บอกแค่สถานะ DMM คือ เครื่องมือที่ให้ทำงานต่อ โจทย์นี้สำคัญมาก ใช้เครื่องมือ DMM เพื่อหาโจทย์ ไม่ใช่เพื่อโฆษณาว่าเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” ดร.วันฉัตรกล่าว “DMM จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เห็นโจทย์ ทำให้เห็นการพัฒนา ทำให้ลงมือทำ ทำให้ประเมินผลได้ แล้ว DMM ส่งผลต่ออะไร ส่งผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยเรา มหาวิทยาลัยส่งผลต่ออะไร ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ หรือว่าภาพรวมของพื้นที่ แล้วส่งผลต่ออะไร ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข เพราะฉะนั้นการทำ DMM อย่าจบที่รั้วมหาวิทยาลัย ต้องสามารถทำออกมาและสะท้อนให้เห็นว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไร”

DMM ไม่ใช่ Magic Bullet ทีเดียวรู้ทุกอย่าง

“DMM คือเครื่องมือที่จะทำให้เราเห็น วิเคราะห์ได้ และไปทำต่อ เมื่อทำเสร็จ DMM จะเราบอกว่าใช่หรือไม่ใช่อย่างไร และDMM คือเครื่องมือในการวัดเช่นกัน”

DMM เครื่องมือบอกสถานะและการพัฒนาต่อไปให้เกิดความยั่งยืน

ในช่วงเวลาที่ยึดถือหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นสำคัญ ดร.วันฉัตรกล่าวว่าเครื่องมือ DMM สามารถมองเห็นตั้งแต่เรื่องของเครื่องมือ และเรื่องของ Mindset เพราะฉะนั้น Digital University จึงไม่ใช่เครื่องมืออย่างเดียว หากรวมถึงคน และ Mindset

สำหรับหน่วยที่ทำเรื่องวิชาการได้ดีที่สุดในประเทศไทยนั้นล้วนอยู่ใน อว. ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทุนวิจัยงบแผ่นดิน/ทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ฯลฯ ซึ่งต่างมีบทบาทสำคัญในการสร้างวิชาการ เครื่องมือ DMM นี่เองที่จะทำให้เห็นภาพของการประสานและประยุกต์สิ่งที่เป็นอยู่ของสากลเข้ามาสู่บริบทและภูมิสังคมของเมืองไทย โดยเฉพาะระดับพื้นที่ “เราไม่อยากเห็นวิชาการที่ไปลอกเมืองนอก แต่อยากเห็นวิชาการที่ไปดูตำราเมืองนอก ไปดูหลักการ แล้วสามารถประยุกต์กับภูมิสังคมไทยได้ ไม่อยากเห็นเอาโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกมา ไม่ว่าจะจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไหนก็ตาม หลายครั้งมากที่ทำแบบนี้แล้วไม่ยั่งยืน”

เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่าง

“อะไรที่เป็น Common ของ Digital University อะไรที่เป็น Specific ของแต่ละพื้นที่ อะไรที่จะทำให้มหาวิทยาลัยออกนอกรั้วไปทำให้ Digital University เกิดประโยชน์ขึ้นกับสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวิจัยและพัฒนา เรื่องการบริการสังคม แม้กระทั่งเรื่องศิลปวัฒนธรรม มีประเด็นอื่น ๆ อีกมหาศาลที่มหาวิทยาลัยไทยจะทำได้”

ด้วยสภาพัฒน์มีโอกาสทำงานกับอาจารย์ดนัยรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง ดร.วันฉัตรจึงเน้นย้ำว่า DMM ไม่ใช่เครื่องมือแค่นำมาใช้วัด โดยเฉพาะการทำงานในเชิงนโยบายสาธารณะอย่างสภาพัฒน์ DMM คือเครื่องมือที่ทำให้วงจรนโยบายสาธารณะหมุนได้ “DMM บอกสถานะของเราวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง DMM บอกโจทย์ของเราวันนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้ว DMM ก็บอกว่าเราควรทำอะไรในโจทย์เหล่านี้ เพราะ DMM บอกว่าเราตกข้อไหน ดีข้อไหน เพราะฉะนั้น DMM จะบอกว่าควรมีโครงการ (X) อย่างไรบ้าง แล้ว DMM ก็เป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบประเมินผลด้วยว่า X แล้ว ก่อให้สภาพัฒน์เป็นองค์กรดิจิทัลหรือไม่ ถ้ายังไม่ใช่ งวดต่อไปจะต้องเอามิติที่ตกกางขึ้นมา แล้วทำโครงการที่ทำให้มิตินี้มีคะแนนที่สูงขึ้น”

เครื่องมือ DMM จึงไม่ใช่เครื่องมือที่ทำแล้วจบ

“ไม่ใช่เครื่องมือที่บอกว่าคุณได้คะแนนระดับ 3 แล้วจบแค่นั้น แต่ได้ 3 ทำอย่างที่จะได้ 4 หรือทำอย่างไรให้ 3 ยั่งยืน เพราะโอกาสเยอะมากที่เคย 3 แล้วตกมา 2 เพราะฉะนั้น DMM ไม่ใช่เครื่องมือที่บอกแค่สถานะ DMM คือ เครื่องมือที่ให้ทำงานต่อ โจทย์นี้สำคัญมาก ใช้เครื่องมือ DMM เพื่อหาโจทย์ ไม่ใช่เพื่อโฆษณาว่าเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” ดร.วันฉัตรกล่าว “DMM จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เห็นโจทย์ ทำให้เห็นการพัฒนา ทำให้ลงมือทำ ทำให้ประเมินผลได้ แล้ว DMM ส่งผลต่ออะไร ส่งผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยเรา มหาวิทยาลัยส่งผลต่ออะไร ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ หรือว่าภาพรวมของพื้นที่ แล้วส่งผลต่ออะไร ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข เพราะฉะนั้นการทำ DMM อย่าจบที่รั้วมหาวิทยาลัย ต้องสามารถทำออกมาและสะท้อนให้เห็นว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไร”

DMM ไม่ใช่ Magic Bullet ทีเดียวรู้ทุกอย่าง

“DMM คือเครื่องมือที่จะทำให้เราเห็น วิเคราะห์ได้ และไปทำต่อ เมื่อทำเสร็จ DMM จะเราบอกว่าใช่หรือไม่ใช่อย่างไร และDMM คือเครื่องมือในการวัดเช่นกัน”

ออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย

กลไกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่มุ่งทำให้ประเทศไทยเดินไปทั้ง 13 หมุดหมายได้ ไม่อาจเกิดจากการขับเคลื่อนจากภาครัฐและส่วนราชการเท่านั้น หากต้องไปด้วยกันทั้งองคาพยพ สภาพัฒน์ในฐานะฝ่ายเลขาฯ ของยุทธศาสตร์ชาติ ได้เสนอกลไก 3 ระดับกับนายกรัฐมนตรี คือ 1) กลไกเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายของประเทศ 2) กลไกตามภารกิจ คือ กลไกที่หน่วยงานของรัฐแปลงยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับ 2 สู่การปฏิบัติ และ 3) กลไกระดับพื้นที่

“นอกจากหลักฐานเชิงประจักษ์ต่าง ๆ แล้ว สภาพัฒน์ยังมีสมมติฐานข้อหนึ่ง คือถ้าตำบลเข้มแข็งประเทศไทยไปต่อได้ ดังนั้นจึงมีการขับเคลื่อนในเชิงของตำบลอยู่หลายที่ ‘ขับเคลื่อน ไม่ใช่ถอดความรู้’ สิ่งสำคัญคือทำให้ตำบลเกิดการดูแลตัวเองได้ เราไม่เข้าไปทำ ตัวพื้นที่ต้องเป็นคนทำ เรามีหน้าที่หนุนเสริม คำถามคือมหาวิทยาลัยดิจิทัลจะมีส่วนขับเคลื่อนระดับตำบลอย่างไร”

ดร.วันฉัตรยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีโอกาสเก็บข้อมูลและเจอกับปรากฏการณ์ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ไม่ได้เข้าเรียนและไม่ได้ทำงาน จึงกลับมาดูข้อมูลในประเด็นดังกล่าวของทั้งประเทศ พบว่าประเทศไทย ‘หนักหน่วงมาก’ ในเรื่องนี้ เป็นที่มาของความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ อาทิ UNICEF, World Bank ฯลฯ ลงไปทำงานกันในพื้นที่ ซึ่งต่อมาได้เกิดความเข้าใจว่าหลักสำคัญของการดึงเด็กกลุ่มนี้ให้เข้ามาทำงานไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ จะยัดเยียดการฝึกอาชีพให้ หากเป็นการดึงเขาเหล่านั้นออกมาจากคอมฟอร์ตโซนให้ได้

นี่คือการออกนอกรั้วมหาวิทยาลัย

“อยากฝากว่า Digital University คือการมีข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำงาน Digital University จึงไม่ใช่เรื่องของสารบัญ ไม่ใช่เรื่องของงานพัสดุ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่จะต้องมีอยู่แล้ว แต่ Digital University คือการที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเอาข้อมูลไปสู่การพัฒนาต่อได้” ดร.วันฉัตรกล่าว “วันนี้ข้อมูลที่มีการเก็บในเชิงจังหวัดเป็นข้อมูล Formal ที่เขารายงาน แต่ประเทศไทยยังถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Informal มหาศาล เพราะฉะนั้นหากได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ฉีดข้อมูลเข้ามาในเชิงของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีความแม่นตรง เชื่อว่าต่อไปนี้การพัฒนาพื้นที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น”

ทำตรงนี้แล้วจะเกิดผลอะไร

“เรียกว่าเกิดผลมหาศาล นอกจากผู้ว่าราชการจังหวัดจะเห็นภาพตัวเอง จังหวัดนี้มีการพัฒนาพื้นที่อย่างไร มีกลุ่มคนที่ตกมิติการพัฒนา 5 มิติ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ความเป็นอยู่ การศึกษา สุขภาพ การเข้าถึงบริการภาครัฐ ในมิติไหน จะทำให้เห็นว่าโซลูชันคืออะไร ไม่ใช่ One Size Fits All อีกต่อไปแล้ว เป็นเรื่องการประยุกต์ให้สามารถเกิดการทำงานที่พุ่งเป้าได้”

นี่เองที่ชี้ว่าเครื่องมือ DMM ไม่ใช่แค่เรื่องของดิจิทัล หากคือ Mindset การมองเห็นว่าข้อมูลสำคัญอย่างไร

DMM กับการปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทย และโจทย์การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลง สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์กำลังจะมาถึงในไม่ช้า โครงสร้างประชากรไทยมีผลต่อมหาวิทยาลัยไทย “วันนี้มหาวิทยาลัยทราบหรือไม่ว่ามีอาจารย์ที่สอนกี่ท่าน เหล่านี้คือ DMM ทั้งหมด คือข้อมูลพื้นฐาน DMM จะบอกว่าสุดท้ายแล้วการดูเรื่อง Demand และ Supply ของความเป็นมหาวิทยาลัยไทยนั้นใช่หรือไม่ใช่ อาจารย์มีความพร้อมในการปรับตัวสู่ตลาดอย่างไรบ้าง ฯลฯ”

DMM ไม่ใช่สูตรสำเร็จ

มหาวิทยาลัยต้องวิเคราะห์ แล้วทำต่อ นั่นคือ Digital Transformation

“How To ให้ได้ เป็น Digital University อย่างแท้จริง นั่นคือโจทย์จริง เมื่อเห็นโจทย์ ต่อไปคือเห็นวิธีที่จะแก้โจทย์นั้น แล้วจึงใช้ DMM ในการที่จะวิเคราะห์ว่าสุดท้ายแล้วทำแบบนี้แล้วโจทย์หายไปไหม หรือมีโจทย์ใหม่เพิ่มเติม จะวนกลับมา เป็น PDCA ล้วน ๆ คือวงจรนโยบายสาธารณะล้วน ๆ ถ้าทุกอย่างเชื่อมโยงหากัน ไม่ว่าจะเครื่องมือไหนก็ตาม จะทำให้เราเห็นพื้นฐานตัวเอง เห็นภูมิสังคมตัวเอง เห็นประโยชน์ตัวเอง เห็นสมรรถนะตัวเอง เห็นว่าเราเป็นอย่างไร การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติคือทั้งหมดนี้”

Digital University คือการที่สามารถใช้ข้อมูล การที่จะนำเสนอรูปแบบนโยบายต่อไปในอนาคต ซึ่งไม่ใช่นโยบายที่ ‘คิดจะทำ’ แต่เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ มหาวิทยาลัยสามารถทำให้เห็นว่า DMM คือตัวจักร กลไกขับเคลื่อน และทำให้เห็นว่า DMM เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายสาธารณะได้จริง สามารถแสดงผลเชิงประจักษ์ของมหาวิทยาลัยทั้งหมดออกมาได้ว่า DMM ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของมหาวิทยาลัยไทยอย่างไร และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อบริบทรอบ ๆ มหาวิทยาลัยและต่อประเทศไทยอย่างไร วันนั้นเอง DMM ไปถูกยกสู่เครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่

ท้ายสุด ดร.วันฉัตรฝากหลัก Dพอ 6 ข้อไว้กับการใช้เครื่องมือ DMM ได้แก่ ความรู้ คุณธรรม ความเพียร พอประมาณ หลักเหตุและผล และภูมิคุ้มกัน “ต้องรู้ในสิ่งที่ต้องทำ คิดดีทำดี เพราะ DMM เป็นเครื่องมือที่ดี ทำไปเพื่อความดี ทำไปเพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อพัฒนาตัวเอง ล้มแล้วลุกให้ได้ เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ล้ม ล้มเรื่องไหน เรียนรู้จากการล้มนั้น อย่าผิดซ้ำสอง ตัดสินใจทุกอย่างบนหลักของความพอประมาณ อย่าสุดโต่งจนเกินไป ทำทุกอย่างเต็มที่อยู่บนศักยภาพของตัวเอง มีเหตุและผลเสมอในการตัดสินใจทำอะไร ไม่ใช่ว่าอยากทำก็ทำ แต่ว่าทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร ทำอย่างไร และหากเดินไปแล้วเจอข้อจำกัด เจอทางตัน ควรมีทางออกเสมอ” ดร.วันฉัตรอธิบาย

ในวันนี้ ยุทธศาสตร์ชาติถูกขับเคลื่อน เชื่อมโยง และมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันหมด DMM จึงไม่ใช่เครื่องมือที่โดดเดี่ยว หากเป็นเครื่องมือที่สะท้อนกลับเข้าไปในวงจรนโยบายสาธารณะ สะท้อนกลับไปสู่การพัฒนาประเทศ

 

ชมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” Digital Maturity Model (DMM), Transformation Readiness towards Digital University ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/videos/709635990616412

https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/