KNIT

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 21 หัวข้อการเสวนา เสวนาออนไลน์ ” จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัย​จากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน”

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society”ครั้งที่ 21 หัวข้อการเสวนา เสวนาออนไลน์ ” จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” วันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทาง FB โครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัล/สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้ร่วมเสวนา รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สถาบันคลังสมองของชาติ ผศ.ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.วสันต์ อุทัยเลี้ยง นักวิจัยโครงการ ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล รศ.ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผู้ดำเนินรายการ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ด้วยเพราะ ‘Enterprise Blueprint’ คือหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยไทยเดินหน้าสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบอย่างมีทิศทาง เห็นภาพและเป้าหมายเดียวกัน การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เดินหน้าไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล จึงมุ่งเจาะลึกถึงแต่ละองค์ประกอบของ Enterprise Blueprint โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2566 นี้ ได้มีการร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย นวัตกรรม จนถึง Core Service หรือการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีงานแบ็กออฟฟิศ หรือ ‘งานหลังบ้าน’ ที่เป็นส่วนงานซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือมหาวิทยาลัย การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ในประเด็น …

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี Read More »

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล ด้วยปี 2566 เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบไปพร้อมกัน มุ่งเจาะลึกถึงแต่ละองค์ประกอบของ Enterprise Blueprint อันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเดินหน้าไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างมีทิศทาง เห็นภาพและเป้าหมายเดียวกัน ก่อนหน้านี้จึงเกิดการร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน ดังที่ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ยกตัวอย่างการพูดคุยกันถึงเรื่องกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย นวัตกรรม จนถึง Core Service หรือการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ทว่าบน Enterprise Blueprint นั้น งานส่วนแบ็กออฟฟิศ หรือที่เรียกว่า ‘งานหลังบ้าน’ ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร ยังมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society จึงล้อมวง (ระยะไกล) …

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล Read More »

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน โลกที่ไม่เหมือนเดิม กับความท้าทายยิ่งต้องเปลี่ยนแปลง    ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์สะท้อนภาพโลกปัจจุบันว่าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยโลกเข้าสู่ยุคของแห่งความผันผวนนานัปการ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลจากความก้าวหน้าและก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล การบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Emerging World) ทั่วโลก โดยมีการรบรูณาการระหว่างกลุ่มประเทศ การแตกแยกจากสิ่งที่เคยรวมตัว (Disintegrate) ต่างจากยุค Globalization ที่คุ้นเคย การเคลื่อนย้ายของผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน แต่ขณะเดียวกันยังสามารถเกิด Invisible Barriers ขึ้นได้ ที่สำคัญและท้าทายคือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ทว่าต้องเป็น Digital Transformation ต่อไปในอนาคตด้วย    สถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งล่าสุด ภายใต้ประเด็น ‘Agile Leadership towards Digital University’ โดยมี ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) …

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน Read More »

Digital University: enabling the smart society: ประเด็น “Digital University ใช่แค่งานไอที?”Digital University: enabling the smart society:

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 20 หัวข้อการเสวนา เสวนาออนไลน์ “Digital University ใช่แค่งานไอที?” วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป  ทาง FB โครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัล/สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้ร่วมเสวนา ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ. ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ หัวหน้าภาควิชาการบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล             ผู้ดำเนินรายการ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง

ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง สถาบันคลังสมองของชาติ และโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ร่วมกันจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันวิสัยทัศน์ของผู้นำยุคดิจิทัล รศ. ดร. เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวระหว่างการเสวนา    “ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง” ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยมักเป็นผู้ถูกกระทำ เพราะนักศึกษาเปลี่ยนไปมาก อีกทั้งมีปัญหาของการทำงานแบบต่างคนต่างทำโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีหน่วยงานจำนวนมาก มีอัตตาค่อนข้างสูง การยุบหน่วยงานอาจทำให้เสียสมดุลจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้แรงบีบคั้นที่แตกต่างกัน ความท้าทาย วิสัยทัศน์และโจทย์ใหม่ของผู้บริหาร อาจต้องทำเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์สำคัญ (OKRs) ที่สะท้อนปัญหาจากคนระดับล่างจริง ๆ และมีสมาร์ททีมเพื่อให้ตอบโจทย์ของผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลได้ กรณีศึกษาที่น่าสนใจที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้ดำเนินการปรับตัวแล้ว คือ การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของนักศึกษาด้วยกระบวนการสตาร์ทอัพ มีศูนย์บ่มเพาะของตัวเอง ทำให้นักศึกษามีความภาคภูมิใจและสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของอาจารย์ในโครงการอาจารย์พันธุ์ใหม่ “ความท้าทายคือจะต้องปรับตัวให้ได้ พัฒนาตนเอง และเตรียมตัวตกงานเพราะปัจจุบันอัตราการเกิดมีน้อยมาก นอกจากนี้ต้องมีแนวทางการทำงานร่วมกันและสร้างความเชื่อมั่น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยยุคใหม่ต้องปรับตัวในการสร้างความยั่งยืนโดยทีมคนรุ่นใหม่ หมดสมัยที่จะบินเดี่ยวหรือเป็นศูนย์กลางจักรวาล ลดอัตตาและรับฟังให้มากขึ้น” …

ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง Read More »

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล เร่งปรับตัวและก้าวตามให้ทันโลกที่ไม่หยุดนิ่ง           ประธาน ทปอ. ชี้ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลต้องก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงรูปแบบการทำงานโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น โดยติดกระดุมเม็ดแรกจากพิมพ์เขียวองค์กรเพื่อมองเห็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย ขณะที่ตัวแทนภาคเอกชนแนะต้องฟังเสียงและปรับตัวตามผู้บริโภคในโลกที่ไม่หยุดนิ่ง พร้อมรับมือกับมาตรฐานและการชี้วัดระดับสากล           ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ และโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เพื่อให้เข้าใจถึง Agile Mindset ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารจัดการโลกแห่งการทำงานที่เน้นความคล่องตัว ว่องไว มีความยืดหยุ่นสูง ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติจริง รวมถึงนำเสนอพิมพ์เขียวการดำเนินงานในระดับมหาวิทยาลัย และ/หรือระดับคณะ ตลอดจนการกำหนดบทบาท ทีมงาน Agile และการจัดการแผนการดำเนินงานที่สำคัญต่าง ๆ …

ทปอ.-เอกชนหนุนผู้นำมหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล Read More »

เสวนาสดออนไลน์ครั้งที่ 19 “Digital University: enabling the smart society”

เสวนาสดออนไลน์ “Digital University: enabling the smart society” ครั้งที่ 19 หัวข้อการเสวนา “งานหลังบ้าน” กุญแจสำคัญที่มักถูกมองข้าม วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทาง FB โครงการมหาวิทยาลัยดิจิทัล/สถาบันคลังสมองของชาติ ผู้ร่วมเสวนา คุณกัมพล ไชยเลิศ หัวหน้าส่วนการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดร.อิศรา ดิสรเตติวัฒน์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทที่ปรึกษา ซี เอส อาร์ กรุ๊ป จำกัด อ ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผู้ดำเนินรายการ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์   https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” วันที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ———————————————————— 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนร่วมงาน และรับเอกสาร 09.00 – 09.10 น. “กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน”                      โดย ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ 09.10 – 09.40 น. กล่าวเปิดงานและบรรยายเรื่อง “ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล”         …

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Agile Leadership towards Digital University” Read More »

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Satori การตื่นแห่งเซน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง คำว่า ‘ซาโตริ (Satori)’ ได้รับการกล่าวถึงและเข้าใจใน ‘เชิงบวก’ ‘พระพุทธศาสนามหายานนิกายเซน (Zen)’ การตื่นขึ้นสู่จิตอันล้ำลึกของมนุษย์ ซึ่งโดยภาษาแห่งเซน เรียก ‘การตื่นขึ้น’ นั้นว่า ‘ซาโตริ’ ซึ่งแปลว่า การตรัสรู้ เพื่อหมายถึงสัจจะแห่งประสบการณ์ทางศาสนานิกายเซน มองว่าสรรพสิ่งคือความว่าง เซนมองว่ามนุษย์มิใช่ศูนย์กลางแห่งจักรวาล สรรพสิ่งล้วนต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ในตัวอยู่แล้ว ‘การบรรลุซาโตริ’ ก็คือการเห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต โดยที่โลกและชีวิตนั้น คือ ความว่าง ในเมื่อว่างจากตัวตนแล้วก็จะว่างจากการยึดติด เมื่อว่างจากการยึดติดก็จะประจักษ์ถึงสุญตาธรรมในที่สุด การศึกษา ‘เรื่องสันติภาพ’ ท่านติซ นัท ฮันห์ กล่าวไว้ว่า ‘พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต’ เนื่องด้วยคติข้อหนึ่งที่แพร่อยู่ในพุทธศาสนามหายาน คือ ‘วิถีทางพุทธธรรม’ ซึ่งเป็น ‘วิถีทางแห่งชีวิต’ ท่านจึงนำ ‘ธรรม’ สู่ ‘ชีวิตประจำวัน’ เช่น การฝึกลม …

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Read More »