บทความ

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอก นำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน รศ. ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์       ในวันที่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยต่างกล่าวถึงการมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบเพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้กับหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนอันนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว’ ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นภาพกว้างที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สะท้อนการเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศในฐานะตัวกลางของการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม ตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศไทย       อย่างไรก็ตามก่อนขยับไปยืนในจุดของการเป็น Digital University เต็มรูปแบบนั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำเป็นจะต้องรู้ว่า ณ ปัจจุบันตนเองอยู่ตรงไหน ซึ่งหมายความถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรที่จะนำไปสู่การเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายและพัฒนาศักยภาพในอนาคตอย่างถูกทิศถูกทางและตรงจุดต่อไป       ด้วยภารกิจที่มุ่งสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น …

เสริมความเข้มแข็งภายใน สร้างความแข็งแกร่งกับพันธมิตรภายนอกนำมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน Read More »

ขับเคลื่อนความเป็นดิจิทัล ‘อย่างต่อเนื่อง’ เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่       ในช่วงเวลาที่ปี 2565 ใกล้จะสิ้นสุดถึงปลายทาง และพุทธศักราชใหม่กำลังจะเริ่มต้นอีกครั้ง ทว่าแต่ละภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการศึกษา ยังคงเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถาบันอย่างสอดประสานกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) และมุ่งสู่การเป็น ‘อุดมศึกษาดิจิทัล’ ตาม ‘ยุทธศาสตร์การจัดระบบอุดมศึกษาใหม่’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ‘สถาบันคลังสมองของชาติ’ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการของภาครัฐและสังคม พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สถาบันคลังสมองของชาติสนับสนุนโครงการเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลด้วยการสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจความพร้อมตามความสมัครใจที่เรียกว่า Digital Maturity Model หรือ DMM กับการพิจารณาใน 5 มิติ ได้แก่ ทิศทางและการพัฒนาองค์กร ความพร้อมด้านพันธกิจ/ธุรกิจ ความพร้อมด้านระบบงานประยุกต์ ความพร้อมด้านข้อมูล และความพร้อมด้านเทคโนโลยี จากการแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ระดับที่ 1 Traditional University …

ขับเคลื่อนความเป็นดิจิทัล ‘อย่างต่อเนื่อง’ เพื่อก้าวแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก Read More »

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัยในมิติที่แตกต่าง

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัย ในมิติที่แตกต่าง อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ในวันที่สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบเพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของการพัฒนาในหลากหลายมิติ พร้อมดำเนินงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาประเทศระยะยาวที่กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้กับหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนอันนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศที่ว่า ‘มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว’ ตลอดจนสอดประสานกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยภารกิจที่มุ่งสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบ ที่ผ่านมา ‘สถาบันคลังสมองของชาติ’ จึงเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital Transformation Health Check for University Preparedness) ภายใต้โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล เพื่อสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาใน 5 มิติ ได้แก่ 1) ทิศทางและการพัฒนาองค์กร 2) ความพร้อมด้านพันธกิจ/ธุรกิจ 3) ความพร้อมด้านระบบงานประยุกต์ 4) ความพร้อมด้านข้อมูล และ 5) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี โดยอ้างอิงจากการสร้างสถาปัตยกรรมองค์กรดิจิทัล TOGAF …

การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัยในมิติที่แตกต่าง Read More »

การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล งานไอทีที่ต้องจับมือกับทุกองคาพยพ

การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล งานไอทีที่ต้องจับมือกับทุกองคาพยพ ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี, ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี, อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี หลังจากที่ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ได้เจาะลึกการทำงานส่วนหลังบ้านหรือแบ็กออฟฟิศ ซึ่งถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบกันไปแล้ว ล่าสุด งานไอทีหรือ Information Technology ที่หลายองค์กรมุ่งเทความสำคัญให้กระทั่งละเลยองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วยความเชื่อที่ว่าไอทีคือมหาวิทยาลัยดิจิทัล และมหาวิทยาลัยดิจิทัลคือไอที เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society จึงร่วมหาคำตอบและสะท้อนความชัดเจนว่าแท้จริงแล้วไอทีคืออะไร และการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไอทีต้องมาก่อนจริงหรือ กับประเด็น “Digital University ใช่แค่งานไอที?” ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับงานไอที ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ่ายทอดประสบการณตรงว่า 4 ปีก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ตั้งรองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัลขึ้น ด้วยเพราะมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วว่า …

การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยดิจิทัล งานไอทีที่ต้องจับมือกับทุกองคาพยพ Read More »

ไอทีไม่ใช่เพียงไอที และความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มากกว่าเรื่องไอที

ไอทีไม่ใช่เพียงไอที และความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มากกว่าเรื่องไอที อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี เสวนาออนไลน์ Digital University : Enabling The Smart Society ประเด็น “Digital University ใช่แค่งานไอที?” ชวนกันมาทำความเข้าใจคำว่า ไอที และงานไอที ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ อันมีรายละเอียดและองค์ประกอบที่หลากหลายยิ่งไปกว่า ‘งานไอที’ กับ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ‘ไอที’ ความหมายและความสำคัญต่อการเดินหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล “ไอทีย่อมาจากคำว่า Information Technology แต่ปัจจุบันไอทีถูกมุ่งเน้นไปที่ T เท่านั้น ส่วน I หรือ Information กลายเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ ตั้งแต่เรื่อง Data จะทำอย่างไรให้ Information นี้ขับเคลื่อนองค์กรได้จริง”  อาจารย์ดนัยรัฐเปิดประเด็น “เพราะสับสนตรงคำว่าสารสนเทศ จึงคิดว่าสารสนเทศจะต้องเป็นไอทีอย่างเดียว จริง ๆ Information ก็คือตัวข้อมูลที่ผ่านกระบวนการนำมาใช้ (Use Case) เช่น …

ไอทีไม่ใช่เพียงไอที และความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มากกว่าเรื่องไอที Read More »

ผลลัพธ์จาก DMM ส่งไม้ต่อสู่การปรับตัวและพัฒนา (ให้ดีและเดินไปด้วยกัน) ต่อยอดการนำใช้เครื่องมือ DMM พร้อมสร้างนิเวศดิจิทัลที่เกื้อกูลและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์จาก DMM ส่งไม้ต่อสู่การปรับตัวและพัฒนา (ให้ดีและเดินไปด้วยกัน) ต่อยอดการนำใช้เครื่องมือ DMM พร้อมสร้างนิเวศดิจิทัลที่เกื้อกูลและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี หลังจากที่เวที เสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิคนสำคัญร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะกันอย่างหลากหลายภายใต้หัวข้อ การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล หรือ Transformation Readiness Towards Digital University ซึ่งเจาะลึกสู่ประเด็นการนำใช้เครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model เพื่อประเมินความพร้อมและสถานะของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กันไปครั้งหนึ่งแล้ว ก้าวถัดมาจึงเกิดโจทย์ที่ว่า ‘แนวทางในการดำเนินการต่อไปจะเป็นอย่างไร’ เวที Digital University: Enabling The Smart Society จึงเปิดโต๊ะการพูดคุยอีกครั้ง กับหัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” และเช่นเคย อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและปรับประยุกต์เครื่องมือ DMM ได้ร่วมนำเสนอข้อมูล …

ผลลัพธ์จาก DMM ส่งไม้ต่อสู่การปรับตัวและพัฒนา (ให้ดีและเดินไปด้วยกัน) ต่อยอดการนำใช้เครื่องมือ DMM พร้อมสร้างนิเวศดิจิทัลที่เกื้อกูลและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน Read More »

จากจุดตั้งต้น..เพื่ออนาคต

จากจุดตั้งต้น..เพื่ออนาคต มอง ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล’ ภายใต้งานวิจัย รศ. ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สถาบันคลังสมองของชาติ หลังจากได้ร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อการสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Transformation Readiness Towards Digital University) พร้อมด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ DMM หรือ Digital Maturity Model ที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้นำใช้เพื่อประเมินความพร้อมและสำรวจสถานะต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเดินหน้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ล่าสุด รศ. ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สถาบันคลังสมองของชาติ ให้เกียรติสะท้อนมุมคิดและประสบการณ์ ณ เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society หัวข้อ “จาก DMM สู่การจัดการมหาวิทยาลัยจากหน้าบ้านถึงหลังบ้าน” กับความสำคัญของเครื่องมือ DMM จากจุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน และภาพใหญ่ในการดำเนินการสู่อนาคต Enterprise Blueprint มีหน้าบ้าน กลางบ้าน และหลังบ้าน ทว่าหลายครั้ง …

จากจุดตั้งต้น..เพื่ออนาคต Read More »

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ด้วยเพราะ ‘Enterprise Blueprint’ คือหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยไทยเดินหน้าสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบอย่างมีทิศทาง เห็นภาพและเป้าหมายเดียวกัน การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เดินหน้าไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล จึงมุ่งเจาะลึกถึงแต่ละองค์ประกอบของ Enterprise Blueprint โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2566 นี้ ได้มีการร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย นวัตกรรม จนถึง Core Service หรือการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีงานแบ็กออฟฟิศ หรือ ‘งานหลังบ้าน’ ที่เป็นส่วนงานซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือมหาวิทยาลัย การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ในประเด็น …

เปิด Enterprise Blueprint คุยเรื่อง ‘งานหลังบ้าน’ กับอาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี Read More »

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล ด้วยปี 2566 เวทีเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Digital University เต็มรูปแบบไปพร้อมกัน มุ่งเจาะลึกถึงแต่ละองค์ประกอบของ Enterprise Blueprint อันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเดินหน้าไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างมีทิศทาง เห็นภาพและเป้าหมายเดียวกัน ก่อนหน้านี้จึงเกิดการร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน ดังที่ อาจารย์ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ยกตัวอย่างการพูดคุยกันถึงเรื่องกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย นวัตกรรม จนถึง Core Service หรือการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ทว่าบน Enterprise Blueprint นั้น งานส่วนแบ็กออฟฟิศ หรือที่เรียกว่า ‘งานหลังบ้าน’ ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร ยังมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การเสวนาออนไลน์ Digital University: Enabling The Smart Society จึงล้อมวง (ระยะไกล) …

มิติใหม่ของ ‘งานหลังบ้าน’ ที่ขับเคลื่อนองค์กรยุคดิจิทัล Read More »

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน โลกที่ไม่เหมือนเดิม กับความท้าทายยิ่งต้องเปลี่ยนแปลง    ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์สะท้อนภาพโลกปัจจุบันว่าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยโลกเข้าสู่ยุคของแห่งความผันผวนนานัปการ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลจากความก้าวหน้าและก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล การบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Emerging World) ทั่วโลก โดยมีการรบรูณาการระหว่างกลุ่มประเทศ การแตกแยกจากสิ่งที่เคยรวมตัว (Disintegrate) ต่างจากยุค Globalization ที่คุ้นเคย การเคลื่อนย้ายของผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน แต่ขณะเดียวกันยังสามารถเกิด Invisible Barriers ขึ้นได้ ที่สำคัญและท้าทายคือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่มุ่งไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ทว่าต้องเป็น Digital Transformation ต่อไปในอนาคตด้วย    สถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและผลักดันให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งล่าสุด ภายใต้ประเด็น ‘Agile Leadership towards Digital University’ โดยมี ศ. ดร. นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) …

ผู้นำมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดในโลกปัจจุบัน Read More »