KNIT

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล “โลกของเรามีมาตรฐานกว่า 2,000 มาตรฐาน หลายองค์กร หลายคน อาจกล่าวว่ามาตรฐานเป็นเรื่องเกะกะ เป็นภาระ เป็นหน้าที่ที่น่าเบื่อ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง” ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล กับประสบการณ์การทำงานในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก การสวมบทบาททั้งประธานบอร์ดและและบอร์ดต่าง ๆ ในมิติที่หลากหลาย การรับผิดชอบงานสอน ณ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD สถาบันที่สร้างขึ้นจาก Regulators (หน่วยงานกำกับดูแล) และการนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บริษัท ไอเซ็ม จำกัด สำนักงานรับรองมาตรฐานสากลไอเอสโอ (ISO International Certification Agency (ISO-ICA)) และ Accredited Certification Body (CB) สัญชาติไทยรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accreditation. Forum (IAF)) จึงให้เกียรติร่วมแบ่งปันประสบการณ์สำคัญ ประเด็น “ผู้นำกับการรับมือกับมาตรฐานและการชี้วัดระดับสากล” ณ เวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการออนไลน์ครั้งล่าสุด …

ผู้นำกับการเลือกปลั๊กที่ตรงตามมาตรฐาน Read More »

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM ขับเคลื่อนอย่างมียุทธศาสตร์ มีผังองค์กร สามารถ Alignment และ Cross-Check ได้ กับ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” ต่อยอดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นจากประเด็นการสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Transformation Readiness Towards Digital University ซึ่งเจาะลึกสู่ประเด็นการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model ครานี้ ผศ. ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหารและการคลัง คณะวิศวกรรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอีกหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งให้เกียรติร่วมแบ่งปันมุมมองและมุมคิดที่สำคัญภายใต้การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยมี Enterprise Architecture และการนำใช้ผลจากเครื่องมือ DMM เป็นเข็มทิศและการเชื่อมโยงบนฐานของความเข้าใจและเป้าหมายที่ตรงกัน มหาวิทยาลัย …

บทบาทของ EA และก้าวต่อไปจาก DMM Read More »

เสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE ครั้งที่ 24 Digital University: enabling the smart society ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์”

เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University ครั้งที่ 23: enabling the smart society ประเด็น “การปรับตัวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์” เสวนาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ดร.ชิดชนก เทพสุนทร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานนวัตกรรมพัฒนา สำนักเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คุณอานนท์ ศิริพุทธิชัยกุล Health Tech manager บ. เมดคิวรี่ จำกัด ศ.ดร.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล https://www.facebook.com/digitaluniversity.thai/

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การประชุมออนไลน์ครั้งพิเศษ รวมผู้นำและผู้พร้อมขับเคลื่อน 38 มรภ. มุ่งสู่องค์กรยุคใหม่ กับ 3 บุคคลสำคัญ รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล และ ผศ. ดร.ลินดา เกณฑ์มา ทปอ.มรภ. สถาบันคลังสมองของชาติ นำโดย รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในการผลักดันให้ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล (Driving Thai University toward Digital University) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ได้จัดการประชุมที่น่าจับตาขึ้นอีกครั้ง “38 มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยยุคใหม่” กับรูปแบบการประชุมออนไลน์ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในฐานะเจ้าบ้าน รศ. ดร.พีรเดชรู้สึกยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนไปมากคือนโยบายของรัฐบาลและการเปลี่ยนไปของโลกที่มีการเข้ามาของดิจิทัลในทุกมิติ หากหลายมหาวิทยาลัยยังไม่ค่อยตื่นตัว คิดว่าการดำเนินงานในรูปแบบเดิมน่าจะไปได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ …

38 ราชภัฏร่วมพัฒนาเพื่อความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 Read More »

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ เวทีการเสวนาในหัวข้อ “Agile Leadership towards Digital University” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันคลังสมองของชาติ ประเด็น “ผู้นำมหาวิทยาลัยกับโจทย์ที่ท้าทายในกระแสความเปลี่ยนแปลง” ได้รับการหยิบยกขึ้นมาถกกันอีกครั้งโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 สถาบัน รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์และนำมุมมองที่หลากหลายมาชวนขบคิดในมิติที่ต่างไปจากเดิมอย่างน่าสนใจ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของอาจารย์และผู้นำมหาวิทยาลัยยุคใหม่ รศ. ดร.เชฏฐเนติ ศรีสอ้าน รองอธิการบดีฝ่านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มต้นด้วยเจตนารมณ์ที่ดีของทุกฝ่ายว่าต่างใฝ่ฝันทำเพื่ออนาคตของคนรุ่นใหม่ หากด้วยโจทย์ที่ท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ต้องหาความสมดุลให้พบ ดังเช่นมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ก่อตั้งและเดินทางเข้าสู่ปีที่ …

‘เข้มข้น’ ในทุกคำตอบต่อทุกประเด็น โจทย์และความท้าทายที่ถูกสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา Read More »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลายครั้งหลายคราเราได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยและและมีโอกาสสนทนาในประเด็นการนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ เพื่อปฏิรูปการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้สะท้อนแนวคิดและการดำเนินงานภายใต้ความโดดเด่นเฉพาะตัวขององค์กรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และในจังหวะดี ๆ ที่เราได้มาเยือนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้บริหารสถาบัน นำโดย ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ชวนเราขบคิดก่อนที่จะกล่าวกันไปถึงการพัฒนาหรือขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ “ความเข้าใจของผม ดิจิทัลคือเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัย และแน่นอนว่าดิจิทัลไม่ใช่เครื่องมือช่วยธรรมดา ๆ แต่เป็นเครื่องมือที่คนในยุคปัจจุบันยอมรับและเข้าใจว่า Powerful มาก ไม่ใช้ไม่ได้ มจธ. จึงเรียกว่า Critical …

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ Big Change ที่ต้องก้าวไกลไปกว่า Digital University Read More »

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอก นำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน รศ. ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์       ในวันที่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยต่างกล่าวถึงการมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบเพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้กับหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนอันนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว’ ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นภาพกว้างที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สะท้อนการเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศในฐานะตัวกลางของการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม ตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศไทย       อย่างไรก็ตามก่อนขยับไปยืนในจุดของการเป็น Digital University เต็มรูปแบบนั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำเป็นจะต้องรู้ว่า ณ ปัจจุบันตนเองอยู่ตรงไหน ซึ่งหมายความถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรที่จะนำไปสู่การเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและพัฒนาศักยภาพในอนาคตอย่างถูกทิศถูกทางและตรงจุดต่อไป       ด้วยภารกิจที่มุ่งสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น …

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน Read More »

ขับเคลื่อนความเป็นดิจิทัล ‘อย่างต่อเนื่อง’ เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่       ในช่วงเวลาที่ปี 2565 ใกล้จะสิ้นสุดถึงปลายทาง และพุทธศักราชใหม่กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง ทว่าแต่ละภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการศึกษา ยังคงเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถาบันอย่างสอดประสานกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) และมุ่งสู่การเป็น ‘อุดมศึกษาดิจิทัล’ ตาม ‘ยุทธศาสตร์การจัดระบบอุดมศึกษาใหม่’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ‘สถาบันคลังสมองของชาติ’ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการของภาครัฐและสังคม พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สถาบันคลังสมองของชาติสนับสนุนโครงการเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลด้วยการสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจความพร้อมตามความสมัครใจที่เรียกว่า Digital Maturity Model หรือ DMM กับการพิจารณาใน 5 มิติ ได้แก่ ทิศทางและการพัฒนาองค์กร ความพร้อมด้านพันธกิจ/ธุรกิจ ความพร้อมด้านระบบงานประยุกต์ ความพร้อมด้านข้อมูล และความพร้อมด้านเทคโนโลยี จากการแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ระดับที่ 1 Traditional University …

ขับเคลื่อนความเป็นดิจิทัล ‘อย่างต่อเนื่อง’ เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก Read More »

เสวนาสดออนไลน์ Digital University LIVE: enabling the smart societyประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา”

เสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University: enabling the smart society ประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” เชิญรับชมเสวนาสดออนไลน์ #DigitalULIVE Digital University: enabling the smart society ประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” เสวนาในวันที่ 28 มิถุนายน 2566เวลา 19.00 น. เป็นต้นไปรศ. ดร.พยุง มีสัจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คุณพีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรงค์ กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) คุณชาติชาย สุทธาเวศ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) คุณเขมรัฐ โชคมั่งมี สมาคมไทยไอโอที ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข Head of IT Enterprise …

เสวนาสดออนไลน์ Digital University LIVE: enabling the smart societyประเด็น “AI – RI กับก้าวต่อไปของสถาบันการศึกษา” Read More »

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัยในมิติที่แตกต่าง

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัย ในมิติที่แตกต่าง อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ในวันที่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบเพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในหลากหลายมิติ พร้อมดำเนินงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้กับหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนอันนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว’ ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยภารกิจที่มุ่งสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ที่ผ่านมา ‘สถาบันคลังสมองของชาติ’ จึงเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital Transformation Health Check for University Preparedness) ภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล เพื่อสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาใน 5 มิติ ได้แก่ 1) ทิศทางและการพัฒนาองค์กร 2) ความพร้อมด้านพันธกิจ/ธุรกิจ 3) ความพร้อมด้านระบบงานประยุกต์ 4) ความพร้อมด้านข้อมูล และ 5) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี โดยอ้างอิงจากการสร้างสถาปัตยกรรมองค์กรดิจิทัล TOGAF …

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัยในมิติที่แตกต่าง Read More »