KNIT

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่

ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องไฮไลต์ก็คือ ‘เครื่องมือ DMM กับการพัฒนาประเทศในนิเวศดิจิทัล’ ที่ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติฉายภาพไว้อย่างคมชัด พร้อมย้ำแบบเน้น ๆ กับบทบาทมหาวิทยาลัยไทยในมิติของการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ว่าจะมีส่วนพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศอย่างไร   DMM กับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ จากปาฐกถาของ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวง อว. ชี้ให้เห็นว่าเวลานี้เป็นช่วงของการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีคำว่า ‘ดิจิทัล’ ใช้อยู่ในแทบทุกยุทธศาสตร์ “เมื่อผมได้รับเชิญมาพูดที่เวทีนี้ ผมตั้งคำถามก่อนเลยว่ามหาวิทยาลัยไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาประเทศ” ดร.วันฉัตรเริ่มต้น จากนั้นจึงยกภาพของการใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการขับเคลื่อนประเทศที่หน่วยงานภาครัฐใช้ดำเนินการให้เห็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือทำ มีจัดประเมินผล และสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนาประเทศ …

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ Read More »

แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Digital University: enabling the smart society.

ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล กับแนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล สถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่สะท้อนการนำใช้เครื่องมือ DMM เพื่อสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัลโดยมหาวิทยาลัยแกนนำ รวมถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือ DMM ที่พร้อมใช้แล้ว ณ วันนี้ ในโอกาสสำคัญที่ไม่ต่างจากก้าวใหญ่ ๆ ก้าวใหม่ครั้งนี้ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติร่วมปาฐกถาในหัวข้อ ‘แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม’ บทบาทของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลต้องมากกว่าที่คิด จากการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าจะเป็นตามชนิดของเครื่องมือเครื่องใช้ หรือตามวิถีการดำรงชีวิต ไม่อาจปฏิเสธว่าปัจจุบันโลกของเราเดินทางมาสู่ยุคที่เรียกว่า ‘ยุคดิจิทัล’ “ทำไมเราถึงอยู่ในยุคดิจิทัล มีสิ่งที่บ่งบอกอยู่หลายอย่าง ถ้าถามว่าตอนนี้เราทุกคนถืออะไร ผมเองถือทั้งโทรศัพท์มือถือและไอแพด ในห้องประชุมนี้ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเต็มไปหมด มีคนกล่าวว่าปัจจุบันคนใส่นาฬิกาเป็นเครื่องประดับ …

แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Digital University: enabling the smart society. Read More »

Digital University: enabling the smart society

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University: enabling the smart society ประเด็น “การจัดการนวัตกรรมยุคใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วม (Co-Creation) . Keynote Speakers นพ.จตุพงษ์ จันทร์ทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมเกียรติ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล . . เสวนาในวันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล และ สถาบันคลังสมองของชาติ https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

Digital Maturity Model (DMM),
Transformation Readiness towards Digital University

เชิญรับชมการสัมมนาออนไลน์ “การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” Digital Maturity Model (DMM),Transformation Readiness towards Digital University.เชิญทุกท่านมาร่วมรับฟังและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ Digital Maturity Model (DMM)รวมถึงประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล.ทั้งนี้ ยังมีปาฐกถา “แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็น มหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”โดยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม..พบกันวันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 12.00 น. ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล Digital University มหาวิทยาลัยดิจิทัล | Bangkok | Facebook และ Youtube สถาบันคลังสมองของชาติ ——————————-#มหาวิทยาลัยดิจิทัล #DigitalUniversity#DigitalTransformation #สถาบันคลังสมองของชาติ https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 15
หัวข้อการเสวนา “การสื่อสาร” กลไกการเคลื่อนแผนให้เกิดผล

  ผู้ร่วมเสวนา1. ดร.พีรยา หาญพงศ์พันธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ2. รศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์3. ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ4. อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี “โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล” ผู้ดำเนินรายการคุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์ วันที่ 11 ,มกราคม 2565 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/ รับชมการเสนาย้อนหลังได้ที่ https://du-knit.org/live หรือช่องทางเฟสบุคเพจ shorturl.at/iqTWY   #มหาวิทยาลัยดิจิทัล#DigitalUniversity #DigitalTransformation#สถาบันคลังสมองของชาติ https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน

บ่อยครั้งที่ได้ยิน อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เน้นย้ำและฝากฝังคำว่า ‘Care, Fair และ Share’ ไว้ให้กับผู้บริหารและผู้ร่วมขบวนขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยสู่การเป็น ‘Digital University หรือ Smart University’ เต็มรูปแบบ ทำให้นึกย้อนถึง 3 คำดังกล่าวที่เป็นหัวใจหลักหรือหลักจรรยา (Ethics) ของแนวคิดเพอร์มาคัลเจอร์ (Permacuture) หนึ่งในวิถีการเกษตรที่เชื่อในระบบนิเวศยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นในยุค 70s อันเกิดจากหลักการคิดค้นระบบและเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อออกแบบสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของเราขึ้นใหม่อย่างสร้างสรรค์ในโลกที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานลดน้อยลงและคุ้มค่าภายใต้หลักจรรยาและหลักการออกแบบของแนวคิด เพอร์มาคัลเจอร์ หรือ Permacuture มาจากคำว่า Permanent และ Agriculture หมายถึง วิถีเกษตรกรรมที่มั่นคงยั่งยืน (ก่อตั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติโดย Bill Mollison นักวิทยาศาสตร์ นักคิดด้านเกษตรนิเวศ และนักเขียนชาวออสเตรเลีย) มีหลักจรรยาพื้นฐานสำหรับทั้งระบบ ได้แก่ ‘Earth Care, People Care และ Fair Share’ ‘การดูแลโลก’ หมายถึงการดูแลทุกสรรพสิ่ง ทุกองค์ประกอบของการดำรงชีวิต ไม่ว่าสิ่งนั้น ๆ …

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน Read More »

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society”
ครั้งที่ 14 หัวข้อการเสวนา “การแปลงแผนสู่ปฏิบัติการ” แพลนอย่างไร ไม่ให้ “นิ่ง”

  ผู้ร่วมเสวนา      รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต      อ.ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี      ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล      อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี “โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล” วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/ รับชมการเสนาย้อนหลังได้ที่ https://du-knit.org/live หรือช่องทางเฟสบุคเพจ shorturl.at/iqTWY   #มหาวิทยาลัยดิจิทัล#DigitalUniversity #DigitalTransformation#สถาบันคลังสมองของชา https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World

VUCA เป็นตัวย่อของ 4 คำสำคัญ ได้แก่ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งปรากฏขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันผ่านหลากหลายสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตในต่างมิติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นยุค VUCA World ในศตวรรษที่ 21 ที่ดิสรัปต์ทุกภาคส่วนของโลกและประเทศไทย รวมถึงภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตให้พร้อมด้วยวิชาความรู้และภูมิคุ้มกันทางจิตใจและการดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง รวมไปถึงความพร้อมรับมือและปรับตัวกับทุกการเปลี่ยนแปลงอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ ตลอดจนผสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างแข็งแกร่ง เพื่อการพัฒนาทั้งสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืนร่วมกัน ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่เดินทางครบรอบ 6 เดือนเต็ม จึงพร้อมก้าวสู่หลักไมล์แห่งอนาคตกับการร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ และการแสดงผลความก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งมาพร้อมกับแนวทางและจุดหมายใหม่ ๆ ที่ตั้งเป้าหมายการเติบโตยิ่งขึ้นอีกระดับ การสนทนาภายใต้ประเด็น “แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ ก้าวสู่ปีงบประมาณใหม่และทิศทางที่ก้าวไปในปี 2023” จึงเกิดขึ้นในแรกก้าวต่อไปนี้ โดย อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล …

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World Read More »

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ

ย้อนไปเมื่อครั้งที่ผู้นำคนสำคัญทางด้านการศึกษาให้โอกาสสนทนาในประเด็นการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชี้ให้เห็นความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาว่ามหาวิทยาลัยนั้นเป็นหัวหอกของทุก ๆ สังคม ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เอาไว้ และด้วยภารกิจหน้าที่ในการสร้างและผลิตคนยุคใหม่ มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้าน รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวไว้ว่าเรื่องของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบนั้นเป็นเรื่องใหญ่และมีองค์ประกอบหลากหลาย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของพีระมิด ได้แก่ 1) กลุ่มยอดของพีระมิด คือ มีความพร้อมหรือใกล้เคียงกับการเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ 2) กลุ่มกลางของพีระมิด คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีความต้องการพัฒนา สุดท้ายคือ …

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ Read More »

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล

       เมื่อสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน คือ การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ เต็มรูปแบบ การสนับสนุนและส่งเสริม ตลอดจนแรงผลักดันจากผู้นำทางการศึกษา ตั้งแต่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ประชุมอธิการบดีฯ (ทปอ.) และสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมนำและหนุนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรือผู้เรียนที่มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตทุก ๆ มิติในโลกใหม่ใบเดิม ซึ่งดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อน และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าทันในเวลาเดียวกัน       ครั้งนี้ 5 ผู้นำทางการศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิบดีแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด ประธานคณะกรรมการอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล …

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »