KNIT

Digital University: enabling the smart society

ห้ามพลาดกับการเสวนาแบบเอ็กซ์คลูซีฟโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหลายแวดวงมาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงทิศทางและแนวทางการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล.ไม่ว่าคุณจะอยู่แวดวงไหนการศึกษา อุตสาหกรรมหรือภาคนโยบายดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.รับชมได้ทุกวันพุธเว้นพุธเวลา 19.00 น. เป็นต้นไปทางเฟสบุคเพจ มหาวิทยาลัยดิจิทัลเริ่มครั้งแรก วันที่ 20 เมษายนนี้.ข้อมูลเพิ่มเติม https://du-knit.org/..——————————-#มหาวิทยาลัยดิจิทัล #DigitalUniversity#DigitalTransformation #สถาบันคลังสมองของชาติ

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.3)

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture กับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (EP.3) ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี AGILE ENTERPRISE ARCHITECTURE มาถึงคำว่า ‘Agile Enterprise Architecture (Agile EA)’ ซึ่งก็คือ การนำแนวคิด Agile ซึ่งมีหลักสำคัญ คือ แนวคิดการทำงานที่ทำให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น และทำให้ทีมงานสื่อสารกันอย่างคล่องตัว เพื่อสามารถถอดบทเรียนสู่การพัฒนาต่อเนื่อง มุ่งสู่การตอบความต้องการใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ให้มีการสร้างความสำเร็จในแต่ละระยะ เน้นการสื่อสารเพื่อทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถร่วมมือในการพัฒนาองค์กร และถอดบทเรียนสำหรับการขยายผลสู่การพัฒนาในระยะถัดไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ลักษณะหน้าตาของ Agile Enterprise Architecture ก็คือ การทำให้เห็นภาพขององค์กรตรงกัน จากนั้นแต่ละทีม ซึ่งเป็น Agile Team จะพัฒนางานของตนเอง แล้วจึงนำมาประกอบร่างกัน โดยมีการถอดบทเรียนที่แยกไปทำงานกันและกลับมารวมกัน สู่การพัฒนาที่ต่อเนื่อง AGILE ENTERPRISE ARCHITECTURE & DIGITAL …

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.3) Read More »

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.2)

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture กับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (EP.2) ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ENTERPRISE ARCHITECTURE ก่อนไปถึง Agile Enterprise Architecture ต้องเข้าใจ ‘Enterprise Architecture (EA) หรือสถาปัตยกรรมองค์กร’ เสียก่อน ‘Enterprise Architecture ก็คือ การออกแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและหน่วยความสามารถต่าง ๆ ในองค์กร ด้วยพิมพ์เขียวองค์กร (Enterprise Blueprint) เพื่อให้แต่ละองค์ประกอบในองค์กรทำงานอย่างสอดคล้องกัน ขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม’ ‘องค์กร’ ที่ว่านี้ แตกต่างจากคำว่า ‘องค์การ’ ซึ่งองค์การหมายรวมถึงทั้งหมดของบริษัท ทั้งหมดของกรม หรือทั้งหมดของกระทรวง แต่ ‘องค์กร’ หมายถึง ส่วนใดส่วนหนึ่งของบริษัท แผนก คณะ หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ‘องค์ประกอบและหน่วยความสามารถต่าง ๆ ในองค์กร’ เช่น โครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน แอปพลิเคชัน …

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.2) Read More »

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.1)

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture กับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (EP.1) ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ในโลกปัจจุบันที่สถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว ต่อเนื่อง และยากจะคาดเดาในทิศทาง ความพร้อมต่อการรับมือและการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นหลักคิดและทักษะสำคัญสำหรับผู้คน ไปจนถึงองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน และในสถานการณ์แห่งความไม่แน่นอนนี้ คำว่า Agile (อไจล์ หรือเอไจล์) คือ อีกหนึ่งแนวคิดที่เข้ามาตอบโจทย์การทำงานภายใต้บริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะ แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture ยังได้รับการกล่าวถึงและนำไปใช้พัฒนาองค์กรในวงกว้างยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้แต่ภาคการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ Smart University หรือ Digital University แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture คืออีกแรงขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรให้ไปสู่เป้าหมายอย่างเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในครานี้ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนในประเทศไทย และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ …

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ด้วย Agile Enterprise Architecture (EP.1) Read More »

Digital Transformation: กระดูกสันหลังของมหาวิทยาลัยดิจิทัล

Digital Transformation: กระดูกสันหลังของมหาวิทยาลัยดิจิทัล ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โลกเราเวลานี้ไม่มีอะไรที่ชัดเจนไปกว่าการเดินทางเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และพลวัตรของศตวรรษใหม่ยังมีเปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะหลังเกิด Disruptive Technology ทั้งวิถีชีวิต กระบวนการทำงาน กระบวนการเรียนรู้ ไลฟ์สไตล์ด้านต่าง ๆ ตลอดจนถึง Business Model เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ‘Digital Transformation’ ไม่เพียงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ หากยังกลายเป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของทุกอย่าง จากนั้น Digital Platform ได้รับการสร้างขึ้นตามมา เพื่อรับมือและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เริ่มต้นการพูดคุยด้วยการยกตัวอย่างถึงด้านการแพทย์ กล่าวคือ ปกติโรงพยาบาลศิริราชต้องรองรับผู้ป่วยนอกวันละประมาณ 9,000 คน แต่เมื่อเริ่มเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปรากฏว่า มีผู้ป่วยมารับการรักษาเพียง 4,000 คน ซึ่งทำให้เกิดความกังวล และต้องติดต่อกลับไปทางผู้ป่วย ทั้งทางโทรศัพท์ ทั้งทางดิจิทัล …

Digital Transformation: กระดูกสันหลังของมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กับการขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

Previous Next มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กับการขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล การเปลี่ยนแปลง กับก้าวที่กล้า นับแต่มี ‘ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580’ หรือยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี อันเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นกรอบชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศทุกมิติในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ‘แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ’ ได้รับการจัดทำขึ้น เพื่อกำหนดให้ประเทศไทยมีทิศทาง และเป้าหมาย ในการพัฒนาประเทศชัดเจนมากขึ้น โดยแบ่งช่วงระยะเวลาของการพัฒนาออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 5 ปี ซึ่งทำให้ทิศทางการพัฒนามีความยืดหยุ่น พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของแต่ละช่วงเวลา และสามารถปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำ ‘นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570’ ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยังมี ‘แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ชาติกำหนดไว้ โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งได้วิเคราะห์สภาพปัญหา และความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ประกอบกับข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของหน่วยต่าง ๆ กำหนดเป็นแผนงานเพื่อการปฏิรูป 7 เรื่อง …

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กับการขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ ‘การเดินทาง’ สู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล

Previous Next มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ ‘การเดินทาง’ สู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ยุทธศาสตร์และแนวคิด จาก ‘ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580’ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย และทำหน้าที่เป็นกรอบชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศทุกมิติในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดทำ ‘นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570’ ขึ้น ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งเน้นการพัฒนานโยบายสำหรับทุกกลุ่มทั้งเชิงพื้นที่และระดับประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลสนับสนุน (Evidence-based Policy) โดยกำหนดเป้าหมายหลักและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objectives) รวมถึงประเด็นสำคัญ (Key Issues) ในการพัฒนาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ยึดหลักเน้นความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ (Demand-driven) เพื่อเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งนี้ ในส่วนของ ‘ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา’ นอกจากจะประกอบไปด้วย 1) เจตนารมณ์ วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ของแผน และ 2) เป้าหมาย …

มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ ‘การเดินทาง’ สู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล Read More »

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในยุค DIGITAL TRANSFORMATION ที่พร้อม ‘SMART’ ทุกมิติ

Previous Next คุยเข้มข้น กับความเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในยุค DIGITAL TRANSFORMATION ที่พร้อม ‘SMART’ ทุกมิติ รากฐานสำคัญ สู่การต่อยอดอย่างแข็งแกร่ง         ในวันที่ทุกภาคส่วนของประเทศไทยกำลังเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานของตนเองให้สอดประสานกับ ‘ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580’ หรือยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย และยังเป็นกรอบชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งที่ไม่อาจมองข้าม คือ ‘การจัดระบบอุดมศึกษาใหม่’ อันมี ‘สถาบันอุดมศึกษา’ เป็นหน่วยจัดการศึกษาขั้นสูงและเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยนอกจากต้องมุ่งพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะตรงตามอัตลักษณ์ของสถาบันตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและประเทศแล้ว นอกจากนั้น คือ การปรับตัวและพัฒนาสถาบันไปสู่องค์กรชั้นนำ ทั้งยังต้องพร้อมด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มีความทันสมัย ความโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดชอบและการตรวจสอบได้ (Accountability) มีการใช้จ่ายงบประมาณที่ภาครัฐสนับสนุนอย่างคุ้มค่า คุ้มทุน และมีประโยชน์สูงสุด และสามารถจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอนและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งแนวทางขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ประกอบไปด้วย 4 แนวทาง คือ การบริหารจัดการและธรรมาภิบาล (Management and …

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในยุค DIGITAL TRANSFORMATION ที่พร้อม ‘SMART’ ทุกมิติ Read More »

ภาพการศึกษาแห่งอนาคตเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน

สุพันธ์ มงคลสุธี  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย         ขณะที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กำหนด ‘แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570’ ว่าด้วย ‘เรื่องนโยบายการพลิกโฉมการศึกษาด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform)’ และสถาบันคลังสมองของชาติได้ดำเนิน ‘โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital Transformation Health Check for University Preparedness)’ โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในการก้าวเข้าสู่ ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ อีกด้านหนึ่ง ‘สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย’ ซึ่งดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชนของไทยให้แข็งแกร่ง อันทำให้กลไกการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก และมีวิสัยทัศน์คือ การเป็นแกนกลางเสริมสร้างความเข้มแข็ง และผลิตภาพอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทยให้ยั่งยืน ย่อมมีความเห็นและมุมมองสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านของระบบการศึกษาของประเทศ อันมีผลต่อทักษะของกำลังหลักที่จะเดินเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต โอกาสนี้ คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย …

ภาพการศึกษาแห่งอนาคตเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน Read More »

โจทย์และคำถามชวนคิด เพื่อเดินหน้าสู่ ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.วิโรจน์  จิรพัฒนกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Skooldio         ในวาระที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กำหนด ‘แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570’ ว่าด้วย ‘เรื่องนโยบายการพลิกโฉมการศึกษาด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform)’ และสถาบันคลังสมองของชาติได้ดำเนิน ‘โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital Transformation Health Check for University Preparedness)’ โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในการก้าวเข้าสู่ ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ นี่เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง ที่ ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Skooldio ที่ปัจจุบันยังรับหน้าที่ Google Developers Expert ด้าน Machine Learning และ Google Cloud Certified Professional Data Engineer …

โจทย์และคำถามชวนคิด เพื่อเดินหน้าสู่ ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ อย่างมีประสิทธิภาพ Read More »