KNIT

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development’ ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องขึ้นในทุกระดับทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก ประเทศ สังคม อุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคการศึกษา ทำไมคำว่า ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ จึงกลายเป็นคำสำคัญแห่งศตวรรษ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำกัดความไว้ว่า ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ คือ “แนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง (Brundtland Report, 1987) โดยการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)” และจากส่วนหนึ่งของบทความโดยคุณสันติ บางอ้อ ซึ่งเผยแพร่ใน หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ คอลัมน์สภาพัฒน์กับการพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ระบุว่า “ที่ดูจะเข้าใจง่ายขึ้นก็คือคำอธิบายตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) (สมณศักดิ์ในเวลานั้น) ที่อธิบายไว้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ …

การพัฒนาที่ยั่งยืน : คำสำคัญแห่งยุคที่เป็นเป้าหมายและความเชื่อมโยงของภาคการศึกษา Read More »

The Path to Sustainable Future

The Path to Sustainable Future UPCYDE สวนกระแสความผันผวนของโลก เพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน กับคุณมาย การุณงามพรรณ คุณมาย การุณงามพรรณ กรรมการ บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด (UPCYDE) แบ่งปันเรื่องราวการก่อตั้งสตาร์ตอัปน้องใหม่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 กับการวางความแข็งแกร่งให้บริษัท ด้วยการนำใช้ Enterprise Blueprint ผสานรวมกับแนวคิดและเป้าหมายองค์กร เพื่อพร้อมดำเนินงานในปัจจุบัน และอนาคต ณ งานเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น ‘การจัดการองค์กรยุคหลังโควิดและภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนเพื่อการปรับองค์กรอย่างเป็นระบบ’ ก่อตั้งและวางความแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด (UPCYDE) ดำเนินธุรกิจที่มีเทคโนโลยีในการ Upcycle ขยะจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อ Upcycle เป็นวัสดุต่าง ๆ อาทิ หนังเทียม …

The Path to Sustainable Future Read More »

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย บทสะท้อนจากคนหลังบ้านเพื่อขับเคลื่อนงานเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล กับอาจารย์วสันต์ อุทัยเลี้ยง ด้วย ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ซึ่งมีสถาบันคลังสมองของชาติ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมและผลักดันนั้น นับเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดังนั้นตลอดช่วงของก้าวเดินนับแต่เริ่มต้นสู่อนาคต จึงเกิดการทดลอง ทดสอบ เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ ด้วยเครื่องมือที่พัฒนาและปรับประยุกต์ขึ้น เฉกเช่นการเตรียมและสำรวจความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model หากเมื่อผ่านกระบวนการประเมินกันไปเรียบร้อย นั่นอาจถือเป็นการสิ้นสุดเพื่อเริ่มต้นอีกครั้ง คือ การต่อยอดผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือ DMM และมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบที่หมายถึงความพร้อมด้วยระบบนิเวศดิจิทัลของภาพใหญ่ครบถ้วนทุกองคาพยพนั่นเอง ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” อาจารย์วสันต์ อุทัยเลี้ยง นักวิจัยโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล เป็นเสียงหนึ่งจากหลังบ้าน ที่ให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรง พร้อมหลากหลายข้อค้นพบในมิติต่าง …

มองหลากภารกิจและความท้าทายที่พัฒนาได้ผ่านข้อค้นพบภายใต้การวิจัย Read More »

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า มองงานใหญ่ ‘การปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ผ่านจุดตั้งต้นเล็ก ๆ กับ รศ. ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ เสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” ครั้งนี้เป็นอีกมุมที่น่าสนใจ กับโอกาสได้มองการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ผ่าน ‘งานวิจัย’ ของสถาบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ซึ่งนำใช้เครื่องมือ Vision Builder, Enterprise Blueprint (EA) และ Design and Track Worksheet (DT Worksheet) โดยมี รศ. ดร.วรัญญา ปุณณวัฒน์ อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมบอกเล่ารายละเอียดผ่านประสบการณ์ตรง งานวิจัยภายใต้การนำใช้เครื่องมือเพื่อสำรวจสถานะมหาวิทยาลัย สืบเนื่องจาก มสธ. ได้เชิญอาจารย์ดนัยรัฐมาร่วมทำกิจกรรมด้านวิชาการอย่างหลากหลาย …

รู้ปัจจุบัน เพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน แก้ไข ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า Read More »

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด สร้าง Ecosystem ขององค์กรแห่งการพัฒนา ผู้นำพร้อมขับเคลื่อน บุคลากรพร้อมพัฒนา กับคุณอริยะ สกุลแก้ว นับเป็นการเสวนาออนไลน์ที่เข้มข้นครั้งหนึ่งก็ว่าได้ เมื่อเฟซบุ๊กเพจ Digital University ซึ่งได้รับการสนันสนุนโดยสถาบันคลังสมองของชาติจัดงานเสวนาประจำเดือน Digital University: Enabling The Smart Society ภายใต้ประเด็น ‘การจัดการองค์กรยุคหลังโควิดและภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนเพื่อการปรับองค์กรอย่างเป็นระบบ’ ซึ่งในครั้งนี้ นอกจากไม่ขาด อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มาให้ความรู้และรายละเอียดสำคัญ โดยเน้นเรื่อง Enterprise Blueprint ที่สอดรับกับหัวข้อของการพูดคุยได้อย่างครบถ้วนในเวลาจำกัดแล้ว ความเข้มข้นที่กล่าวไว้เห็นจะต้องยกให้สองสตาร์ตอัป UPCYDE และ Backyard ที่ดำเนินธุรกิจแตกต่าง ทว่าได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวอันเป็นวิสัยทัศน์องค์กรและการก้าวข้ามวิกฤตอย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ อีกไฮไลต์ของการพูดคุยคือการได้ฟังเสียงจากฟากฝั่งภาครัฐ กับองค์กรที่จำเป็นต้องตอบโจทย์การเปลี่ยนไปของโลกปัจจุบันอย่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนี่เป็นอีกหนึ่งเสียงจากองค์กรภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) นำโดย คุณอริยะ สกุลแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหาร สำนักงาน ก.พ. ความท้าทายด้านเป้าหมายองค์กรภาครัฐหลังโควิด-19 …

สำนักงาน ก.พ. กับการขับเคลื่อนองค์กรยุคหลังโควิด Read More »

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล “โลกของเรามีมาตรฐานกว่า 2,000 มาตรฐาน หลายองค์กร หลายคน อาจกล่าวว่ามาตรฐานเป็นเรื่องเกะกะ เป็นภาระ เป็นหน้าที่ที่น่าเบื่อ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง” ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล กับประสบการณ์การทำงานในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก การสวมบทบาททั้งประธานบอร์ดและและบอร์ดต่าง ๆ ในมิติที่หลากหลาย การรับผิดชอบงานสอน ณ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD สถาบันที่สร้างขึ้นจาก Regulators (หน่วยงานกำกับดูแล) และการนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บริษัท ไอเซ็ม จำกัด สำนักงานรับรองมาตรฐานสากลไอเอสโอ (ISO International Certification Agency (ISO-ICA)) และ Accredited Certification Body (CB) สัญชาติไทยรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation. Forum (IAF)) จึงให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์สำคัญ ประเด็น “ผู้นำกับการรับมือกับมาตรฐานและการชี้วัดระดับสากล” ณ เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการออนไลน์ครั้งล่าสุด …

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน Read More »

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM ขับเคลื่อนอย่างมียุทธศาสตร์ มีผังองค์กร สามารถ Alignment และ Cross-Check ได้ กับ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” ต่อยอดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นจากประเด็นการสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Transformation Readiness Towards Digital University ซึ่งเจาะลึกสู่ประเด็นการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model ครานี้ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอีกหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งให้เกียรติร่วมแบ่งปันมุมมองและมุมคิดที่สำคัญภายใต้การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยมี Enterprise Architecture และการนำใช้ผลจากเครื่องมือ DMM เป็นเข็มทิศและการเชื่อมโยงบนฐานของความเข้าใจและเป้าหมายที่ตรงกัน มหาวิทยาลัย …

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM Read More »

เสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE ครั้งที่ 24 Digital University: enabling the smart society ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์”

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University ครั้งที่ 23: enabling the smart society ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” เสวนาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ดร.ชิดชนก เทพสุนทร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานนวัตกรรมพัฒนา สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คุณอานนท์ ศิริพุทธิชัยกุล Health Tech manager บ. เมดคิวรี่ จำกัด ศ.ดร.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การประชุมออนไลน์ครั้งพิเศษ รวมผู้นำและผู้พร้อมขับเคลื่อน 38 มรภ. มุ่งสู่องค์กรยุคใหม่ กับ 3 บุคคลสำคัญ รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล และ ผศ. ดร.ลินดา เกณฑ์มา ทปอ.มรภ. สถาบันคลังสมองของชาติ นำโดย รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในการผลักดันให้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ได้จัดการประชุมที่น่าจับตาขึ้นอีกครั้ง “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” กับรูปแบบการประชุมออนไลน์ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในฐานะเจ้าบ้าน รศ. ดร.พีรเดชรู้สึกยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือนโยบายของรัฐบาลและการเปลี่ยนไปของโลกที่มีการเข้ามาของดิจิทัลในทุกมิติ หากหลายมหาวิทยาลัยยังไม่ค่อยตื่นตัว คิดว่าการดำเนินงานในรูปแบบเดิมน่าจะไปได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ …

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 Read More »

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ เวทีการเสวนาในหัวข้อ “Agile Leadership towards Digital University” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ ประเด็น “ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง” ได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกกันอีกครั้งโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 สถาบัน รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์และนำมุมมองที่หลากหลายมาชวนขบคิดในมิติที่ต่างไปจากเดิมอย่างน่าสนใจ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของอาจารย์และผู้นำมหาวิทยาลัยยุคใหม่ รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มต้นด้วยเจตนารมณ์ที่ดีของทุกฝ่ายว่าต่างใฝ่ฝันทำเพื่ออนาคตของคนรุ่นใหม่ หากด้วยโจทย์ที่ท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ต้องหาความสมดุลให้พบ ดังเช่นมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ก่อตั้งและเดินทางเข้าสู่ปีที่ …

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา Read More »