บทความ

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Satori การตื่นแห่งเซน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง คำว่า ‘ซาโตริ (Satori)’ ได้รับการกล่าวถึงและเข้าใจใน ‘เชิงบวก’ ‘พระพุทธศาสนามหายานนิกายเซน (Zen)’ การตื่นขึ้นสู่จิตอันล้ำลึกของมนุษย์ ซึ่งโดยภาษาแห่งเซน เรียก ‘การตื่นขึ้น’ นั้นว่า ‘ซาโตริ’ ซึ่งแปลว่า การตรัสรู้ เพื่อหมายถึงสัจจะแห่งประสบการณ์ทางศาสนานิกายเซน มองว่าสรรพสิ่งคือความว่าง เซนมองว่ามนุษย์มิใช่ศูนย์กลางแห่งจักรวาล สรรพสิ่งล้วนต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ในตัวอยู่แล้ว ‘การบรรลุซาโตริ’ ก็คือการเห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต โดยที่โลกและชีวิตนั้น คือ ความว่าง ในเมื่อว่างจากตัวตนแล้วก็จะว่างจากการยึดติด เมื่อว่างจากการยึดติดก็จะประจักษ์ถึงสุญตาธรรมในที่สุด การศึกษา ‘เรื่องสันติภาพ’ ท่านติซ นัท ฮันห์ กล่าวไว้ว่า ‘พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต’ เนื่องด้วยคติข้อหนึ่งที่แพร่อยู่ในพุทธศาสนามหายาน คือ ‘วิถีทางพุทธธรรม’ ซึ่งเป็น ‘วิถีทางแห่งชีวิต’ ท่านจึงนำ ‘ธรรม’ สู่ ‘ชีวิตประจำวัน’ เช่น การฝึกลม …

Satori Generation ชีวิตเรื่อย ๆ ไม่คาดหวังกับอนาคต อีกความท้าทายของการอุดมศึกษาปัจจุบัน Read More »

VUCA สู่ BANI World

จากการประชุมวิชาการ เรื่อง ‘Mental Well-Being In VUCA World’ โดยศูนย์จัดประชุมวิชาการรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ‘VUCA’ ได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไปนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกเผชิญกับเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป จนถึงการเกิด New Norm หรือพฤติกรรมใหม่ ๆ ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนการเข้ามาของเจเนอเรชัน เทรนด์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดิสรัปต์ธุรกิจบางประเภท ส่งผลให้เกิดการทรานส์ฟอร์เมชัน การเกิดขึ้นใหม่และการหายไปของบางอาชีพ อดีต ที่เคยคาดการณ์ได้ในระยะ 10-20 ปี ปัจจุบัน ไม่อาจมั่นใจว่าภายในปีนี้หรือปีหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนไป   นักศึกษาทหารจาก U.S. Army War College ใช้คำว่า VUCA เป็นครั้งแรก เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ยากจะคาดเดา มีความซับซ้อนสูง และคลุมเครือเกินกว่าจะอธิบายได้ ซึ่งเป็นการคำอธิบายสถานการณ์หลังจากเหตุการณ์สงครามเย็น ในปี 1991 …

VUCA สู่ BANI World Read More »

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล แน่นอนว่าเด็กและเยาวชน รวมถึงกำลังคนในทุกมิติแห่งศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องรับรู้ทักษะความเป็นดิจิทัล เพราะโลกมีทิศทางสู่ยุคดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด ทว่าสิ่งที่ รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนคิดว่าคนเหล่านี้จะเป็นคนยุคดิจิทัลได้อย่างไรหาก ‘สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ’ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทั้งหลายซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสร้างคนและผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยจึงเป็นหนึ่งใน ‘สภาพแวดล้อม’ ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับกลุ่มคนในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือ ‘จุดเปลี่ยน’ ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องปรับตัวเพื่อมุ่งสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Digital University’ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือเรียกว่า ‘ระบบนิเวศ’ ที่เป็นดิจิทัล และสามารถใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานได้ “แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยที่มีอยู่กว่าร้อยแห่งมีความพร้อม” รศ. ดร.พีรเดชกล่าว “ในช่วงแรก อาจารย์ดนัยรัฐ (อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งยังเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือ DMM จากอดีตสู่ปัจจุบัน) ได้พัฒนาเครื่องมือ DMM สำรวจความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยเวลานั้นมีมหาวิทยาลัย …

3 มหาวิทยาลัยเยี่ยงอย่าง กับประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี กับ DMM : Why, What, and How?

จากจุดเริ่มต้นย้อนไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแกนนำจำนวนหนึ่งร่วมสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในการมุ่งสู่การเป็น Digital University ภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งมีสถาบันคลังสมองของชาติเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีการนำใช้เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ขึ้น ในชื่อ ‘Digital Maturity Model หรือ DMM’ และในปี 2566 นี้ นับเป็นอีกครั้งที่เครื่องมือ DMM ได้รับการหยิบยกขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการปรับรูปแบบของเครื่องมือ อาทิ ชุดคำถาม เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญให้สถาบันอุดมศึกษาทุก ๆ แห่งในประเทศไทยร่วมสำรวจความพร้อมเป็นครั้งที่ 2 กับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) นอกจากการสะท้อนการนำใช้เครื่องมือ DMM ในหลากหลายมิติแล้ว โอกาสนี้ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล …

อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี กับ DMM : Why, What, and How? Read More »

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่

ณ เวทีสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องไฮไลต์ก็คือ ‘เครื่องมือ DMM กับการพัฒนาประเทศในนิเวศดิจิทัล’ ที่ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติฉายภาพไว้อย่างคมชัด พร้อมย้ำแบบเน้น ๆ กับบทบาทมหาวิทยาลัยไทยในมิติของการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ว่าจะมีส่วนพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศอย่างไร   DMM กับการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ จากปาฐกถาของ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวง อว. ชี้ให้เห็นว่าเวลานี้เป็นช่วงของการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีคำว่า ‘ดิจิทัล’ ใช้อยู่ในแทบทุกยุทธศาสตร์ “เมื่อผมได้รับเชิญมาพูดที่เวทีนี้ ผมตั้งคำถามก่อนเลยว่ามหาวิทยาลัยไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาประเทศ” ดร.วันฉัตรเริ่มต้น จากนั้นจึงยกภาพของการใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการขับเคลื่อนประเทศที่หน่วยงานภาครัฐใช้ดำเนินการให้เห็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือทำ มีจัดประเมินผล และสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนาประเทศ …

DMM ไม่ใช่ FULLSTOP แต่เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ Read More »

แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Digital University: enabling the smart society.

ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล กับแนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล สถาบันคลังสมองของชาติ หน่วยงานหลักผู้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดสัมมนาออนไลน์ ‘การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล’ (Digital Maturity Model (DMM) Transformation Readiness towards Digital University) นับเป็นอีกก้าวสำคัญที่สะท้อนการนำใช้เครื่องมือ DMM เพื่อสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัลโดยมหาวิทยาลัยแกนนำ รวมถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือ DMM ที่พร้อมใช้แล้ว ณ วันนี้ ในโอกาสสำคัญที่ไม่ต่างจากก้าวใหญ่ ๆ ก้าวใหม่ครั้งนี้ ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติร่วมปาฐกถาในหัวข้อ ‘แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม’ บทบาทของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลต้องมากกว่าที่คิด จากการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าจะเป็นตามชนิดของเครื่องมือเครื่องใช้ หรือตามวิถีการดำรงชีวิต ไม่อาจปฏิเสธว่าปัจจุบันโลกของเราเดินทางมาสู่ยุคที่เรียกว่า ‘ยุคดิจิทัล’ “ทำไมเราถึงอยู่ในยุคดิจิทัล มีสิ่งที่บ่งบอกอยู่หลายอย่าง ถ้าถามว่าตอนนี้เราทุกคนถืออะไร ผมเองถือทั้งโทรศัพท์มือถือและไอแพด ในห้องประชุมนี้ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเต็มไปหมด มีคนกล่าวว่าปัจจุบันคนใส่นาฬิกาเป็นเครื่องประดับ …

แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Digital University: enabling the smart society. Read More »

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน

บ่อยครั้งที่ได้ยิน อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เน้นย้ำและฝากฝังคำว่า ‘Care, Fair และ Share’ ไว้ให้กับผู้บริหารและผู้ร่วมขบวนขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยสู่การเป็น ‘Digital University หรือ Smart University’ เต็มรูปแบบ ทำให้นึกย้อนถึง 3 คำดังกล่าวที่เป็นหัวใจหลักหรือหลักจรรยา (Ethics) ของแนวคิดเพอร์มาคัลเจอร์ (Permacuture) หนึ่งในวิถีการเกษตรที่เชื่อในระบบนิเวศยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นในยุค 70s อันเกิดจากหลักการคิดค้นระบบและเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อออกแบบสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของเราขึ้นใหม่อย่างสร้างสรรค์ในโลกที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานลดน้อยลงและคุ้มค่าภายใต้หลักจรรยาและหลักการออกแบบของแนวคิด เพอร์มาคัลเจอร์ หรือ Permacuture มาจากคำว่า Permanent และ Agriculture หมายถึง วิถีเกษตรกรรมที่มั่นคงยั่งยืน (ก่อตั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติโดย Bill Mollison นักวิทยาศาสตร์ นักคิดด้านเกษตรนิเวศ และนักเขียนชาวออสเตรเลีย) มีหลักจรรยาพื้นฐานสำหรับทั้งระบบ ได้แก่ ‘Earth Care, People Care และ Fair Share’ ‘การดูแลโลก’ หมายถึงการดูแลทุกสรรพสิ่ง ทุกองค์ประกอบของการดำรงชีวิต ไม่ว่าสิ่งนั้น ๆ …

‘Care, Fair และ Share’ ตั้งหลักใจไปสู่การเปลี่ยนแปลงอนาคตอย่างยั่งยืน Read More »

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World

VUCA เป็นตัวย่อของ 4 คำสำคัญ ได้แก่ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งปรากฏขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันผ่านหลากหลายสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตในต่างมิติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นยุค VUCA World ในศตวรรษที่ 21 ที่ดิสรัปต์ทุกภาคส่วนของโลกและประเทศไทย รวมถึงภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตให้พร้อมด้วยวิชาความรู้และภูมิคุ้มกันทางจิตใจและการดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง รวมไปถึงความพร้อมรับมือและปรับตัวกับทุกการเปลี่ยนแปลงอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ ตลอดจนผสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างแข็งแกร่ง เพื่อการพัฒนาทั้งสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืนร่วมกัน ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่เดินทางครบรอบ 6 เดือนเต็ม จึงพร้อมก้าวสู่หลักไมล์แห่งอนาคตกับการร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ และการแสดงผลความก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งมาพร้อมกับแนวทางและจุดหมายใหม่ ๆ ที่ตั้งเป้าหมายการเติบโตยิ่งขึ้นอีกระดับ การสนทนาภายใต้ประเด็น “แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ ก้าวสู่ปีงบประมาณใหม่และทิศทางที่ก้าวไปในปี 2023” จึงเกิดขึ้นในแรกก้าวต่อไปนี้ โดย อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล …

ร่วมคิด ร่วมค้น ทิศทางและอนาคตมหาวิทยาลัยไทยในยุค VUCA World Read More »

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ

ย้อนไปเมื่อครั้งที่ผู้นำคนสำคัญทางด้านการศึกษาให้โอกาสสนทนาในประเด็นการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชี้ให้เห็นความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาว่ามหาวิทยาลัยนั้นเป็นหัวหอกของทุก ๆ สังคม ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เอาไว้ และด้วยภารกิจหน้าที่ในการสร้างและผลิตคนยุคใหม่ มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงประเทศ ด้าน รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวไว้ว่าเรื่องของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยของประเทศไทยสู่การเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบนั้นเป็นเรื่องใหญ่และมีองค์ประกอบหลากหลาย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของพีระมิด ได้แก่ 1) กลุ่มยอดของพีระมิด คือ มีความพร้อมหรือใกล้เคียงกับการเป็น Digital University หรือ Smart University เต็มรูปแบบ 2) กลุ่มกลางของพีระมิด คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีความต้องการพัฒนา สุดท้ายคือ …

เข้มข้นกับเรื่อง Data… ในวันที่ข้อมูลล้นโลก อะไรคือหัวใจสำคัญ Read More »

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล

       เมื่อสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน คือ การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ เต็มรูปแบบ การสนับสนุนและส่งเสริม ตลอดจนแรงผลักดันจากผู้นำทางการศึกษา ตั้งแต่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ประชุมอธิการบดีฯ (ทปอ.) และสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมนำและหนุนสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรือผู้เรียนที่มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้สามารถใช้ชีวิตทุก ๆ มิติในโลกใหม่ใบเดิม ซึ่งดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อน และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าทันในเวลาเดียวกัน       ครั้งนี้ 5 ผู้นำทางการศึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิบดีแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด ประธานคณะกรรมการอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล …

5 ผู้นำทางการศึกษา ร่วมขยายภาพการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

คู่มือมหาวิทยาลัยดิจิทัล

“โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล”

ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือ