KNIT

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน

บ่อยครั้งที่ได้ยิน อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เน้นย้ำและฝากฝังคำว่า ‘Care, Fair และ Share’ ไว้ให้กับผู้บริหารและผู้ร่วมขบวนขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยสู่การเป็น ‘Digital University หรือ Smart University’ เต็มรูปแบบ ทำให้นึกย้อนถึง 3 คำดังกล่าวที่เป็นหัวใจหลักหรือหลักจรรยา (Ethics) ของแนวคิดเพอร์มาคัลเจอร์ (Permacuture) หนึ่งในวิถีการเกษตรที่เชื่อในระบบนิเวศยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นในยุค 70s อันเกิดจากหลักการคิดค้นระบบและเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อออกแบบสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของเราขึ้นใหม่อย่างสร้างสรรค์ในโลกที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานลดน้อยลงและคุ้มค่าภายใต้หลักจรรยาและหลักการออกแบบของแนวคิด เพอร์มาคัลเจอร์ หรือ Permacuture มาจากคำว่า Permanent และ Agriculture หมายถึง วิถีเกษตรกรรมที่มั่นคงยั่งยืน (ก่อตั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติโดย Bill Mollison นักวิทยาศาสตร์ นักคิดด้านเกษตรนิเวศ และนักเขียนชาวออสเตรเลีย) มีหลักจรรยาพื้นฐานสำหรับทั้งระบบ ได้แก่ ‘Earth Care, People Care และ Fair Share’ ‘การดูแลโลก’ หมายถึงการดูแลทุกสรรพสิ่ง ทุกองค์ประกอบของการดำรงชีวิต ไม่ว่าสิ่งนั้น ๆ …

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน Read More »

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society”
ครั้งที่ 14 หัวข้อการเสวนา “การแปลงแผนสู่ปฏิบัติการ” แพลนอย่างไร ไม่ให้ “นิ่ง”

  ผู้ร่วมเสวนา      รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต      อ.ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี      ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล      อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี “โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล” วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/ รับชมการเสนาย้อนหลังได้ที่ https://du-knit.org/live หรือช่องทางเฟสบุคเพจ shorturl.at/iqTWY   #มหาวิทยาลัยดิจิทัล#DigitalUniversity #DigitalTransformation#สถาบันคลังสมองของชา https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World

VUCA เป็นตัวย่อของ 4 คำสำคัญ ได้แก่ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งปรากฏขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันผ่านหลากหลายสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตในต่างมิติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นยุค VUCA World ในศตวรรษที่ 21 ที่ดิสรัปต์ทุกภาคส่วนของโลกและประเทศไทย รวมถึงภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตให้พร้อมด้วยวิชาความรู้และภูมิคุ้มกันทางจิตใจและการดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง รวมไปถึงความพร้อมรับมือและปรับตัวกับทุกการเปลี่ยนแปลงอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ ตลอดจนผสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างแข็งแกร่ง เพื่อการพัฒนาทั้งสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืนร่วมกัน ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่เดินทางครบรอบ 6 เดือนเต็ม จึงพร้อมก้าวสู่หลักไมล์แห่งอนาคตกับการร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ และการแสดงผลความก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งมาพร้อมกับแนวทางและจุดหมายใหม่ ๆ ที่ตั้งเป้าหมายการเติบโตยิ่งขึ้นอีกระดับ การสนทนาภายใต้ประเด็น “แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ ก้าวสู่ปีงบประมาณใหม่และทิศทางที่ก้าวไปในปี 2023” จึงเกิดขึ้นในแรกก้าวต่อไปนี้ โดย อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล …

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World Read More »

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ

ย้อนไปเมื่อครั้งที่ผู้นำคนสำคัญทางด้านการศึกษาให้โอกาสสนทนาในประเด็นการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชี้ให้เห็นความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาว่ามหาวิทยาลัยนั้นเป็นหัวหอกของทุก ๆ สังคม ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เอาไว้ และด้วยภารกิจหน้าที่ในการสร้างและผลิตคนยุคใหม่ มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้าน รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวไว้ว่าเรื่องของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบนั้นเป็นเรื่องใหญ่และมีองค์ประกอบหลากหลาย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของพีระมิด ได้แก่ 1) กลุ่มยอดของพีระมิด คือ มีความพร้อมหรือใกล้เคียงกับการเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ 2) กลุ่มกลางของพีระมิด คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีความต้องการพัฒนา สุดท้ายคือ …

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ Read More »

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล

       เมื่อสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน คือ การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ เต็มรูปแบบ การสนับสนุนและส่งเสริม ตลอดจนแรงผลักดันจากผู้นำทางการศึกษา ตั้งแต่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ประชุมอธิการบดีฯ (ทปอ.) และสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมนำและหนุนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรือผู้เรียนที่มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตทุก ๆ มิติในโลกใหม่ใบเดิม ซึ่งดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อน และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าทันในเวลาเดียวกัน       ครั้งนี้ 5 ผู้นำทางการศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิบดีแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด ประธานคณะกรรมการอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล …

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

Digital University กับการสร้าง Smart Society ภายใต้บริบทของระบบนิเวศที่เปี่ยมศักยภาพ

      ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ‘สถาบันคลังสมองของชาติ’ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการของภาครัฐและสังคม ทั้งการแก้ไขปัญหาและการแสวงหาการริเริ่มเชิงนโยบาย โดยตั้งแต่ปี 2563 สถาบันคลังสมองของชาติสนับสนุนโครงการเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลด้วยการสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจความพร้อมตามความสมัครใจที่เรียกว่า Digital Maturity Model หรือ DMM กับการพิจารณาใน 5 มิติ ได้แก่ ทิศทางและการพัฒนาองค์กร ความพร้อมด้านพันธกิจ/ธุรกิจ ความพร้อมด้านระบบงานประยุกต์ ความพร้อมด้านข้อมูล และความพร้อมด้านเทคโนโลยี จากการแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ระดับที่ 1 Traditional University ระดับที่ 2 E-University ระดับ 3 Connected University และระดับที่ 4 Smart University พบว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีระดับความพร้อมที่แตกต่างและหลากหลาย       ด้วยสถาการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งในประเทศไทยต่างต้องตั้งเกมรับและเดินเกมรุกด้วยการพึ่งพาเครื่องไม้เครื่องมือด้านดิจิทัลเทคโนโลยีกันอย่างหนักหน่วง หากก็เป็นการทวีความตื่นตัวในการนำสถาบันมุ่งสู่การเป็น …

Digital University กับการสร้าง Smart Society ภายใต้บริบทของระบบนิเวศที่เปี่ยมศักยภาพ Read More »

Digital University: enabling the smart society “Resilience Mindset for Future University” part 2

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University: enabling the smart society ประเด็น “Resilient Mindset for Future University ตอนที่ 2” . Keynote Speakers รศ. ดร. เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต อ. ดร.ธารพรรษ สัตยารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อ.ธนกฤต แก้วนุ้ย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อ.ทศพล บ้านคลองสี่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล . . เสวนาในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล ข้อมูลเพิ่มเติม …

Digital University: enabling the smart society “Resilience Mindset for Future University” part 2 Read More »

Digital University: enabling the smart society “Resilience Mindset for Future University”

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University: enabling the smart society ประเด็น “Resilience Mindset for Future University” . Keynote Speakers ผศ.ดร. ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร. วชิรศักดิ์ วานิชชา รองคณบดีด้านบริหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.มณฑล สรไกรกิติกูล หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารองค์การ การประกอบการและทรัพยากรมนุษย์ และรักษาการผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี โครงการ การพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล. . เสวนาในวันที่ 21 กันยายน 2565 …

Digital University: enabling the smart society “Resilience Mindset for Future University” Read More »

Digital University: enabling the smart society
ประเด็น “บัณฑิตแบบนี้…ที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ ภาคที่ 2”
.

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVEDigital University: enabling the smart societyประเด็น “บัณฑิตแบบนี้…ที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ ภาคที่ 2”.Keynote Speakers คุณสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คุณหทัยพร เจียมประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณนภดล รัตนวราหะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ (Enterprise Digital Technology) บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด มหาชน อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี โครงการ การพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล..เสวนาในวันที่ 7 กันยายน 2565เวลา 19.00 น. เป็นต้นไปทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thaiข้อมูลเพิ่มเติม https://du-knit.org/

สิ่งที่เชื่อ​ VS สิ่งที่ใช่ กับ Digital University

สิ่งที่เชื่อ VS สิ่งที่ใช่ กับ Digital University      เมื่อทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความต้องการทักษะมากขึ้น และมีความรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่งผลให้ภาคการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะด้านการผลิตบัณฑิตและผู้เข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรของสถาบัน ให้พร้อมรับกับอุตสาหกรรมยุคใหม่อย่างเหมาะสมตามไปด้วย       ที่สุดแล้ว ‘Digital University’ หรือมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ได้เข้ามาเป็น ‘คำตอบ’ หรือเป็น ‘เป้าหมาย’ สำคัญของการเดินทางไปสู่วันข้างหน้า หากคำว่า Digital University นั้น ยัง ‘ไม่ได้’ เป็นที่เข้าใจในแนวทางที่ ‘ใช่’ อย่างที่ควรจะเป็น และถ้าเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นเราต้องขอ ‘ลบ 5 ความเชื่อ’ ที่ทำให้การมุ่งไปสู่ Digital University หลงทาง จะมีความเข้าใจผิดใดบ้างที่ต้องยกมากล่าวถึงในที่นี้ แล้วคุณละเป็นคนหนึ่งที่กำลังสับสนกับแนวคิดการปรับเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยรูปแบบเดิม ไปสู่ Digital University หรือไม่ ไปดูกัน  5 ความเข้าใจผิด …

สิ่งที่เชื่อ​ VS สิ่งที่ใช่ กับ Digital University Read More »